Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3263
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสปอร์และการผลิตพอลิ-3-ไฮดรอกซีบิวทิเรต โดยเชื้อ Bacillus sp. BA-019
Other Titles: The factors affecting Poly(-3-hydroxybutyrate) (PHB) production and spore formation by Bacillus sp. BA-019
Authors: สุปริญญา สุขผลพลา, 2520-
Advisors: ส่งศรี กุลปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Songsri.K@Chula.ac.th
Subjects: Bacillus sp. BA-019
Poly (-3-Hydroxybutyrate)
Spores (Botany)
สปอร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต PHB และการสร้รางสปอร์ของเชื้อ Bacillus sp. BA-019 ในระดับขวดเขย่าได้แก่ องค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อคือ แร่ธาตุและภาวะที่ใช้เลี้ยงเชื้อ (อุณหภูมิ การให้อากาศ และพีเอช) Bacillus sp. BA-019 เจริญเติบโต และผลิต PHB ได้โดยใช้แป้งที่ผ่านการย่อยเป็นแหล่งคาร์บอนได้ดีใกล้เคียงกับน้ำตาลกลูโคส คิดเป็นปริมาณ PHB เท่ากับ 49.64 และ 49.69% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง ตามลำดับ จึงเลือกใช้แป้งที่ผ่านการย่อยเป็นแหล่งคาร์บอนเนื่องจากมีราคาถูก เปรียบเทียบการใช้แอมโมเนียมซัลเฟตและยูเรียเป็นแหล่งไนโตรเจน พบว่า Bacillus sp. BA-019 ใช้แอมโมเนียมซัลเฟตในการเจริญเติบโตและผลิต PHB ได้ดีกว่าการใช้ยูเรียเป็นแหล่งไนโตรเจน พบว่า Bacillus sp. BA-019 ผลิต PHB ได้สูงที่สุดที่เวลา 12 ชั่วโมงและสร้างสปอร์ได้จำนวนมากที่สุดที่เวลา 24 ชั่วโมงของการเลี้ยงเชื้อในทุกปัจจัยที่ศึกษา แร่ธาตุได้แก่ แมกนีเซียม แคลเซียม และแมงกานีส มีผลต่อการผลิต PHB และการสร้างสปอร์ ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีแมกนีเซียม 200 มก./ล Bacillus sp. BA-019 ผลิต PHB ได้สูงที่สุดคือ 56.48% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง และที่ภาวะนี้มีจำนวนสปอร์เท่ากับ 7x10[superscript 3] CFU/ml. เมื่อเพิ่มหรือลดปริมาณแมกนีเซียมพบว่าการผลิต PHB ได้ต่ำลง เมื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมพบว่ามีการสร้างสปอร์เพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของแมกนีเซียมที่เพิ่มขึ้น ผลของปริมาณแคลเซียมและแมงกานีสเท่ากับ 20 และ 0.08 มก./ล ส่งผลให้ปริมาณ PHB ที่ได้สูงสุดเท่ากับ 56.42% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง (มีจำนวนสปอร์เท่ากับ 7.6x10[superscript 3] CFU/ml.) และ 56.68% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง (มีจำนวนสปอร์เท่ากับ 7.1x10[superscript 3] CFU/ml.) ตามลำดับ เมื่อปริมาณแคลเซียมและแมงกานีสเพิ่มขึ้นพบว่าการผลิต PHB ต่ำลง แต่มีการสร้างสปอร์มากขึ้น อุณหภูมิในการเลี้ยงเชื้อมีผลต่อการผลิต PHB และการสร้างสปอร์โดยพบว่าอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส Bacillus sp. BA-019 ผลิต PHB ได้ปริมาณสูงที่สุดเท่ากับ 53.42% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง และที่อุณหภูมินี้มีจำนวนสปอร์เท่ากับ 7x10[superscript 3] CFU/ml. ซึ่งเป็นค่าสูงที่สุดกว่าภาวะอื่นๆ เมื่อลดหรือเพิ่มอุณหภูมิมีผลต่อการผลิต PHB คือ Bacillus sp.BA-019 ผลิต PHB ลดลง อุณหภูมิมีผลต่อการสร้างสปอร์ในทำนองเดียวกับการผลิต PHB โดยเมื่อลดหรือเพิ่มอุณหภูมิจาก 30 องศาเซลเซียสมีการสร้างสปอร์น้อยลง การให้อากาศมีผลต่อการผลิต PHB โดยพบว่าเมื่อใช้ปริมาตรอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 50 มล. และที่ความเร็วรอบของการเขย่าเท่ากับ 200 รอบต่อนาที มีผลให้มีการผลิต PHB ได้ดีกว่าที่ภาวะการให้อากาศอื่น โดยได้ปริมาณ PHB สูงที่สุดเท่ากับ 53.81% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง และที่ภาวะนี้มีจำนวนสปอร์เท่ากับ 7x10[superscript 3] CFU/ml. พบว่า การให้อากาศมีผลต่อการสร้างสปอร์โดยเมื่อปริมาณอากาศมากขึ้นมีการสร้างสปอร์น้อยลง ค่าพีเอชของอาหารเลี้ยงเชื้อมีผลต่อการผลิต PHB และการสร้างสปอร์ โดยค่าพีเอชของอาหารเลี้ยงเชื้อที่ทำให้ Bacillus sp. BA-019 ผลิต PHB ได้สูงที่สุด คือ เท่ากับ 7.0 โดยได้ปริมาณPHB เท่ากับ 54.65% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้งและที่ค่าพีเอชต่างไปจากนี้พบว่า การผลิต PHB ลดลงและเมื่อค่าเอชพีเอชต่ำกว่า 7.0 มีการสร้างสปอร์น้อยลง
