Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32353
Title: ภาพลักษณ์สังคมเมืองในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยระหว่างพุทธศักราช 2534-2536
Other Titles: Images of urban society in contemporary Thai short stories, 1991-1993
Authors: อารียา หุตินทะ
Advisors: ตรีศิลป์ บุญขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะประมวลภาพลักษณ์สังคมเมืองตามที่ปรากฏในเรื่องสั้นไทย ระหว่าง พ. ศ. 2534 – 2536 และพิจารณาทัศนะของผู้เขียนที่มีต่อสังคมเมืองในด้านการเจริญเติบโต ความเปลี่ยนแปลงของสังคม และวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง ผลการวิจัยสรุปได้ว่าภาพลักษณ์สังคมเมืองที่ปรากฏในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัย ระหว่าง พ. ศ. 2534 – 2536 เป็นภาพลักษณ์ในเชิงลบทุกด้าน อันได้แก่ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน สภาพจิตใจ และสภาพปัญหาต่าง ๆ ในสังคมเมือง สังคมเมืองเป็นสังคมที่ไมน่าอยู่ เพราะมีสภาพแวดล้อมที่แออัดไปด้วยตึกรามบ้านช่อง มีความแห้งแล้งและเสื่อมโทรม วิถีชีวิตของคนในสังคมเมืองเต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ทำให้จิตใจคนเกิดความตึงเครียด ไร้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และในบางขณะก็ทำให้คนเกิดความรู้สึกแปลกแยกต่อสังคม นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและชนบทยังมีลักษณะที่ไม่เท่าเทียม กล่าวคือ เมืองใช้ความเป็นศูนย์กลางดูดซับทรัพยากรจากชนบทเข้ามาพัฒนาเมืองอยู่ฝ่ายเดียว ความเป็นศูนย์กลางทำให้อพยพเข้าเมืองเป็นจำนวนมากในเมืองจึงเต็มไปด้วยปัญหาสังคมมากมาย โดยเฉพาะปัญหาอาชญากรรมและปัญหาโสเภณี ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สังคมเมืองให้เป็นภาพลักษณ์ในเชิงลบคือทัศนะของผู้เขียน ผู้เขียนเรื่องสั้นมีทัศนะที่ชื่นชมธรรมชาติและให้ความสำคัญกับคุณค่าทางจิตใจ ผู้เขียนเห็นว่าชนบทคือสังคมในอุดมคติ รวมทั้งมีมุมมองเชิงสังคมนิยมที่ต่อต้านวิถีชีวิตในสังคมทุนนิยม สังคมเมืองมีลักษณะตรงกันข้ามกับสังคมในอุดมคติของผู้เขียนทุกประการ ผู้เขียนจึงเสนอภาพลักษณ์สังคมเมืองในเชิงลบทุกด้าน
Other Abstract: The thesis is aimed to describe the images of urban society in Thai contemporary short stories during 1991 – 1993 A.D. and to analyze the authors’ attitudes in the development of the city, the impact of such development and the people’ s way of life in the city. The result of this study shows that, the images of urban society, which are composed of physical appearance, society and culture, including people’s way of life and mental state; all the aspects are negative. Urban society is unpleasant because of its polluted environment and barrenness. Competitive life in the city makes people nervous and self – centered and finally it contributes to a feeling of alienation. Besides, the relationship between urban society and rural society is on an unequal basis. Because of the superior position of urban society, it exploits the natural and human resources from every part of the country for its own benefit. Its center of development attracts people who seek the opportunity to improve their lives by migrating to the city. So, the city has many problems, especially crime, violence and prostitution. The authors’ negative attitudes result in their negative depiction of urban society. First, the authors favor Nature and emphasize spiritual values, Second, according to the authors, rural society is ideal. Third, the authors have a socialist point of view, which is against capitalist urban society as an absolute contrast to their ideal society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32353
ISBN: 9746336134
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Areeya_hu_front.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch0.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch1.pdf10.6 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch2.pdf18.23 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch3.pdf34.6 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch4.pdf34.6 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch5.pdf34.04 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_ch6.pdf42.42 MBAdobe PDFView/Open
Areeya_hu_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.