Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32345
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพินท์ บุนนาค | |
dc.contributor.author | อารีย์ วงศ์นพรัตน์เลิศ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-06-20T04:04:44Z | |
dc.date.available | 2013-06-20T04:04:44Z | |
dc.date.issued | 2531 | |
dc.identifier.isbn | 9745691836 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32345 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะเจริญพันธุ์ซึ่งได้ใช้จำนวนบุตรเกิดรอดของสตรีไทยในชุมชนแออัดและชุมชนชานเมืองของกรุงเทพมหานครที่ได้ดำเนินการด้านสาธารณสุขมูลฐานแล้ว เป็นดัชนีวัดระดับภาวะเจริญพันธุ์ โดยได้นำปัจจัยต่าง ๆ ทางด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะเจริญพันธุ์เข้ามาพิจารณาประกอบ ผลการศึกษาปรากฏว่า สตรีในชุมชนชานเมืองมีระดับภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่าสตรีในชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร และเมื่อเปรียบเทียบภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีทั้ง 2 ชุมชน กับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อระดับภาวะเจริญพันธุ์ ปรากฏว่าปัจจัยทางด้านประชากร ซึ่งได้แก่อายุแรกสมรสของสตรี อายุปัจจุบันของตรี จำนวนบุตรที่มีชีวิตในปัจจุบัน และระยะเวลาในการเลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมมารดาที่เท่า ๆ กัน ของสตรีทั้ง 2 ชุมชน พบว่าสตรีในชุมชนชานเมืองมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีในชุมชนแออัด สำหรับปัจจัยทางด้านสังคมนั้นพบว่า เมื่อเปรียบเทียบการนับถือศาสนาที่เหมือนกันของสตรีหรือสามี-สตรีในระหว่างชุมชนแล้ว ปรากฏว่าสตรีในชุมชนชานเมืองมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีในชุมชนแออัด ในขณะที่เมื่อพิจารณาทางด้านระดับการศึกษาที่เท่ากันทั้งของสตรีและสามีพบว่า ทุกระดับการศึกษาสตรีในชุมชนชานเมืองมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีในชุมชนแออัด ยกเว้นระดับการศึกษา ม.1-ม.6 พบผลตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา และเมื่อพิจารณาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจซึ่งได้แก่ อาชีพ และรายได้ ปรากฏว่าสตรีหรือสามีสตรีในกลุ่มอาชีพเดียวกันสตรีในชุมชนชานเมืองมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีในชุมชนแออัด สำหรับรายได้ของคู่สมรสนั้นก็พบผลในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ เมื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านอื่น ๆ ก็พบผลไม่แตกต่างกันคือ สตรีในชุมชนชานเมืองมีจำนวนบุตร เกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีในชุมชนแออัด | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to examine the comparative of fertility pattern from mean number of children ever born by Thai women in slum and suburban areas of Bangkok, which have been implementing the Primary Health Care Program by the Bangkok Metropolitan Administration. The results of the study shown that the fertility pattern of those women in suburban areas are higher than those women in slum of Bangkok. In comparing the fertility of women in both areas for demographic factors such as age at first marriage, age of women, number of living children, and breast feeding. It was found that the mean number of children ever born by women in suburban areas are higher than those who lived in slum areas in Bangkok. And as for the social factor, women or husband of the same religion in suburban areas have the mean number of children ever born higher than women in slum areas. While considering the same level of education of both wife and husband, found that every education level of women in suburban areas have the average number of children ever born higher than women in slum areas. Except the secondary education have the reverse result. For the economic factors which are: occupation and income, found that: women and their husbands in the same occupation in suburban areas have mean number of children ever born higher than the women in slum areas. The same result also shown for the family income. Moreover, when considered other factors there are no differences that women in suburban areas have the mean number of children ever born higher than women in slum areas. | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในชุมชนแออัด และชุมชนชานเมืองของกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A comparative study of the fertility of Thai women in slum and suburban areas in Bangkok metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aree_wo_front.pdf | 4.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aree_wo_ch1.pdf | 19.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aree_wo_ch2.pdf | 9.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aree_wo_ch3.pdf | 27.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aree_wo_ch4.pdf | 4.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aree_wo_back.pdf | 9.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.