Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32405
Title: การวิเคราะห์กลุ่มของยีนที่ควบคุมลักษณะทางปริมาณของขนาดเมล็ดในถั่วเหลืองฝักสด Glycine max (L.) Merr.
Other Titles: Quantitative trait loci analysis of seed size in vegetable soybean Glycine max (L.) Merr.
Authors: ธนา อมรชัยพิริยะกุล
Advisors: วราลักษณ์ เกษตรานันท์
สุมิตรา คงชื่นสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Waraluk.K@Chula.ac.th
Sumitra.K@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องหมายพันธุกรรม
ถั่วเหลือง -- เมล็ด
ถั่วเหลือง -- การปรับปรุงพันธุ์
Genetic markers
Soybean -- Seeds
Soybean -- Breeding
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลักษณะขนาดเมล็ดเป็นลักษณะทางปริมาณที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อหาเครื่องหมายพันธุกรรม simple sequence repeat (SSR) ที่อยู่ใกล้กับกลุ่มของยีนที่ควบคุมลักษณะขนาดเมล็ด โดยการสร้างประชากรถั่วเหลืองรุ่น F₂ และ F₃ จำนวน 183 families จากถั่วเหลืองคู่ผสมพันธุ์เชียงใหม่ 60 และ Kaori เก็บข้อมูลขนาดเมล็ด ได้แก่ ความยาวของเมล็ด ความกว้างของเมล็ด และน้ำหนัก 100 เมล็ด เมื่อนำมาประมาณค่าอัตราพันธุกรรมแบบแคบ (h²[subscript n]) พบว่าค่า (h²[subscript n]) ของลักษณะความยาวของเมล็ด ความกว้างของเมล็ด และน้ำหนัก 100 เมล็ดมีค่าเท่ากับ 0.908 0.656 และ 0.753 ตามลำดับ นอกจากนี้ลักษณะทั้งสามมีการกระจายตัวของประชากร F₃ แบบปกติ ซึ่งเป็นผลจากการทำงานของยีนแบบผลบวก ความสัมพันธ์ระหว่างประชากร F₂ และ F₃ เป็นไปในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ เมื่อสกัดดีเอ็นเอจากพ่อแม่และประชากร F₂ เพื่อทดสอบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างถั่วเหลืองพันธุ์พ่อแม่ด้วยเครื่องหมายพันธุกรรม SSR จำนวน 18 เครื่องหมาย พบว่า เครื่องหมายพันธุกรรม Satt143 Satt179 Satt184 Satt373 และSatt513 ให้ความแตกต่างระหว่างทั้งสองพันธุ์ หลังจากนั้นนำไปทดสอบในประชากร F₂ จัดกลุ่มเครื่องหมายพันธุกรรมด้วยโปรแกรม MAPMAKER version 3.0 และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายพันธุกรรมและลักษณะขนาดเมล็ดด้วยโปรแกรม SPSS พบว่าสามารถจัดกลุ่มเครื่องหมายพันธุกรรมได้เพียงหนึ่งกลุ่ม ประกอบด้วยเครื่องหมายพันธุกรรม Satt513 และ Satt373 และไม่พบตำแหน่ง QTL ที่ควบคุมลักษณะทั้งสาม
Other Abstract: Seed size is an important quantitative character in vegetable soybean breeding program. The objective of this study was to detect simple sequence repeat (SSR) marker associated with quantitative trait loci for seed size. 183 F₂ and F₃ families were generated from the cross between ‘Chiangmai 60’ and ‘Kaori’. The data of seed size, including seed length, seed width and 100 seed weight were collected and narrow-sense heritability (h²[subscript n]) were calculated. It was shown that h²[subscript n] of seed length, seed width and 100 seed weight were 0.908, 0.656 and 0.753, respectively. These three seed size characters showed normal distribution in the F₃ population which were the effect of additive gene action. The correlation between F₂ and F₃ populations of these seed size characters were positive . DNA from the parents and F₂ population were extracted for determination of the polymorphism between parental soybean using 18 SSR markers. The markers, Satt143, Satt179, Satt184, Satt373 and Satt513 were found polymorphic between them. These makers were tested with the F₂ population, the linkage map was constructed using the computer program MAPMAKER version 3.0, and the simple linear regression between SSR markers and seed size characters were analyzed by SPSS which showed only 1 linkage map, containing Satt373 and Satt513. However no QTL was found associating with seed size characters in this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32405
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1552
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1552
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thana_am.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.