Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3414
Title: Identification and amino acid sequences of proteins from zingiberaceous plants
Other Titles: การพิสูจน์เอกลักษณ์และลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนจากพืชวงศ์ขิง
Authors: Sophon Kaeothip
Advisors: Polkit Sangvanich
Chantragan Phiphobmongkol
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Zingiberaceae
Identification
Amino acid sequence
Plant proteins
Issue Date: 2004
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Zingiberaceous plants are important natural herb in Thailand. Previously, the identification of zingiberaceous plants was mainly performed by their morphological origin. However, these methods were difficult to identify. The present study aimed to identify different species of zingiberaceous plants using a proteome approach by two-dimensional gel electrophoresis (2-DE) and amino acid sequence by mass spectrometry. 2-DE gels of different zingiberaceous plant samples contain sufficient different protein spots to permit easy discrimination. These "marker protein" will be used to identify of each species. Many proteins in zingiberaceous plants are displayed in mass range 13.00-20.00 kDa and small acidic region on 2-DE gels. From amino acid sequence by tandem MS and amino acid sequence database searching, the amino acid sequence of common protein spot A23 is shown four-peptide sequence similar to partial amino acid residue of glutelin type-B2 [precursor].However, the experimental values of mass and pI were lower than theoretical values. Since glutelin type-B2 [precursor] is a six subunit (hexamer), protein spot A23 could be subunit of glutelin type-B2 [precursor]. Some parts of the amino acid sequence of two-peptide sequences from common protein spot D12 were matched to Mannose-specific lectin but mass and pI value was not matching. This protein could be a new protein in the same class of lectin. The amino acid sequences from protein spots Z1 and Z2 are similar to Class I heat shock protein. Crude proteins from zingiberaceous plants with Mg(NP-40) A exhibited potent hemagglutinating activity. Crude protein from Curcuma sp. (saligalinthong) exhibited strongest hemagglutinating activity
Other Abstract: พืชวงศ์ขิงเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญชนิดหนึ่งในประเทศไทย ในสมัยก่อนนั้นการจำแนกหรือพิสูจน์เอกลักษณ์พืชแต่ละชนิดนั้น โดยส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าวิธีการดังกล่าวนั้นค่อนข้างที่จะยุ่งยากและซับซ้อน ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพิสูจน์เอกลักษณ์ของพืช โดยใช้โปรตีนทีมีอยู่ในพืชนั้นๆ ด้วยเทคนิคเจลอิเล็กโตรโฟเรซิสแบบ 2 มิติ แผ่นเจลของพืชแต่ละชนิดนั้นจะให้จุดโปรตีนที่แตกต่างกัน ซึ่งก็เพียงพอที่จะจำแนกพืชแต่ละชนิดในวงศ์ขิงได้ จุดของโปรตีนที่แตกต่างกันนั้นจะใช้เป็นโปรตีนเครื่องหมายในการจำแนกพืชแต่ละชนิด โปรตีนส่วนใหญ่ของพืชวงศ์ขิงจะแสดงจุดอยู่ในช่วงมวล 13-20 กิโลดาลตัน และบริเวณที่เป็นกรดเล็กน้อยบนแผ่นเจล จากการหาลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนด้วยเทคนิคทางแมสสเปคโทรเมทรี และสืบค้นจากข้อมูลพื้นฐานโปรตีนพบว่า โปรตีนพื้นฐานจุด A23 มีลำดับกรดอะมิโนของเปปไทด์ 4 เส้น ตรงกับลำดับกรดอะมิโนของโปรตีน Glutelin type-B2 [precursor] แต่พบว่าน้ำหนักโมเลกุลและค่า pI ของที่คำนวณได้ของโปรตีนจุด A23 นี้มีค่าน้อยกว่าโปรตีน Glutelin type-B2 [precursor] ซึ่งเป็นไปได้ที่ว่าโปรตีนจุด A23 นั้นอาจจะเป็นหน่วยหนึ่งของโปรตีน Glutelin type-B2 [precursor] เนื่องจากโปรตีนตัวนี้มีลักษณะเป็นหน่วยย่อย 6 หน่วยด้วยกัน โปรตีนพื้นฐานจุด D12 มีลำดับกรดอะมิโนของเปปไทด์ 2 เส้นใกล้เคียงกับลำดับกรดอะมิโนของโปรตีน แมนโนสสเปซิฟิก แล็กติน (Mannose-specific lectin) แต่พบว่ามวลและคา pI ของโปรตีนที่ได้นั้นไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่โปรตีนจุด D12 เป็นโปรตีนตัวใหม่ที่อยู่ในกลุ่มของโปรตีน lectin โปรตีนจุด Z1 และ Z2 มีลำดับกรดอะมิโนตรงกับลำดับกรดอะมิโนของโปรตีนในกลุ่ม heat shock protein ของพืชชนิดอื่นจำนวน 1 และ 2 เส้น ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ว่าโปรตีนทั้งสองจุดนั้น เป็นโปรตีนตัวใหม่ในกลุ่มของ heat shock protein จากการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดโปรตีน ที่ได้จากพืชวงศ์ขิงด้วยวิธี Mg(NP-40)A พบว่ามีฤทธิ์ในการทำให้เลือดแข็งตัว (Hemagglutination) ซึ่งสารสกัดโปรตีนที่มีฤทธิ์แรงที่สุดนั้นได้มาจากเหง้าขอว่านสาลิกาลิ้นทอง
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2004
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3414
ISBN: 9745314994
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sophon.pdf10.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.