Other Abstract: The factors affecting PHB production by Bacillus sp. BA-019 in shake flask culture were the composition of culture medium e.g. minerals and culture conditions (temperature, aeration and pH). Hydrolysed starch was utilized as C-source as well as that of glucose for growth and PHB production by Bacillus sp. BA-019 ; i.e. PHB content were 49.64 and 49.69% wt, respectively. Then hydrolysed starch was selected as C-source due to its low cost. Ammonium sulfate and urea were studied as N-source, it was shown that ammonium sulfate was better assimilated by Bacillus sp. BA-019 for growth and PHB production as compared to that of urea. In the investigation on cultivation conditions, the maximum PHB production at 12 h. and highest spore formation at 24 h. of cultivation were observed in all culture conditions studied. In addition, minerals in culture medium such as Mg, Ca and Mn accounted for PHB production and spore formation. The highest PHB content of Bacillus sp. BA-019 was 56.48% wt and 7x10[superscript 3] CFU/ml. spores was determined in the medium containing 200 mg/l of Mg. Lower PHB production was obtained with increasing or decreasing of Mg, while larger number of spores was produced with higher Mg concentration. Similarly, Ca and Mn concentration at 20 and 0.08 mg/l resulting inthe highest PHB content of 56.42% wt (7.6x10[superscript 3] CFU/ml. of spores) and 56.68% wt (7.1x10[superscript 3] CFU/ml. of spores), respectively. Higher PHB production but less spore formation with increasing of Ca and Mn concentrations were investigated. Temperature was shown affected on PHB production and spore formation ; highest PHB content was 53.42% wt and number of spores was 7x10[superscript 3] CFU/ml. at 30 ํC, which was the larger number compared to that of other culture temperatures. Increasing and decreasing of culture temperatures also showed effect on reducing PHB production by Bacillus sp. BA-019. Similarly, temperature affected spore formation ; less spore formation at higher or lower temperature than 30 ํC. Moreover, PHB production was impacted by aeration ; 50 ml. of culture medium with shaking speed of 200 rpm resulting inthe optimal PHB production with maximum PHB content at 53.81% wt, and number of spores was 7x10[superscript 3] CFU/ml. Aeration also had influence on spore formation i.e. less spore formation was observed in higher aeration condition. The pH of culture medium was another factor relating to PHB production and spore formation; maximum PHB content was shown at pH 7.0 with 54.65% wt and 1.8x10[superscript 4] CFU/ml. spores was found. As pH was differed, PHB production was decreased and spore formation was also less.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3263
ISBN: 9741738528
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supinya.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.