Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3258
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์-
dc.contributor.authorคมกริช วงศ์แข, 2514--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialญี่ปุ่น-
dc.coverage.spatialกลุ่มประเทศอาเซียน-
dc.date.accessioned2006-10-13T08:50:58Z-
dc.date.available2006-10-13T08:50:58Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745321842-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3258-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบทางการค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ปี 1988 ถึงปี 2003 และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความน่าจะเป็นในการเกิดการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันตามแนวดิ่ง (Vertical Intra-Industrial Trade: VIIT) และการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันตามแนวดิ่งของสินค้าที่มีคุณภาพต่ำ (Low Quality VIIT: LQVIIT) ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยใช้ข้อมูลการค้าปี 2000 ปัจจัยที่ใช้ศึกษาได้แก่ มูลค่าผลผลิตถ่วงน้ำหนักด้วย GDP การลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียนเป็นรายอุตสาหกรรม ความแตกต่างของค่าจ้างต่อแรงงาน อัตราภาษี จำนวนสินค้ารายอุตสาหกรรมและตัวแปรเชิงกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร เคมี ผลิตภัณฑ์จากไม้และเยื่อกระดาษ สิ่งทอ โลหะ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ขนส่ง และอุตสาหกรรมเครื่องจักร การวิเคราะห์ใช้แบบจำลอง Binary Logistic Model และประมาณค่าแบบ Maximum Likelihood สินค้าออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีคุณภาพต่ำและนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่าโดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และประเทศเวียดนาม ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความน่าจะเป็นในการเกิดการค้าแบบ VIIT พบว่า VIIT มีโอกาสเกิดขึ้นมากในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าผลผลิต การลงทุน ความแตกต่างของค่าจ้างต่อแรงงาน และจำนวนสินค้าในอุตสาหกรรมสูงและมีโอกาสเกิดน้อยในอุตสาหกรรมที่มีการเก็บภาษีสูง ส่วนอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษาพบว่ามีโอกาสเกิด VIIT มากกว่าอุตสาหกรรมเครื่องจักรในกรณีของประเทศสิงคโปร์ ส่วนในประเทศอื่นๆ พบว่ามีโอกาสเกิดรูปแบบทางการค้าอย่างอื่นมากกว่า ในการศึกษาการเกิด LQVIIT พบว่า มูลค่าผลผลิตส่งเสริมการเกิด LQVIIT ในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ในขณะที่การลงทุนส่งเสริมการเกิด LQVIIT เฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่าความแตกต่างของค่าจ้างต่อแรงงาน ส่งเสริมการเกิด LQVIIT ในอินโดนีเซียและประเทศไทย ส่วนตัวแปรอัตราภาษีนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเกิดของ LQVIIT ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย และมีผลในทิศทางตรงข้ามในกรณีของประเทศสิงคโปร์ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความน่าจะเป็นในการเกิดรูปแบบการค้าแบบ LQVIIT โดยใช้อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมอ้างอิงทำให้ทราบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีความน่าจะเป็นในการเกิด LQVIIT มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ/ ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยและมีความน่าจะเป็นในการเกิดไม่แตกต่างกันในกรณีของประเทศสิงคโปร์en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to analyze trade patterns between Japan and ASEAN countries during 1988-2003 and analyze the factors that affect both vertical intra-industry trade (VIIT) and low-quality vertical intra-industry trade (LQVIIT) in the selected year 2000. The methods applied The Binary Logistic Model and The Maximum Likelihood Estimation Technique. As for factors determine intra-industry trade, this study had selected to include these variables: GDP-weighted output, Japanese FDI, product number in each industry, difference wage per labor, tariffs and industry dummies which include essentially food, chemicals, wood and pulp products, textiles, metal products, electrical products, transportation equipment and machinery. The results show that exports of ASEAN countries to Japan are mainly low quality products and imports from Japan are mainly high quality products, particularly in Indonesia, Malaysia, the Philippines, Thailand and Vietnam. Singapore is the only exception. The VIIT would occur with the presence of greater GDP-weighted output, Japanese FDI, gap of wage per labor and product number, and lower for higher trade barriers. The selected industries appeared to have higher probability of VIIT as compared to the reference industry e.g. machinery in the case of Singapore. The rest of ASEAN countries appeared to have other kinds of trade patterns because it is shown different values than VIIT. For LQVIIT, the study found that weighted output would promote the kinds of trade patterns found in Indonesia, Singapore and Thailand. On the other hand, Japanese FDI would promote LQVIIT for Indonesia. The study had also found that difference in wage per labor would bring about LQVIIT for Indonesia and Thailand. As for tariffs, the study found that this factor has the probability to obstruct the kinds of LQVIIT to occur in most countries with the exception of Singapore. Finally, the textiles industry looks prominently to have a significant LQVIIT as compared to other industries, especially for countries like Indonesia, Malaysia and Thailand.en
dc.format.extent2668908 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.485-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศ -- ญี่ปุ่นen
dc.subjectการค้าen
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศ -- ญี่ปุ่นen
dc.subjectญี่ปุ่น -- การค้ากับต่างประเทศ -- กลุ่มประเทศอาเซียนen
dc.subjectกลุ่มประเทศอาเซียน -- การค้าen
dc.subjectญี่ปุ่น -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- กลุ่มประเทศอาเซียนen
dc.subjectกลุ่มประเทศอาเซียน -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- ญี่ปุ่นen
dc.titleการศึกษาการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันตามแนวดิ่งระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศในกลุ่มอาเซียนen
dc.title.alternativeStudy on vertical intra-industry trade between Japan and Asean countriesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuthiphand.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.485-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komkrit.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.