Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33977
Title: | การผลิตถ่านกัมมันต์ระดับขยายส่วนจากพีตโดยคาร์บอไนเซชันและการกระตุ้นด้วยไอน้ำในฟลูอิไดซ์เบด |
Other Titles: | Large scale production of activated carbon from peat by carbonization and steam activation in fluidized bed |
Authors: | จักริน นิธีจันทร์ |
Advisors: | ธราพงษ์ วิทิตศานต์ สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พีตจากพรุบาเจาะ จ.นราธิวาส นำมาผลิตเป้นถ่านกัมมันต์โดยคาร์บอในเซชันและการกระตุ้นด้วยไอน้ำในพลูอิไดซ์เบด การทดลองแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรก คาร์บอไนช์ในฟลูอิไดซ์เบด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร ความสูง 1,100 มิลลิเมตร มีตัวแปรที่ศึกษา คือ ความแร็วอากาศ 1.2-2.1 เท่าของความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชัน หรือ 0.94-1.64 เมตรต่อวินาที (ที่ 200 องศาเซลเซียส) เวลาในการคาร์บอไนซ์ 3-8 นาที พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการคาร์บอไนช์ในฟลูอิไดซ์เบด คือ ขนาดของเม็ดพีต จใถ/ใจ มิลลิเมตร ความเร็วอากาศ 0.94 เมตรต่อวินาที หรือ 1.2 เท่าของความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชัน ปริมาณการป้อนเม็ดพีต 2.0 กิโลกรัม อุณหภูมิเริ่มต้นของเบด 400 องศาเซลเซีนส เวลาในการคาร์บอไนช์ 5 นาที ได้ผลิตภัณฑ์เป็นถ่านชาร์ร้อยละ 34.0 มีปริมาณคาร์บอนคงตัวร้อยละ 83.6 สารระเหยร้อยละ 10.9 เถ้าร้อยละ 4.0 ขั้นตอนที่สอง การกระตุ้นด้วยไอน้ำในฟลูอิไดซ์เบดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร ความสูง 770 มิลลิเมตร มีตัวแปรที่ศึกษา คือ ร้อยละของสารระเหยในวัตถุดิบ 3.6, 16.2, 31.3, 41.9 และ 61.9 ขนาดถ่านฟิต 0.5-1.0, 1.0-1.4 และ 1.4-2.0 มิลลิเมตร เวลาในการกระตุ้นด้วยไอน้ำ 3, 5, 7, 9 และ 10 นาที อุณหภูมิของเบตขณะเริ่มป้อนไอน้ำ 700-925 องศาเซลเซียส ปริมาณการป้อนถ่านพีต 0.5-2.0 กิโลกรัม พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นด้วยไอน้ำในฟลูอิไดซ์เบด คือ ถ่านพีต 1.0-2.0 มิลลิเมตร ปริมาณการป้อนถ่านพีต 2.0 กิโลกรัม ความเร็วอากาศ -ใ/ เมตรต่อวินาที หรือ 1.4 เท่าของความเร็วต่ำสุดในการเกิดฟลูอิไดเซชันอุณหภูมิเบตขณะเริ่มป้อนไอน้ำ 700 องศาเซลเซียส ก๊าซออกซิไดซ์เป็นของผสมระหว่างไอน้ำกับอากาศ โดยมีอัตราส่วนระหว่างไอน้ำกับอากาศ 7.6 เปอร์เซ็นต์ เวลากระตุ้นด้วยไอน้ำ 7 นาที ได้ผลิตภัณฑ์เป็นถ่านกัมมันต์ร้อยละ 59.1 ของน้ำหนักถ่านพีต หรือ ร้อยละ 20.1 ของน้ำหนักพีตแห้ง มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ 1,023 ตารางเมตรต่อกรัม ค่าไอโอดันนัมเบอร์ 1,053 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าการดูดซับเมทิลีนบลู 354.5 มิลลิกรัมต่อกรัม |
Other Abstract: | Peat soil from Bacho swamp in Narathiwat Province was used to produce activated carbon by carbonization and steam activation in fluidized bed. The experiments consisted of two steps. In step one, Peat soil was carbonized in fluidized bed having inside diameter 150 mm. and 1,100 mm. high. The air velocity was 1.2-2.1 times that of minimum fluidizing velocity or 0.94-1.64 m/sec. (at 200 ℃). The time of carbonization was 3-8 min. The result showed that the suitable condition for fluidized bed carbonization of peat was as follows : 0.5-2.0 mm. size., air velocity 0.94 m/sec. or 1.2 times that of minimum fluidization, feed 2.0 Kg., temperatureof bed before food 400 ℃, carbonization time 5 min., The yield of char was 34.0 (%W). The proximate analysis of char were flxed carbon 83.6% volatile matter 10.9%, H3h content 4.0% In step two, it was activated with steam in fluidized bed having inside diameter 120 mm. and 770 mm. high. The volatile matter of raw materials was 3.6-61.9%. The particle size was 0.5-1.0, 1.0-1.4 and 1.4-2.0 mm. The temperature for feed was 700-925 ℃. The feed of charwas 0.5-2.0 Kg. The result showed that the suitable condition for fluidized bed activation peat char was as follows : 1.0-2.0 mm. size., feed 2.0 Kg., air velocity 3.21 m/sce. Or 1.4 times that of minimum fluidizing velocity (at 700 ℃)., feed steam at 700 ℃., Oxidizine gas was a mixture of steam and air (steam / air 7.6%)., activation time 7 min., The yield was 59.1 (% Weight of char) or 20.2 % by weight of dry peat. The specific surface area was 1,023 m2/g. The Iodine number was 1,053 mg/g. The methylene blue adsorption was 354.5 mg/g. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2537 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33977 |
ISBN: | 9745839035 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chakrin_ni_front.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_ch1.pdf | 455.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_ch2.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_ch3.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_ch4.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_ch5.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_ch6.pdf | 661.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chakrin_ni_back.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.