Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32383
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นรลักขณ์ เอื้อกิจ | - |
dc.contributor.author | ปิยะนันท์ นามกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-21T14:12:53Z | - |
dc.date.available | 2013-06-21T14:12:53Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32383 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลดน้ำหนักและอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 422 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงจากโรงเรียนมัธยมของรัฐ สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการลดน้ำหนัก แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามอิทธิพลของครอบครัว และแบบสอบถามอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยง ได้เท่ากับ 1.0, .82, .78, .80, .85, .77 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า วัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีพฤติกรรมการลดน้ำหนักโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ([mean]= 2.84, SD = 0.42) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้ร้อยละ 41.2 ข้อสรุปจากผลการวิจัยสามารถนำไปส่งเสริมให้วัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินลดน้ำหนักด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกายร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนและจัดให้เหมาะสมกับวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะโภชนาการเกินเป็นรายไป นอกจากนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อวางแผนด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ในการสร้างเสริมสุขภาพในการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ [สมการ] | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this predictive correlational research were to examine weight control behaviors and to examine the predictability of predicting factors; perceived benefit, perceived self-efficacy, perceived barriers, parents influence, and peers influence among overweight female adolescents. Four hundred and twenty-two overweight female adolescents were recruited from purposive sampling technique in the secondary public schools, Office of the Basic Commission, Ministry of Education. The instruments used for data collection were the demographic data, weight control behaviors questionnaire, perceived benefit, perceived barriers, perceived self-efficacy, parents influence, and peers influence. All questionnaires were tested for content validities by five panel of experts, and the reliabilities were 1.0, .82, .78, .80, .85, .77, and .83, respectively. Descriptive statistic, Pearson’s product moment correlation coefficient and Multiple regression were used to analyze data. The results revealed: The mean score of lose weight behaviors among overweight female adolescent was at a moderate level ([mean]= 2.84, SD = 0.42). Perceived self-efficacy, parents influence, peers influence, perceived barriers, and perceived benefit were good predictors for weight control behaviors. Variables accounted for 41.2% of total variance in weight control behaviors. The results were used to promoted for change the diet control behaviors with exercise cooperate participant by parents and peers for individually overweight female adolescents, besides basing on plan and strategies for promoting weight control among overweight female adolescents. The equation derived from the standardized score was: [equation] | en_US |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1535 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สตรีน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.subject | การควบคุมน้ำหนัก | en_US |
dc.subject | การลดความอ้วน | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพในวัยรุ่น | en_US |
dc.subject | Overweight women | en_US |
dc.subject | Weight control | en_US |
dc.subject | Weight loss | en_US |
dc.subject | Health behavior in adolescence | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.title.alternative | Predicting factors of weight control behaviors among overweight female adolescents | en_US |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Noraluk.U@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1535 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyanan_na.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.