Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3372
Title: การนำน้ำทิ้งจากบ้านเรือนกลับมาใช้ใหม่เพื่อการปลูกไม้ประดับ
Other Titles: Reuse of household effluent for ornamental plants
Authors: ปรมาภรณ์ โอจงเพียร, 2520-
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย--การนำกลับมาใช้ใหม่
พืช--ความต้องการน้ำ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์น้ำทิ้งจากบ้านเรือนที่มีการปรับความเข้มข้นโดยการเจือจางด้วยน้ำประปาเพื่อการปลูกไม้ประดับ ได้แก่ เตยหอม Pandanus odorus เฮลิโคเนีย Heliconia psittacorum และลิ้นมังกร Sanservieria trifasciata โดยศึกษาผลของน้ำทิ้งในด้านของภาระไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้และผลกระทบของน้ำทิ้งต่อดิน การวิจัยพบว่าลักษณะสมบัติของน้ำทิ้งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งเพื่อการเกษตรและสามารถนำมารดพืชแทนน้ำประปาได้โดยให้ผลผลิตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<=0.05) ซึ่งเหมาะสมสำหรับการปลูกเตยหอมและเฮลิโคเนีย เนื่องจากพบว่าน้ำทิ้งที่มีความเข้มข้นของไนโตรเจน(TKN) ค่อนข้างสูงโดยอยู่ในช่วง 549.5-723.5 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็นภาระไนโตรเจนเท่ากับ 4.6-6.0 มิลลิกรัม/ต้น/วัน และฟอสฟอรัสเข้มข้นเท่ากับ 80.4-95.5 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็นภาระฟอสฟอรัสเท่ากับ0.7-0.8 มิลลิกรัม/ต้น/วัน จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเตยหอม ด้านความสูง จำนวนใบ และหน่อมากที่สุด สำหรับเฮลิโคเนียน้ำทิ้งที่มีความเข้มข้นของไนโตรเจน (TKN) อยู่ในช่วง 395.9-1,011.2 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็นภาระไนโตรเจนเท่ากับ 3.3-8.4 มิลลิกรัม/ต้น/วัน และฟอสฟอรัสเข้มข้นเท่ากับ 55.6-123.3 มิลลิกรัมต่อลิตร คิดเป็นภาระฟอสฟอรัสเท่ากับ 0.5-1.0 มิลลิกรัม/ต้น/วัน จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเฮลิโคเนีย ด้านจำนวนใบ หน่อและดอกมากที่สุด ส่วนการปลูกลิ้นมังกรพบว่าน้ำทิ้งไม่มีผลต่อการเติบโตของต้นลิ้นมังกร โดยส่งผลต่อความสูงของลิ้นมังกรมากที่สุด แต่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนใบและหน่อ ส่วนผลการวิเคราะห์ดินที่ปลูกพืชพบว่าการนำน้ำทิ้งมาใช้เพื่อการปลูกไม้ประดับไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดินปลูก
Other Abstract: The objective is to study the feasibility of using household effluent after adjusting concentration with tap water for ornamental plants.The plants are Pandanus odorus, Heliconia psittacorum and Sanservieria trifasciata. The study focused on the nitrogen and phosphorus loading in effluent and their effects to plants and soil. The results showed that the quality of the diluted household effluent was in the standard of effluent reuse for irrigation and could replace tap water for plant watering without any significant effect to yield. In particular, it was quite suitable for Pandanus odorus and Heliconia psittacorum. The treated household effluent with nitrogen concentration (TKN) at 549.5-723.5 mg/l or nitrogen loading at 4.6-6.0 mg/plant/day with the phosphorus concentration of 80.4-95.5 mg/l or phosphorus loading at 0.7-0.8 mg/plant/day was the most effective to the growth of Pandanus odorus ., especially in height , number of leaves and bulbs .For Heliconia, the suitable nitrogen concentration (TKN) at 395.9-1,011.2 mg/l or nitrogen loading at 3.3-8.4 mg/plant/day and phosphorus concentration at 55.6-123.3 mg/l or phosphorus loading at 0.5-1.0 mg/plant/day was the most effective to the growth of leaves, bulbs and flowers. For Sanservieria trifasciata, it was found that the effluent was not effective to growth rate, especially of leaves and bulbs.The result from the soil analysis showed that utilization of the household effluent for ornamental plants had no negative effect to the soil
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3372
ISBN: 9741742398
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paramaporn.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.