Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรชัย พิศาลบุตร
dc.contributor.authorยุพาพร รักศิลปกิจ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-07-02T04:34:12Z
dc.date.available2013-07-02T04:34:12Z
dc.date.issued2532
dc.identifier.isbn9747569924
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32644
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบการแจกแจงแบบยูนิฟอร์มในช่วง (0,1) 5 ตัว คือ ตัวสถิติ X² เมื่อจำนวนกลุ่มของข้อมูลเท่ากับ 5 และ 8 (X5,X8) ตัวสถิติ Kolmogorov-Smirnov (D) ตัวสถิติ Watson (U) ตัวสถิติ Anderson Darling (A) และตัวสถิติ Q เมื่อกำหนดการแจกแจงของประชากรเป็น 3 รูปแบบคือ 1.เมื่อค่าสังเกตส่วนมากตกอยู่ด้านซ้ายของการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม (0,1) 2.เมื่อค่าสังเกตส่วนมากตกอยู่ตรงกลาง ๆ ของการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม (0,1) 3.เมื่อค่าสังเกตส่วนมากตกอยู่ทั้งสองด้านของการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม (0,1) โดยใช้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 5 10 15 20 30 50 และ 100 เมื่อทดสอบโดยใช้ตัวสถิติ D U A และ Q และใช้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 30 50 และ 100 เมื่อทดสอบด้วยสถิติ X5 และเมื่อทดสอบด้วยสถิติ X8 จะใช้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 50 และ 100 เท่านั้น ผลการวิจัยพบว่าตัวสถิติ X5 สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความฉลาดเคลื่อนชนิดที่ 1 ได้มากที่สุดและเมื่อประชากรมีการแจกแจงรูปแบบที่ 1 สรุปได้ว่า เมื่อขนาดตัวอย่างกว่าหรือเท่ากับ 30 ตัวสถิติ A จะมีอำนาจการทดสอบสูงสุด และเมื่อขนาดตัวอย่างมากกว่า 30 ตัวสถิติทุกตัวมีอำนาจการทดสอบไม่แตกต่างกัน เมื่อประชากรมีการแจกแจงรูปแบบที่ 2 สรุปได้ว่า เมื่อขนาดตัวอย่างน้อยกว่า หรือเท่ากับ 20 ตัวสถิติ U มีอำนาจการทดสอบสูงกว่าตัวสถิติอื่น ๆ และเมื่อขนาดตัวอย่างมากกว่า 20 ตัวสถิติทุกตัว มีอำนาจการทดสอบไม่แตกต่างกัน เมื่อประชากรมีการแจกแจงรูปแบบที่ 3 สรุปได้ว่า เมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 5 และ 10 ตัวสถิติ Q มีอำนาจการทดสอบสูงสุด และเมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 15 และ 20 ตัวสถิติ D A U และ Q ต่างก็มีอำนาจการทดสอบเท่ากัน และเมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 30 50 และ 100 ตัวสถิติ D A U และ Q ต่างก็มีอำนาจการทดสอบใกล้เคียงกัน ในขณะที่ตัวสถิติ X8 และตัวสถิติ X5 มีอำนาจการทดสอบต่ำสุด
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to compare the power of tests for uniformity such that X²statistic with five and eight classes (X5, X8), Kolmogorov-Smirnov statistic (D), Watson statistic (U), Anderson-darling statistic (A) and Q statistic. It is made under three patterns of population. Firstly, the observations are pushed toward one end of the unit interval. Secondly, the observations tend to cluster near the center of the unit interval. Thirdly, the observations tend to cluster at both ends of the unit interval. Whenever the sample sizes are 5 10 15 20 30 50 and 100; the test statistics are D U A and Q. Then let the sample sizes are 30 50 and 100 test with statistic X5 and finally let the sample sizes are 50 and 100 with the test statistic X8. From the final study, it is found that X5 is the best statistic that can control the probability of type I error. In case of the first pattern of population, when the sample sizes are less than or equal to 30, A statistic uniformly dominates the other test statistics and when the sample sizes are more than 30, all of the tests seem to have the same power values. Another second pattern of population, when the sample sizes are less than or equal to 20, in this case U statistic has higher power of test than others and when sample sizes are more than 20, the power values of all tests seem to have no difference. In case of the third pattern of population, when the sample sizes are 5 and 10, the dominate test statistic is Q and when the sample sizes are 15 and 20 the statistics D U A and Q have the same power values, Finally, when the sample sizes are 30 50 and 100, the power values of the statistics D A U and Q seem to have no difference; while X8 and X5 are the least powerful.
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของสถิติบางตัว ที่ใช้ในการทดสอบการแจกแจงแบบยูนิฟอร์มen
dc.title.alternativeA comparison of powerof some tests for uniformityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถิติes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupaporn_ru_front.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ru_ch1.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ru_ch2.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ru_ch3.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ru_ch4.pdf21.53 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ru_ch5.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ru_back.pdf12.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.