Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34005
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ | - |
dc.contributor.author | จันทนา นิธิเมธาโชค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-08-07T02:21:54Z | - |
dc.date.available | 2013-08-07T02:21:54Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746343785 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34005 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาการใช้สารกระตุ้นในกุ้งกุลาดำโดยใช้สารกระตุ้นทางการค้า IE-04 และเซลล์ของ Clostridium butyricum ที่ทำให้ตายด้วยฟอร์มาลีนเสริมลงในอาหารและตรวจสอบความต้านทานต่อการเหนี่ยวนำให้เกิดโรค (challenge test) ด้วย Vibrio parahaemolyticus โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ Vibrio harveyi และไวรัสหัวเหลือง (Yellow Head Virus, YHV) โดยการแช่ รวมทั้งตรวจสอบการตอบสนองโดยเซลล์ คือ การเกิด phagocytosis และ phagocytic index การตอบสนองโดยสารน้ำ คือ bactericidin พบว่าการเสริมด้วยสารกระตุ้น IE-04 ความเข้มข้น 100 ppm และการเสริมด้วยเซลล์ของ C. butyricum ความเข้มข้น 100 ppm ติดต่อกัน 30 วัน จะช่วยเพิ่มความต้านต่อ V. harveyi โดยมีค่า RPS (Relative Percent Survival) เท่ากัน 37.93% และ 27.59% ตามลำดับ และความต้านทานต่อ V. harveyi จะหมดไปหลังหยุดให้ 7 วัน ความต้านทานต่อ YHV จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยพบว่ามีการตายซ้ำกว่ากลุ่มควบคุม (RPS เท่ากับ 16% และ 20% ตามลำดับ) และคงอยู่หลังหยุดให้ 7 วัน (RPS เท่ากับ 46.18% และ 15.37% ตามลำดับ) และพบ bactericidin สูงกว่ากลุ่มควบคุม 4 เท่า และคงอยู่หลังหยุดให้ 7 วัน ในกลุ่มที่เสริมด้วยเซลล์ของ C. butyricum มีการเกิด phagocytosis และ phagocytic index เพิ่มขึ้นหลังหยุดให้การเสริม 7 วัน ส่วนการเสริมด้วยสารกระตุ้น IE-04 ความเข้มข้น 100 ppm เซลล์ของ C. butyricum ความเข้มข้น 100 ppm และสารผสมระหว่างสารกระตุ้น IE-04 และเซลล์ของ C. butyricum ในอันตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 100 และ 200 ppm เป็นเวลา 7 วัน พบว่าในกลุ่มที่เสริมด้วยสารกระตุ้น IE-04 จะมีความต้านทานต่อ YHV เพิ่มขึ้นหลังหยุดให้ 7 และ 14 วัน (RPS เท่ากับ 38.46% และ 27.27% ตามลำดับ) และพบ Bactericidin สูงกว่ากลุ่มควบคุม 4 เท่า หลังหยุดให้ 7 วัน กลุ่มที่ได้รับการเสริมด้วยเซลล์ของ C. butyricum มีความต้านทานต่อ YHV สูงขึ้นและคงอยู่หลังหยุดให้ 7 วัน (RPS เท่ากับ 20.0% และ 53.85% ตามลำดับ) โดยไม่พบการเพิ่มของ bactericidin แต่พบการเพิ่มขึ้นของ % phagocytosis ส่วนในกลุ่มที่ได้รับสารผสมระหว่าง IE-04 และเซลล์ของ C. byturicum ความเข้มข้น 100 ppm มีความต้านทานต่อ V. harveyi และ YHV เล็กน้อย (RPS เท่ากับ 26.32 และ 25.0% ตามลำดับ) โดยไม่พบการเพิ่มขึ้นของระดับ Bactericidin และ % phagocytosis ส่วนความเข้มข้น 200 ppm มีความต้านทานต่อ V. harveyi สูงขึ้นหลังหยุดให้ 7 วัน (RPS 46.67%) โดยไม่พบการเพิ่มของ Bactericidin, % phagocytosis และความต้านทานต่อ YHV การศึกษานี้พบว่าการเพิ่มความต้านทานต่อ YHV และ V. harveyi ไม่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่ม bactericidin และ % phagocytosis การเสริมด้วยเซลล์ของ C. butyricum น่าจำมีแนวโน้มในการเพิ่มความต้านทานต่อการเกิดโรคในกุ้งกุลาดำได้ | - |
dc.description.abstractalternative | The study of immunostimulants in Penaeus monodon was carried out by using the commercial product, IE-04, and formalin-killed cells of Clostridium butyricum supplemented into the feed. Following experimental infection of the shrimp by Vibrio parahaemolyticus via intramuscular injection and Vibrio harveyi and Yellow Head Virus (YHV) via immersion (challenge test), the shrimp’s resistance to infection was investigated by determing the cellular immune response, including phagocytosis and the phagocytic index; and the humoral immune response, including bactericidin. The results indicated that feed supplemented with either IE-04 or C. butyricum at a concentration of 100 ppm, and with a 30 days feeding program, the shrimp’s resistance to V. harveyi infection was increased, with the relative percent survival (RPS) of 37.93% and 27.59%, respectively; with both immunostimulants the duration of resistance was 7 days. IE-04 or C. butyricum mixed in the feed at 100 ppm and fed for 30 days led to a slight increase the resistance to YHV infection, with the RPS of 16% and 20%, respectively. The bactericidin in both groups was 4 times higher than that of the control and also lasted for 7 days. Interestingly, in the group fed with C. butyricum, the phagocytosis and phagocytic index increased only 7 days after the end of the feeding regimen. Another experiments fed supplement of IE-04 @ 100 ppm, C. butyricum @ 100 ppm or the mixture of IE-04 and C. butyricum in the ratio 1:1, @ 100 and @200 ppm, for 7 days. Results indicated that the resistance to YHV infection 7 and 14 days after the end of feeding increased in the group fed with IE-04; the RPS was 38.46% and 27.27%, respectively. In addition, the bactericidin was 4 times higher than that of the control 7 days after stop feeding. In the group fed with C. butyricum the resistance to YHV infection increased and lasted for 7 days, and RPS was 20.0% after feeding for 7 days and 53.85%, 7 days after ending the feeding program. No increase of bactericidin but an increase in % phagocytosis was found. In the group fed with IE-04 and C. butyricum mixture @ 100 ppm, the resistance to V. harveyi and YHV infection slightly increased, with the RPS of 26.32% and 25.0%, respectively. Whereas both bactericidin and % phagocytosis did not increase. At 200 ppm of the mixture, the bactericidin, % phagocytosis and resistance to YHV infection did not increase. However, the increase in the resistance to V. harveyi infection 7 days after the end of the feeding regimen with the RPS of 46.67% was found. This study did not find the increasing relationship between the resistance to YHV and V. harveyi infection and bactericidin or % phagocytosis. The feed supplemented with C. butyricum might increase the resistance to infection in Penaeus monodon. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การเสริมภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon โดย Clostridium butyricum | en_US |
dc.title.alternative | Immunoenhancement in giant tiger shrimp Penaeus monodon by Clostridium butyricum | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จุลชีววิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chantana_ni_front.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_ch1.pdf | 408.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_ch2.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_ch3.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_ch4.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_ch5.pdf | 950.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_ch6.pdf | 390.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_ni_back.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.