Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูเวช ชาญสง่าเวช-
dc.contributor.authorนพดล ห้อธิวงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-07-04T04:08:36Z-
dc.date.available2013-07-04T04:08:36Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746353713-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32796-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจของหน่วยงานภาครัฐบาล ที่ทำหน้าที่สนับสนุนโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมจากภาคอุตสาหกรรม โดยใช้หน่วยงานของรัฐบาลหน่วยงานหนึ่งเป็นกรณีศึกษา การศึกษาเริ่มจากการศึกษาเกณฑ์ฯ จากหน่วยงานในต่างประเทศที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับหน่วยงานที่ศึกษา สัมภาษณ์ผู้ประเมินโครงการฯ และเข้าสังเกตการณ์จากการประชุมเพื่อประเมินโครงการฯ แล้วนำเกณฑ์การตัดสินใจต่าง ๆ ที่ได้มาจำแนกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหลักทฤษฎี และกำหนดโครงสร้างการตัดสินใจในรูปของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ซึ่งสามารถจำแนกเกณฑ์การตัดสินใจ เป็น 2 ชุด คือ เกณฑ์ในการกลั่นกรองโครงการก่อนประชุมพิจารณาประเมินโครงการ และเกณฑ์ประเมินโครงการที่ผ่านขั้นตอนการกลั่นกรองแล้ว โดยที่เกณฑ์ประเมินโครงการฯ หลังการกลั่นกรองนี้ ได้แบ่งเป็น 2 เกณฑ์หลัก คือ (1) ศักยภาพของโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ย่อย 2 เกณฑ์ ได้แก่ (ก) ศักยภาพของผู้เสนอโครงการฯ และ (ข) ศักยภาพของเทคโนโลยีที่สนับสนุนโครงการฯ และ (2) ประโยชน์ของโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ย่อย 3 เกณฑ์คือ (ก) ประโยชน์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีฯ (ข) ประโยชน์ตอบแทนการเงิน (ค) ประโยชน์ต่อสังคมฯ จากนั้นเพื่อนำโครงสร้างการตัดสินใจนี้ไปทดสอบกับซอฟต์แวร์และโครงการตัวอย่าง ขั้นต่อมาคือการให้น้ำหนักความสำคัญกับเกณฑ์การตัดสินใจ ด้วยการเปรียบเทียบเป็นคู่ฯ ผลจากการเฉลี่ยค่าน้ำหนักของกลุ่มตัวอย่างของผู้ประเมินเห็นว่าเกณฑ์ศักยภาพของโครงการฯ มีความสำคัญใกล้เคียงกับเกณฑ์ประโยชน์ของโครงการฯ ส่วนการให้น้ำหนักของเกณฑ์ย่อยภายในใต้เกณฑ์ศักยภาพของโครงการฯ เห็นว่าเกณฑ์ศักยภาพของผู้เสนอโครงการฯ มีความสำคัญมากกว่าศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สนับสนุนโครงการฯ และการให้น้ำหนักของเกณฑ์ย่อยภาจใต้เกณฑ์ประโยชน์ของโครงการฯ เห็นว่าเกณฑ์ประโยชน์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีฯ มีความสำคัญมากที่สุด ในขณะที่ เกณฑ์ประโยชน์ตอบแทนทางการเงิน และเกณฑ์ประโยชน์ต่อสังคมมีความสำคัญใกล้เคียงกัน หลังจากนั้นก็นำโครงสร้างการตัดสินใจนี้มาทดสอบโครงการตัวอย่าง และเมื่อทำการสอบถามความเห็นในกระบวนการตัดสินใจนี้ ผู้ประเมินส่วนใหญ่ ของกลุ่มตัวอย่าง ให้ความเห็นว่า การนำกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และเกณฑ์การประเมินโครงการฯ นี้มาใช้จะให้ผลเช่นเดียวกันกับการตัดสินใจโดยไม่ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์และยังเห็นว่ากระบวนการตัดสินใจนี้ เป็นกระบวนการตัดสินใจที่ดีมากกระบวนการหนึ่ง แม้ว่าผลของการให้น้ำหนักความสำคัญกับเกณฑ์ต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้อาจนำไปใช้ในกรณีทั่วไปไม่ได้เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็กและผลที่ได้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยนี้พอสรุปได้ว่า กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ เป็นกระบวนการที่ดีกระบวนการหนึ่ง ที่จะนำมาใช้ในการประเมินข้อเสนอทำโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to identify the approporiate criteria for decision-making in a government agency that supports research, development and engineering projects in the industrial sector. The case study was selected from a government agency. The study started with a survey of foreign agencies with similarities to that in the case study, an interview of the project evaluating committee, and observations of the project evaluation meeting. The decision criteria obtained were divided into groups based on theoretical considerations and the decision structure determined according to the Analytic Hierarchy Process (AHP). The criteria were divided into two sets, the first set being to screen the proposals before project evaluation and the second, to evaluate the projects that passed the screening process. The latter set of criteria may be divided into two main criteria. (1) potential of the project which consists of (a) potential of the company that proposed the project and (b) potential of the technology in the project and (2) benefits of the project which consists of (a) technology development benefits (b) financial benefits and (c)social benefits. In order to test the software and the sample projects by this decision structure the next step was weighing the importance of the evaluation criteria by pairwise comparisons. From the results, the project evaluating committee, on average, found that the importance of the potential of the project was close to importance of benefits of the project. Applying the same procedure to the two subcriteria under the project potential criterion showed that the potential of the company that proposed the project was more important than the potential of the technology in the project. As for the subcriteria under the project benefits criterion, it was found that the technology development benefits subcriterion was most important, while the financial benefits criterion was close in importance to the social benefits. This decision structure was applied to the case examples. When the committee was asked of its opinion concerning this decision-making process, most members responded that AHP and the criteria used to evaluate the project produce results that conform to the results obtained when not using AHP, and it is a very good decision-making process. although the result of weighing the importance of the criteria may not be used in general since the sample size is small and the results are statistically insignificant, it may be concluded from this research that AHP is a good method in evaluating the research, development, and engineering project proposals.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleเกณฑ์การประเมินข้อเสนอทำโครงการวิจัยพัฒนา และวิศวกรรมจากภาคอุตสาหกรรมen_US
dc.title.alternativeEvaluation criteria for research, development and engineering project proposals from the industrial sectoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppadol_ho_front.pdf763.29 kBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch1.pdf734.37 kBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch2.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch4.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch5.pdf968.39 kBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch6.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_ch7.pdf676.44 kBAdobe PDFView/Open
Noppadol_ho_back.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.