Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุษา แสงวัฒนาโรจน์-
dc.contributor.authorเบญจมาส ขวัญคง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-02T03:07:51Z-
dc.date.available2013-07-02T03:07:51Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32618-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้นำเอนไซม์เซลลูเลสทางการค้า ANP-N300 ซึ่งปกติใช้สำหรับการฟอกสีผ้ายีนส์และกำจัดขนบนผ้าใยเซลลูโลส มาใช้ในการกำจัดสิ่งสกปรก (เช่น เพกทินและขี้ผึ้ง) บนผ้าฝ้าย เนื่องจากพบว่ามีแอคติวิตีของเอนไซม์เพกทิเนสค่อนข้างสูง โดยทดลองหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสิ่งสกปรก เช่น พีเอช อุณหภูมิ เวลา อัตราส่วนผ้าต่อสารละลาย ปริมาณเอนไซม์ และปริมาณสารช่วยเปียก ผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกแล้วถูกนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ ตามมาตรฐานการทดสอบ เช่น ความสามารถในการดูดซึมน้ำ ระดับเพกทินบนผ้า ความสามารถในการย้อมติดสี ความขาว น้ำหนักของผ้าที่ขาดหายไป และความแข็งแรงของผ้า และเปรียบเทียบผลกับผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์เพกทิเนสทางการค้า Scourzyme L ซึ่งนิยมใช้สำหรับกระบวนการดังกล่าวในระดับอุตสาหกรรม จากผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายด้วยเอนไซม์ เซลลูเลส ANP-N300 มี 2 ภาวะคือที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที และที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เวลา 10 นาที โดยที่ทั้งสองภาวะ กระทำการกำจัดสิ่งสกปรกที่พีเอช 6.5 ใช้อัตราส่วนน้ำหนักผ้าต่อสารละลายเท่ากับ 1:50 ปริมาณเอนไซม์ 0.5 กรัม/ลิตร และปริมาณสารช่วยเปียก 1 กรัม/ลิตร ซึ่งการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์เซลลูเลส ANP-N300 ให้ผลใกล้เคียงกับการกำจัด สิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์เพกทิเนส Scourzyme L ผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ทั้งสองชนิดสามารถดูดซึมน้ำได้ทันที ผ้ามีความขาวเพิ่มขึ้นจากผ้าดิบ ผ้าสูญเสียน้ำหนักเพียงร้อยละ 2-3 และความแข็งแรงของผ้าไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ถึงแม้ว่าผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรก ด้วยเอนไซม์ ANP-N300 มีปริมาณเพกทินบนผ้าสูงกว่าผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ Scourzyme L ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่การกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ ANP-N300 ก็สามารถขจัดเพกทินบนผ้าออกไปได้มากพอที่จะทำให้ผ้าดูดซึมน้ำได้ทันที ผ้ามีความขาว และความเข้มสีใกล้เคียงกันกับผ้าที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยเอนไซม์ Scourzyme L จึงสรุปได้ว่าสามารถใช้เอนไซม์เซลลูเลส ANP-N300 สำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้ผลดีเช่นเดียวกับการใช้เอนไซม์เพกทิเนส Scourzyme L ในกระบวนการดังกล่าวen_US
dc.description.abstractalternativeCommercial cellulase enzyme ANP-N300 is generally recommended to be used for bio-stone washing of jeans and biopolishing of cellulose fabric. In this research, ANP-N300 was used for bioscouring of greige cotton fabrics to remove pectins and waxes (on cotton) due to its high pectinase enzyme activity. Optimal scouring conditions were determined (pH, temperature, time, fabric to liquor ratio, and enzyme and wetting agent dosages). Scoured fabrics were tested for various properties according to standard test methods such as wettability, pectin content, dyeability, whiteness, weight loss, and strength of fabrics. For comparison, another commercial pectinase enzyme Scourzyme L generally used for industrial cotton scouring was also used for scouring of the same fabrics. Two optimal conditions for cotton scouring using ANP-N300 were determined as follows : ANP-N300 0.5 g/l, wetting agent 1 g/l, fabric to liquor ratio 1:50, pH 6.5, temperature either at 50 ºC for 45 minutes or 60 ºC for 10 minutes. Both ANP-N300 and Scourzyme L scouring processes showed similar scouring results in which scoured fabrics showed good wettability, higher whiteness than greige fabrics, 2-3% weight loss and acceptable low strength loss. Though fabrics scoured with ANP-N300 showed higher pectin content than fabrics scoured with Scourzyme L, scouring with ANP-N300 could sufficiently remove pectins from fabrics in which ANP-N300 scoured fabrics showed similar wettability, whiteness and color strength to Scourzyme L scoured fabrics. It can be concluded that ANP-N300 cellulase enzyme can be successfully used for cotton scouring, comparatively with scourzyme L pectinase enzyme.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.392-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผ้าฝ้าย -- การทำความสะอาดen_US
dc.subjectเพกตินen_US
dc.subjectเซลลูเลสen_US
dc.subjectเอนไซม์en_US
dc.subjectCotton fabrics|xCleaning-
dc.subjectPectin-
dc.subjectCellulase-
dc.subjectEnzymes-
dc.titleการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้าย ด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่มีเพกทิเนสen_US
dc.title.alternativeScouring of cotton fabric using pectinase contained cellulase enzymeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorusa@sc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.392-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
benjamas_kw.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.