Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชนก คัมภีรยส คูเวนเบิร์ค-
dc.contributor.authorนบพงศ์ เอี่ยมไพบูลย์พันธ์, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-10-13T08:42:29Z-
dc.date.available2006-10-13T08:42:29Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745310433-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3257-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาถึงความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เกาหลีใต้ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-ค.ศ. 1998 และทำการทดสอบว่ามีการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Volatility Transmission) จากไทยไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียหรือไม่ ทั้งนี้ความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจในไทยซึ่งอาจสะท้อนจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในไทยอาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงค่าของอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ โดยผ่านทางช่องทางความเชื่อมโยงด้านการเงิน การศึกษาครั้งนี้ทำการทดสอบการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากไทยไปยังประเทศอื่นๆ โดยใช้แบบจำลอง VARX-Multivariate GARCH สำหรับ Mean Equation จะเป็นการประมาณค่าแบบจำลอง VARX เพื่อใช้ในการอธิบาย (Capture) การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในลักษณะ First Moment ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในลักษณะ Second Moment จะถูกประมาณค่าโดยแบบจำลอง Multivariate (MV) GARCH ซึ่งเป็นการประมาณค่า Variance Equation โดยตัวแบบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ BEKK(1,1) MV Model ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบ Overnight รายวันของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และ Federal Fund Rate ของสหรัฐอเมริกา โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-ค.ศ. 1998 จากการทดสอบเชิงประจักษ์ พบผลการศึกษาที่สำคัญสามารถสรุปได้ คือ เกิดการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทยไปยังความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ณ ระดับนัยสำคัญ 1% และเกิดการส่งผ่านของ Shock จากประเทศไทยไปยังความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ณ ระดับนัยสำคัญ 1% จากผลการศึกษาที่ได้ข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่าความเชื่อมโยงด้านการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมโยงด้านการเงินทางอ้อมซึ่งส่งผ่านทางนักลงทุนระหว่างประเทศจัดเป็นช่องทางที่มีความสำคัญในการอธิบายการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยของไทยไปประเทศต่างๆ นอกจากนั้น ยังพบอีกว่าความอ่อนแอของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในประเทศและความคล้ายคลึงกันของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจก็อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีบทบาทในการอธิบายการส่งผ่านของความผันผวนที่เกิดขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThis thesis investigates interest rate volatility of Thailand, Malaysia, Indonesia, Philippine and South Korea during the crisis period (January 1996 December 1998) and examines whether there is interest rate volatility transmission from Thailand to other East Asian countries. Due to economic and financial linkages in the region, the vulnerability of Thai economy, reflecting in interest rate volatility, may influence interest rate movements in the other countries, e.g., through financial channels. This study examines interest rate volatility transmission from Thailand to other East Asian countries by using a VARX Multivariate GARCH Model. The VARX model is applied to capture changes in interest rates at the first moment, while the second moment is estimated by the multivariate(MV) GARCH model. The MV GARCH model applied in this study is the BEKK (1,1) MV GARCH model. The data used in this test are daily overnight interbank rates of Thailand, Malaysia, Indonesia, Philippine and South Korea as well as the federal fund rate of the United States of America. The sample period is from 1996 to 1998. Empirically, we find that are there is interest rate volatility transmission from Thailand to Indonesia, Philippine and South Korea at the 1% level of significance and there is transmission of shock from Thailand to interest rate volatility of Malaysia, Indonesia and South Korea at the 1% level of significance. The result suggests that the indirect financial link that works through international investors is an important channel in explaining volatility transmission. Besides, weak and similar economic fundamentals may be another factor that plays the role in explaining volatility spillover.en
dc.format.extent1473293 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.614-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอัตราดอกเบี้ย -- เอเชียตะวันออกen
dc.subjectดอกเบี้ยen
dc.subjectการเงินการธนาคารen
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจen
dc.titleการส่งผ่านของความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยจากประเทศไทย ไปประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียen
dc.title.alternativeInterest rate volatility transmission from Thailand to the East Asian countries during the Asian crisis perioden
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPhornchanok.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.614-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nobpong.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.