Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33672
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorธารินี รอดสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-01T07:16:04Z-
dc.date.available2013-08-01T07:16:04Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745639621-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33672-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงพฤติกรรมการรับสารสนเทศ เรื่องการเจริญพันธุ์ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนและการแสวง หาสารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์กับอายุ การศึกษา และรายได้ของสตรีผู้มารับบริการ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการสื่อสารการวางแผนครอบครัวในเรื่องการคุมกำเนิดตามแนวทางของโรเจอร์มาใช้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานแล้วและ ยังอยู่กินกับสามี แต่ยังไม่มีบุตรหรือมีเพียงคนเดียว ซึ่งมาพบแพทย์ที่คลีนิค "ผู้มีบุตรยาก” ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลศิริราช ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 260 ราย จากการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 1 เดือน ผลจากการศึกษาพบว่า สตรีผู้มารับบริการส่วนใหญ่ได้รับสารสนเทศเรื่อง การเจริญพันธุ์ผ่านทางสื่อบุคคลมากกว่าสื่อมวลชน ลักษณะการแพร่กระจายสารสนเทศ จึงเป็นไปในระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง การได้รับสารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์จากบุคคล พบว่าสตรีผู้มารับบริการ ได้รับสารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์จากบุคคลที่มีความผูกพันต่อกันแบบใกล้ชิดสนิทสนม เช่น ญาติ และเพื่อน มากกว่าที่จะได้รับจากบุคคลที่มีความผูกพันต่อกันแบบผิวเผิน เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน และ การแสวงหาสารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์จากสื่อมวลชนกับอายุ การศึกษา และรายได้ปรากฏว่า อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อมวลชน และการแสวงหาสารสนเทศ เรื่องการเจริญพันธุ์จากสื่อมวลชน การศึกษา มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อมวลชน และการแสวงหาสารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์จากสื่อมวลชน รายได้ มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อมวลชน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ กับการแสวงหาสารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์จากสื่อมวลชน สำหรับแบบจำลองการสื่อสารการวางแผนครอบครัวตามแนวทางการวางกลยุทธการใช้สื่อเพื่อการเผยแพร่เรื่องการคุมกำเนิดตามขั้นตอนการยอมรับนวกรรม ของโรเจอร์นั้น สามารถนำมาใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศเรื่องการเจริญพันธุ์ได้ ในลักษณะเดียวกัน อันจะทำให้การสื่อสารการวางแผนครอบครัวเป็นไปทั้งในเรื่อง การคุมกำเนิด และเรื่องการเจริญพันธุ์ พร้อม ๆ กัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the information seeking behavior on fertility of Thai woman as well as to study the relations between exprosure behavior to mass media for the required informations and age, education and income. It is also aimed to evaluate the possibility of adopting Rogers’ Communication Models for the Family Planning Communication strategy. The target population were the 260 currently married women aged 15-45 who attend the out patient clinic of Chulalongkorn and Sirirate Hospital. The data was collected through interviewing with-in a month. The results indicate that the main source of fertile information is interpersonal communication rather than mass media. Moreover The flow of information is based on interperson as well especially the influence is strong when the relationship is intimated as peers or relatives. For the comparative outcome, it is found that there is no relationship between age and mass media exprosure or information seeking from mass media. On the other hands, education states fairly close relation both to mass media exprosure and required information seeking, while income is also related to mass media exprosure but not to fertile information seeking. Rogers' Communication Model is proved to be successful when applied to use as communication patterns for fertility aspect. It is recommended that the family planning strategy would be complete if both fertility and infertility are planned together.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1984.25-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาวะเจริญพันธุ์มนุษย์ -- การประชาสัมพันธ์-
dc.subjectสื่อมวลชนในการวางแผนครอบครัว-
dc.subjectการสื่อสารระหว่างบุคคล-
dc.subjectFertility, Human -- Public relations-
dc.subjectMass media in family planning-
dc.subjectInterpersonal communication-
dc.titleการสื่อสารเพื่อการเจริญพันธุ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีสตรีที่มีบุตรมากen_US
dc.title.alternativeCommunication for fertility : a case study of infertile womenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1984.25-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tarinee_ro_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.24 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch1.pdfบทที่ 12.96 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch2.pdfบทที่ 21.14 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch3.pdfบทที่ 31.5 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch4.pdfบทที่41.54 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch5.pdfบทที่ 52.7 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch6.pdfบทที่ 61.05 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_ch7.pdfบทที่ 71.45 MBUnknownView/Open
Tarinee_ro_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.73 MBUnknownView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.