Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33590
Title: สุนทรียภาพการดัดแปลงข้ามสื่อ จากวรรณกรรมเรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของ เหม เวชกร เป็นละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน
Other Titles: Aesthetics of cross-media adaptation from Hem Vejakorn’s ghost short stories and illustration to television drama and comic books
Authors: กฤษณะ คุปตามร
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thiranan.A@chula.ac.th
Subjects: เหม เวชกร
เรื่องสั้นไทย -- สุนทรียศาสตร์
ภาพเขียน -- สุนทรียศาสตร์
ละครโทรทัศน์
หนังสือชวนหัวกับเด็ก
Hem Vejakorn
Short stories, Thai -- Aesthetics
Painting -- Aesthetics
Television plays
Comic books and children
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เอกลักษณ์ในบทประพันธ์เรื่องผีของเหม เวชกร และวิเคราะห์การดัดแปลงบทประพันธ์เรื่องผีของ เหม เวชกร เป็นละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเดิม(Convention) และสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ (Invention) ผลการวิจัยพบว่า เอกลักษณ์ในบทประพันธ์เรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของเหม เวชกร ได้แก่ การเล่าเรื่องผ่านภาพศิลปะแนวภูตผี (ภาพประกอบ) การเล่าเรื่องให้มีรส 3 มิติคือ รสกลัว รสรัก และรสเศร้าสะเทือนใจ มีกลวิธีการเล่าเรื่องให้มีความสมจริง และผสมผสานลักษณะความเป็นไทย ในด้านการดัดแปลงบทประพันธ์ไปยังสื่ออื่นพบว่า ผู้ผลิตตั้งใจที่จะนำเอกลักษณ์ต่างๆจากบทประพันธ์เรื่องผีของ เหม เวชกร มาคงองค์ประกอบการเล่าเรื่องไว้ และสร้างสรรค์ให้เป็นประดิษฐกรรมใหม่(Invention) เพื่อให้สูตรเรื่องเล่ามีการปรับตัวตามกาลเวลา โดยการขยายความ ตัดทอน และดัดแปลงเนื้อหา ซึ่งลักษณะการถ่ายโยงเนื้อหาจากวรรณกรรมเรื่องสั้นสู่ละครโทรทัศน์ พบว่า ทางผู้ผลิตตั้งใจจะคงรสและองค์ประกอบการเล่าเรื่องตามบทประพันธ์ตัวบทต้นทาง อันได้แก่ ภาพศิลปะแนวภูตผี โครงเรื่อง ฉากบรรยากาศ ตัวละคร แก่นเรื่อง สัญลักษณ์พิเศษ เอาไว้ให้มากที่สุดและเพิ่มรสแห่งความรักให้มีมิติมากยิ่งขึ้น ส่วนลักษณะการถ่ายโยงเนื้อหาจากวรรณกรรมเรื่องสั้นและละครโทรทัศน์สู่หนังสือการ์ตูน ทางผู้ผลิตตั้งใจที่จะคงภาพศิลปะแนวภูตผี ฉากบรรยากาศ ให้เป็นไปตามบทประพันธ์เดิม และดัดแปลงโครงเรื่องให้จบแบบหักมุม ดัดแปลงตัวละครให้มีลักษณะนิสัยที่ทะเล้น และเปลี่ยนรสแห่งบทประพันธ์จากความน่ากลัวให้เป็นรสแห่งความตลกและสนุกสนาน ตามธรรมชาติของสื่อการ์ตูนตลกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การ์ตูนจะต้องมีความเข้าใจง่าย(Simplified) บิดเบี้ยว(Distorted) เกินจริง(Exaggerated) และหักมุม(Twist Ending) ดังนั้น ลักษณะสัมพันธบทจากวรรณกรรมเรื่องสั้นและภาพเขียนชุดภูตผีของเหม เวชกร สู่ละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน จึงสอดคล้องกับหลักการถ่ายโยงเนื้อหาโดยทั่วไป ที่ผลงานสื่อจินตคดีในยุคหลังสมัยใหม่ในปัจจุบัน ล้วนรื้อฟื้นหรือดัดแปลงผลงานที่เคยสร้างมาแล้วในอดีตกลับมาทำใหม่อยู่เสมอ
Other Abstract: The purposes of this research are to study the special identities of Hem Vejakorn’s ghost stories and to analyze the adaptation of his ghost stories into television drama and comic books so as to discover the traces of the convention and invention. The research has found that the identities in Hem’s Vejakorn’s ghost stories consist of the narration through the spiritual artistic illustrations, the three-dimensionality of the spiritual narration: the frightening, the romantic and the sentimental narration, the verisimilitude of the spiritual narration, and the rendering of the spiritual narration to embrace the characteristics of Thai ghost. Regarding the adaptation of the stories into other media, the producers intend to sustain the composition of the identities of Hem Vejakorn’s ghost stories; then, create them as a new invention in order to adapt the formula of the narrative to the period by extension, reduction , and modification the content. The producers also intend the intertextuality of the narrative of the short stories to television drama to maintain the flavor and the composition of the narration in its original narrative—which are the spiritual artistic illustration, plot, scenes, characters and theme—as much as possible as well as to add more romantic features. In terms of the intertextuality of the narration from short stories and television drama to comic books, the producers intend to preserve the spiritual illustrations as well as the atmospheric scenes in their original forms. However, they alter the plot with twist ending, the characters with playful nature, and the composition from a horror to a comedy according to the nature of comic books with children as a target group. Comic books need to be simplified, distorted, exaggerated and twist-ended. Therefore, the relationship between characteristics of Hem Vejakorn’s short stories as well as ghostly illustrations and television drama and comic books is the general principle of the intertextuality of the content, which is repetitiously used by the imaginative media in the Postmodern Era in retaking or adapting the works produced before.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สื่อสารการแสดง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33590
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.423
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.423
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krisana_gu.pdf7.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.