Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33119
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorทรายทอง พวกสันเทียะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-15T14:03:53Z-
dc.date.available2013-07-15T14:03:53Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33119-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของจิตวิทยาศาสตร์นักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1– 6 อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 24 โรงเรียน จำนวน 3,134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดของ Rowland (2005) และแบบวัด Scientific Attitude ของ Moore & Foy (1997) วิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน วิเคราะห์ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ และวิเคราะห์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น (โมเดลที่ 1) ประกอบด้วย 10 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความอยากรู้อยากเห็น 2) ความมีเหตุผล 3) ความใจกว้าง 4) ความซื่อสัตย์ 5) ความเพียรพยายามมุ่งมั่น 6) ความร่วมมือช่วยเหลือ 7) ความรับผิดชอบ 8) ความริเริ่มสร้างสรรค์ 9) ความรอบคอบ และ 10) การมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ โดยสร้างแบบวัดจำนวน 30 ข้อ มีค่าความเที่ยงในแต่ละด้านเท่ากับ 0.67, 0.89, 0.85, 0.75, 0.81, 0.64, 0.66, 0.69, 0.77 และ 0.62 ตามลำดับ และโมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดของ Rowland (2005) (โมเดลที่ 2) ประกอบด้วย 9 คุณลักษณะ คือ 1) มีความเชื่อว่าความรู้สามารถพิสูจน์ได้ 2) มีการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเกี่ยวกับข้อกำหนดของเหตุการณ์เพื่อการตัดสินใจ 3) มีความคิดวิพากษ์วิจารณ์โดยมีจิตสำนึกที่จะไม่ลำเอียง 4) มีความสามารถในการปรับตัวและเปิดใจกว้าง 5) มีความอยากรู้อยากเห็น 6) มีการรู้จักปฏิเสธความเชื่อที่ไม่มีการพิสูจน์ 7) มีการเสาะแสวงหาความเข้าใจจากสาเหตุ 8) มีส่วนร่วมในสังคมวิทยาศาสตร์ และ 9) มีความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ โดยสร้างแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเที่ยงในแต่ละด้านเป็น 0.61, 0.66, 0.70, 0.76, 0.83, 0.65, 0.76, 0.68 และ 0.70 ตามลำดับ 2. แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาที่สร้างตามโมเดลที่ 1 และโมเดลที่ 2 มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบวัด Scientific Attitude ของ Moore & Foy (1995) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 มีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของแบบวัดเท่ากับ 0.93 และ 0.92 โมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ทั้งสองโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยที่โมเดลที่ 1 อธิบายความแปรปรวนในตัวแปรจิตวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 71 โดยมีค่า χ² = 156.70, p = 0.14, df = 209, GFI = 0.97 AGFI = 0.93 และ RMR = 0.02 ส่วนโมเดลที่ 2 อธิบายความแปรปรวนในตัวแปร จิตวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 70 โดยมี χ² = 156.70,p = 0.14, df = 139 GFI = 0.98 AGFI = 0.92 และ RMR = 0.02 3. เกณฑ์ปกติของคะแนนจิตวิทยาศาสตร์นักเรียนประถมศึกษามีช่วงคะแนน T₃₂– T₆₃ ซึ่งชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีช่วงคะแนน T₂₇ – T₆₁ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีช่วงคะแนน T₃₂ – T₆₁ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีช่วงคะแนน T₃₉ – T₆₀ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีช่วงคะแนน T₃₁ – T₆₄ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีช่วงคะแนน T₃₇ – T₆₄ และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีช่วงคะแนน T₃₇ – T₆₄en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were 1) to develop models for measure scientific mind of primary school students, 2) to check the quality of the Scientific Mind Test for primary school students. 3) to create a norm of scientific mind for primary school students. The sample used in this study were 3,134 primary school students in years 1 to 6 which selected from 24 schools under the Office of Basic Education. The instrument used in this study according to reseacher Scientific Mind Tests, Test of Scientific Mind by Rowland (2005), and the Scientific Attitude Scale of Moore & Foy (1997) for primary school students. Confirmatory factor analysis were performed to determine the construct validity. Pearson’s product moment correlation coefficients were examined to determine the criterion-related validity. Cronbach's alpha internal consistencies were estimated for reliability of scales. Data were analyzed by the SPSS for window and the LISREL program. The finding were as follows : 1. Scientific Mind Test Model of primary school students was developed by resercher (Model 1) that consit of 10 features: 1 Curiosity 2) Rationality 3) Openness 4) Integrity 5) Effort commitment 6) Assistance 7) Responsibility 8) Creativity 9) of prudent and 10) and a good attitude toward science. The reliability of each factors were 0.67, 0.89, 0.85, 0.75, 0.81, 0.64, 0.66, 0.69, 0.77 and 0.62, respectively. The reliability of Scientific Mind Test by Rowland Concept (Model 2) include 9 features: 1) beliefing that knowledge can be prove 2) Have to be considered carefully with the requirements of the event to make decisions 3) Have an idea criticized by consciousness that is not biased 4) Have ability to adapt and open-minded 5) Have a curious 6) To be known reject the belief that there is no proof 7) Inqury understanding the reason 8) participation in social science, and 9) Understanding and use of science. The reliability of each factors were 0.61, 0.66, 0.70, 0.76, 0.83, 0.65, 0.76, 0.68 and 0.70, respectively. 2. Both Model 1 and Model 2 in Scientific Mind Test for primary school students that have the criteria related to scale Scientific Attitude of Moore & Foy (1997) a significant level of 0.01 with reliability for internal consistency of the test were 0.93 and 0.92. The measurement model 1 and model 2 were consistent with the empirical data. The model 1, a variance in the dependent variable scientific mind was 71 percent and this model was identified by χ² = 156.70, p = 0.14, df = 209, GFI = 0.97 AGFI = 0.93 and RMR = 0.02. The Model 2 for 70 percent of variance in scientific mind, this model was identified by χ² = 156.70, p = 0.14, df = 139 GFI = 0.98 AGFI = 0.92 and RMR = 0.02. 3. Norm score of scientific mind of primary school students with range scores between T₃₂– T₆₃, by school year 1 was T₂₇ – T₆₁ , school year 2 was T₃₂ – T₆₁, school year 3 was T₃₉ – T₆₀ school 4 T₃₁ – T₆₄, grades 5 was T₃₇ – T₆₄ and school year 6 was T₃₇ – T₆₄ .en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1372-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตพิสัย -- วิทยาศาสตร์ -- การวัดen_US
dc.subjectทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์ -- แบบทดสอบen_US
dc.subjectAffective education -- Science -- Measurementen_US
dc.subjectScientific attitude -- Testen_US
dc.titleการพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a scientific mind test for primary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1372-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saitong_pa.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.