Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32619
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา | - |
dc.contributor.advisor | ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ | - |
dc.contributor.author | เนตรชนก จิตรวรนันท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-02T03:14:11Z | - |
dc.date.available | 2013-07-02T03:14:11Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32619 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้าในสารละลายทอลเลนส์ (Tollen’s reagent) พบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการยึดติดระหว่างฟิล์มเงินกับผิวแก้ว ปัจจัยเรื่องการสั่นด้วยอัลตราโซนิคไม่สามารถช่วยให้เกิดการยึดติดที่ดีของฟิล์มเงินกับผิวแก้วได้ ในขณะที่การปรับผิวด้วยวิธีทางกายภาพนั้นส่งเสริมการยึดติดที่ดีมากกว่าการปรับผิวด้วยวิธีทางเคมี การปรับผิวแบบสองขั้นตอนด้วยวิธีการขัดด้วยกระดาษทรายหมายเลข 320 จากนั้นกัดผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกเป็นเวลา 90 วินาที (SPHF) นั้นให้ค่าการยึดติดที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพผิวแก้วที่ผ่านการปรับผิวด้วยวิธีอื่นๆ อีก 5 ภาวะโดยแสดงผลการทดสอบด้วยวิธี Cross-cut test (method B) ในระดับ 5Bนอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมิยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการยึดติดให้มีมากขึ้น โดยชิ้นงานฟิล์มเงินหลังผ่านกระบวนการทางความร้อนแสดงค่าการยึดติดบนผิวแก้วดีกว่าชิ้นงานก่อนผ่านกระบวนการทางความร้อน เลือกชิ้นงานฟิล์มเงินที่แสดงค่าการยึดติดกับผิวแก้วดีที่สุดจากภาวะการปรับสภาพผิวแก้วด้วยวิธี SPHF มาวิเคราะห์สมบัติความชอบน้ำโดยการวัดมุมสัมผัสและวิเคราะห์การต้านแบคทีเรียด้วยวิธีการกระจายเชื้อและเคลียร์โซนของฟิล์มเงินที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังจากผ่านกระบวนการทางความร้อนที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อสภาพผิวเปลี่ยนจะทำให้ค่ามุมสัมผัสเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งผิวแก้วที่ปรับผิวด้วยวิธี SPHF ก่อนการเคลือบฟิล์มเงินจะแสดงสมบัติความชอบน้ำมากที่สุด แต่ภายหลังจากการเคลือบฟิล์มเงินลงผิวแก้วดังกล่าวจะแสดงสมบัติความชอบน้ำที่ลดลง และเมื่อฟิล์มเงินผ่านกระบวนการทางความร้อนจะทำให้กลับมามีสมบัติความชอบน้ำที่ใกล้เคียงกับผิวแก้วก่อนการเคลือบฟิล์มเงินอีกครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าชิ้นงานฟิล์มเงินก่อนและหลังจากผ่านกระบวนการทางความร้อน แสดงสมบัติการต้านเชื้อ E.coli ทดสอบด้วยวิธีการกระจายเชื้อได้ 99.99% และ 100% ตามลำดับ แต่การทดสอบด้วยวิธีเคลียร์โซนจะไม่พบ Inhibition zone ที่ชัดเจน โดยสามารถยับยั้งแบคทีเรียในบริเวณที่สัมผัสกับฟิล์มเงินเท่านั้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Silver film was fabricated on a glass substrate by electroless plating in Tollen’s reagent. Many parameters which effected on adhesion between silver film and a glass substrate were studied. The results showed that using ultrasonic vibration did not enhance adhesion between the two phases while the physical surface treatment played more important roles than the chemical one and ultrasonication. The combined treatment of grinding with silicon carbide number 320 then etching with hydrofluoric acid for 90 seconds (SPHF) showed the highest adhesion reported in scale of 5B using cross cut test (method B). Moreover, heat treatment could enhance adhesion between silver film and a glass substrate as well. In addition, when comparing the contact angle of before and after silver plating of SPHF condition, it was found that both of them performed hydrophilicity. However, a glass with silver film presented higher contact angle than a glass surface without silver film. Furthermore, silver film both before and after heat treatment of 550˚C exhibited 99.99% and 100% reduction of E.coli respectively which was confirmed by spread plate method. Although it was hardly seen the inhibition zone in disc diffusion method, silver film could inhibit only E.coli where they were contacted with the film. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.393 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อนุภาคซิลเวอร์นาโน | en_US |
dc.subject | กระบวนการเคลือบผิว | en_US |
dc.subject | การจุ่มเคลือบ | en_US |
dc.subject | การเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า | en_US |
dc.subject | การเคลือบผิวด้วยเงิน | en_US |
dc.subject | Coating processes | - |
dc.subject | Electroless plating | - |
dc.subject | Silvering | - |
dc.title | การเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า | en_US |
dc.title.alternative | Coating of Ag particles on glass surface by electroless plating | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีเซรามิก | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Dujreutai.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Sirithan.J@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.393 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
natechanok_ch.pdf | 7.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.