Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3231
Title: คุณภาพบัณฑิตและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Authors: สมพล เล็กเพื่องฟู
กรรณิการ์ มิคะเสน
พอใจ เรืองศรี
Email: Sompol.L@Chula.ac.th
Porjai.R@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์--บัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์--การศึกษาและการสอน
บัณฑิต
กำลังคนระดับอุดมศึกษา
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้มีอยู่ 2 ประการได้แก่ 1) ประเมินคุณภาพของบัณฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2528 รวม 5 รุ่น และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลถึงคุณภาพของบัณฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อระบุชี้จุดที่ต้องพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในโครงการศึกษานี้ประกอบด้วย 4 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มบัณฑิตในตลาดแรงงานที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างปีการศึกษา 2523-2527 รวม 5 รุ่น จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 30.96 2) กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตซึ่งเป็นกลุ่มคู่ขนานไปกับบัณฑิตที่ให้ข้อมูลจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14 3) กลุ่มนิสิตทันตแพทย์ปัจจุบันตั้งแต่ปีที่ 1-6 จำนวน 353 คน คิดเป็นร้อยละ 71.17 และ 4) กลุ่มคณาจารย์ประจำสอบปริญญาตรี จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 34.72 คณะกรรมการอำนวยการวิจัยฯ และคณะกรรมการวิจัยบัณฑิตจากคณะต่าง ๆในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้คิดและพัฒนาแบบสอบถามเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยร่วมกันตามกลุ่มตัวอย่างต่าง ๆ ข้างต้น การวิจัยนี้ดำเนินการในภาคสนามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม ถึงพฤษภาคา พ.ศ. 2529 และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 3031 OS/VSl และโปรแกรม SPSS-X ของสถาบันคอมพิวเตอร์ จุฬาฯ ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประเด็นของการประเมินคุณภาพบัณฑิตจะครอบคลุมลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ 1) ความรู้ความสามารถของบัณฑิต 2) คุณธรรม 3) คุณภาพของการทำงาน และ 4) คุณภาพชีวิต และสำหรับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตนั้นจะครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ภูมิหลังของบัณฑิต 2) หลักสูตรและการเรียนการสอน 3) คณาจารย์ และ 4) บริบท (contexts) ผลของโครงการวิจัยนี้พบว่า บัณฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร้อยละ 73 มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 68 อาศัยอยู่กับพ่อแม่ บัณฑิตจำนวนร้อยละ 73 ได้ทำงานทันทีหลังจบ บัรฑิตร้อยละ 71 ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำงานรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นจำนวนร้อยละ 40 และเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 40 บัรฑิตทันตแพทย์จำนวนร้อยละ 94 ระบุว่าวิชาการทางคลินิกและทันตกรรมชุมชนมีประโยชน์ และมีเนื้อหาทันสมัยมากที่สุด บัรฑิตทันตแพทย์นิยมเรียนในขณะที่เป็นนิสิตแบบร่วมมือในหมวดวิชาเอด/วิชาชีพ และหมวดวิชาโท สำหรับหมวดการศึกษาทั่วไป นิยมเรียนแบบจำใจเรียน และเรียนแบบอิสระในหมวดวิชาเลือดเสรี บัณฑิตทันตแพทย์รับรู้ว่าการพบปะปรึกษาอาจารย์ในขณะที่เป็นนิสิตในด้านวิชาการมีประโยชน์มาก แต่สำหรับการพบปะในด้านส่วนตัวมีประโยชน์น้อย บัรฑิตทันตแพทย์รับรู้ประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมนิสิตทั้งในระดับมหาวิทยาลัย/คณะในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ในงาน การฝึกความเป็นผู้นำในงาน การเรียนรู้วิธีการทำงาน และยังไม่เป็นผลเสียต่อการเรียน บัรฑิตทันตแพทย์ชี้ประเด็นให้คณาจารย์ในคณะได้มีการพัฒนาในเรื่องการเรียนการสอนให้เพื่มขึ้น ในเรื่องการส่งเสริมในนิสิตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสั่งสอนคุณธรรม/ศีลธรรมแก่นิสิต การใช้หลักในการวัดและประเมินผลในการเรียนการสอน และมีเวลาให้นิสิตเข้าพบมากขึ้น โดยทั้งบัณฑิตทันตแพทย์ได้ระบุคุณลักษณะของคณาจารย์ในคณะที่ควรพัฒนา ได้แก่ การรู้จักตนเอง การเห็นการณ์ไกล ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเสียสละเพื่อส่วนรวมและความมั่นคงทางอารมณ็ จากการประเมินคุณภาพบัณฑิตทันตแพทย์ จุฬาฯ โดยบัณฑิตเองและผู้ใช้บัณฑิตพบว่าทั้งในเชิงสัมบูรณ์และสัมพัทธ์ บัณฑิตทันตแพทย์อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งความรู้ความสามารถในการทำงาน คุณธรรมโดยเฉพาะในด้านความเชื่อมั่นในตนเอง การใฝ่ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับงานที่ทำ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความยุติธรรม ตลอดทั้งความรับผิดชอบในงานและมนุษยสัมพันธ์ในงาน และอยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่าบัณฑิตทันตแพทย์จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลถึงคุณภาพบัรฑิตคณะทัตนแพทยศาตร จุฬาฯ ในการประเมินเชิงสัมบูรณ์ ปัจจัยที่ส่งผลในเชิงบวก ได้แก่ ที่ตั้งสถานที่ทำงาน/กทม. การพบปะปรึกษาอาจารย์ทั้งทางวิชาการและส่วนตัว/บ่อย ๆ ครั้ รูปแบบการเรียนวิชาเอก/แบบอิสระและแบบร่วมมือ การเข้าอบรมสัมมนาทางวิชาการ การใช้เวลาเข้ารร่วมกิจกรรมนิสิต การใช้เวลาทำงานพิเศษ และงานอดิเรก เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในเชิงลบ ได้แก่ การเปลี่ยนงาน การเลือกคณะใหม่เมื่อมีโอกาส เป็นต้น สำหรับการประเมินในเชิงสัมพัทธ์นั้น ปัจจัยที่ส่งผลถึงคุรภาพบัรฑิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในเชิงบวก ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสม รายได้ครอบครัว รายได้ของตนเอง ที่ตั้งสถานที่ทำงาน/กทม. รูปแบบการเรียนวิชาเอก/แบบอิสระ การพบปะหรืออาจารย์ในเรื่องส่วนตัว การใช้เวลาทำงานอดิเรก เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในเชิงลบ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมในชั้น ม. 6 รูปแบบการเรียนวิชาเอก/แบบพึ่งพา การเข้ารับการอบรมสัมมนาทางวิชาการบ่อยครั้ง เป็นต้น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3231
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompol(dent).pdf19.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.