Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33900
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงรัตน์ ทวีกันต์
dc.contributor.authorนิลาวรรณ ทวีกันต์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-05T11:20:32Z
dc.date.available2013-08-05T11:20:32Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745667307
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33900
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดูแลของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และเพื่อค้นหาตัวพยากรณ์การดูแลของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จากตัวแปรคัดสรรด้านภูมิหลัง ซึ่งได้แก่ อายุ ระยะเวลาของการศึกษา ความรู้เรื่องโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ความรุนแรงของโรค กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ ผู้ปกครองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่นำเด็กมาติดตามการรักษา ณ คลินิกโรคหัวใจบุตร แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความรู้เรื่องโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ความรุนแรงของโรค ทดสอบความตรงของเครื่องมือ โดยการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 ท่าน หาความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์การดูแลของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และแบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ความรุนแรงของโรค โดยการคำนวณหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเที่ยง 0.81 และ 0.77 ตามลำดับ ส่วนแบบสัมภาษณ์ความรู้เรื่องโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หาค่าความเที่ยงด้วยวิธีของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน-20 ได้ค่าความเที่ยง 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส เอกซ์ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยสูตรของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ก. การดูแลของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาการดูแลเป็นรายด้าน พบว่า การดูแลเรื่องยา และการดูแลเมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง การป้องกันโรคแทรกซ้อน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการดูแลการเจริญเติบโตและพัฒนาการและการดูแลฟัน มีค่าเฉลี่ยในระดับต่ำ ข. ตัวพยากรณ์ที่สามารถในการพยากรณ์การดูแลของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จากตัวแปรคัดสรรด้านภูมิหลัง พบว่า 1. ระยะเวลาของการศึกษา สามารถพยากรณ์การดูแลของผู้ปกครองรวมทุกด้าน การดูแลด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การป้องกันโรคแทรกซ้อน โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนการดูแลของผู้ปกครองรวมทุกด้าน ได้ร้อยละ 8.74 (R = .2956) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สามารถอธิบายความแปรปรวนการดูแลของผู้ปกครองด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้ร้อยละ 5.47 (R = .2340) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถอธิบายความแปรปรวนการป้องกันโรคแทรกซ้อน ได้ร้อยละ 2.97 (R = .1724) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. อายุ สามารถพยากรณ์การดูแลของผู้ปกครองเรื่องยา โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนการดูแลเรื่องยา ได้ร้อยละ 2.96 (R = .1719) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ความรู้เรื่องโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถพยากรณ์การดูแลของผู้ปกครองเมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ โดยอธิบายความแปรปรวนการดูแลเมื่อเด็กมีอาการผิดปกติ ได้ร้อยละ 3.44 (R = .1854) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the level of care given to children with congenital heart disease which performed by the care takers and to search for the variables that would be able to predict such care. Age, educational level, knowledge about congenital heart disease and health beliefs related to the perception of seriousness were the selected background variables acted as the predetermined predictors. One hundred and thirty two care takers were systemically random sampling from the care cakers who accompanied the children to the heart disease clinics for the child at out patient department of five hospitals located in Bangkok Metropolis. The research instrument developed by the researcher was the interview questionnaire which has been designed to collect the responses from the care takers within the areas of knowledge about congenital heart disease, health beliefs related to the perception of seriousness and the characteristic of care for the sick children. Fourteen experts in prediatric nursing reviewed the instrument in order to ensure the content validity. The reliability procedures were performed on the try-out data to assess the internal consistency which indicated that Cronbach’s Alpha Coefficient on the areas of characteristic of care and health beliefs related to the perception of seriousness were 0.81 and 0.77 consecutively. The Kuder Richardson-20 procedure conducted for the reliability of the knowledge about congenital heart disease was 0.83. A statistical Package for Social Science (SPSS[superscript x]) computer program was used for the analysis of data. Various statistical methods; percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression analysis, have been used for the data analysis. Summary of the findings were as follows: 1. The arithematic mean of total score of the care for children with congenital heart disease performed by the car taker was at the middle level. However, the care takers have given the high level of the care for the children in the areas of drug administration and the prevention of critical conditions. The level of care on the area of complication prevention was rated at the middle range. The low level of care showed on the areas of growth and development and tooth care. 2. The best predictors of the care for children with congenital heart disease performed by the care-takers were educational level, age, and knowledge about heart disease. 2.1 Educational level was able to predict the characteristic of care for children with congenital heart disease on the total score and on the areas of growth and development and complication prevention. This predictor could explain 8.74% (R = .2956), 5.47% (R = .2340), and 2.97% (R = .1724) of the total variences of the total care, growth and development and complication prevention respectively. 2.2 Age of the care taker was able to predict the care on the area of drug administration which explain 2.96% (R = .1719) of the total varience of drug administration. 2.3 Knowledge about congenital heart disease was able to predict the care on the area of the prevention of critical conditions which explained 3.44% (R = .1854) of the total varience of such care.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
dc.subjectการดูแลผู้ป่วย
dc.subjectเด็ก -- โรค
dc.subjectเด็ก -- การดูแล
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรด้านภูมิหลังกับระดับการดูแล ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดen_US
dc.title.alternativeRelationships between care takers' selected background variables and level of care for children with congenital heart diseaseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nilawan_th_front.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open
Nilawan_th_ch1.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Nilawan_th_ch2.pdf15.35 MBAdobe PDFView/Open
Nilawan_th_ch3.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Nilawan_th_ch4.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open
Nilawan_th_ch5.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open
Nilawan_th_back.pdf14.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.