Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ สินลารัตน์
dc.contributor.advisorทองอินทร์ วงศ์โสธร
dc.contributor.authorอนงค์ อนันตริยเวช
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-09T07:06:51Z
dc.date.available2013-08-09T07:06:51Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.isbn9746357743
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34442
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อสังเคราะห์พัฒนาการการมีส่วนร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย ตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรก (พ.ศ. 2459) จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2539) ในด้านภาระงาน ระดับองค์กร และรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารของอาจารย์ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ยุค คือ บุคมหาวิทยาลัยกระจาย สังกัดตามกระทรวง (พ.ศ. 2459-2502) ยุคมหาวิทยาลัยสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502-2515) และยุคมหาวิทยาลัยสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2515-2539) พบว่า อาจารย์มีส่วนร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยุคแรก 2 รูปแบบ คือ การมีส่วนร่วมในการบริหารตามภารกิจของมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาหลักสูตรในระดับภาควิชาและการมีส่วนร่วมในการบริหารตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติโดยการเป็นกรรมการประจำคณะ และเมื่อถึงยุคที่ 3 อาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยในทุกภาระงาน ระดับองค์กร และรูปแบบ กล่าวคือ อาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานทั่วไป งานวิชาการ และการบริหารงานบุคคล ทั้งในระดับภาควิชา ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยมีส่วนร่วมทั้งในรูปแบบที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ และตามภารกิจที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยของอาจารย์ มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความซับซ้อนของโครงสร้างการบริหารภายในมหาวิทยาลัย จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ การรับแนวคิดตะวันตกในการบริหารมหาวิทยาลัย และการปรับปรุงพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารของอาจารย์ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ การกระจายสังกัดและรวมสังกัดของมหาวิทยาลัย และสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อให้การมีส่วนร่วมในการบริหารของอาจารย์เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรวิชาการ นอกจากการปรับปรุงพระราชบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับของมหาวิทยาลัย/สถาบันให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารของอาจารย์ทั้งในด้านรูปแบบและวิธีการแล้ว ผู้บริหารต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารของอาจารย์โดยการรับฟังความคิดและเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้ร่วมตัดสินใจอย่างกว้างขวาง ส่วนอาจารย์ต้องมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างชัดเจน ถูกต้อง และควรมีการพัฒนาอาจารย์ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการยุคใหม่ ประการสำคัญ ต้องสร้างจิตสำนึกร่วมกันระหว่างผู้บริหารและอาจารย์ว่า การมีส่วนร่วมในการบริหารของอาจารย์ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญที่สุดในมหาวิทยาลัย จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของสถาบันและสังคมโดยรวม
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to analyze and synthesize faculty participation in Thai universities since the first university was founded (1916) until the present (1996) in terms of functional areas, level of organization and forms of participation. The study was devided into 3 periods: 1) the period under the supervision of the Ministries (1916-1959); 2) the period under the supervision of the Prime Minister Office (1959-1972) and 3) the period under the supervision of the Ministry of University Affairs (1972-1996). The results revealed that faculty members had shared authority in university governance since the first period. During the third period, faculty members in Thai university had shared authority in all functional areas: planning, academic administration and personnel administration; in all levels: departmental level, faculty level and institutional level; and in two forms of participation: by law and by mission. Factors effecting faculty participation in Thai university governance were both intrinsic and extrinsic. Intrinsic factors included complexity of university structure, numbers and qualification of faculty members, western concept of shared authority in Thai university governance and revised university charters. Extrinsic factors were national higher education policy and the liberalization of economics, social affairs and politics. In order to improve shared authority in Thai university governance, university charter and statue need to be revised. University administrators should have positive perspective in shared authority on campus. Faculty members should be concerned about self-discipline, responsibility and management skill. Finally, administrators and faculty members should have common concerns regarding faculty participation in university governance.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมในการบริหารมหาวิทยาลัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย : การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์en_US
dc.title.alternativeFaculty participation in Thai university governance : a historical studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_an_front.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_ch1.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_ch2.pdf26.11 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_ch3.pdf26.63 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_ch4.pdf30.45 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_ch5.pdf34.73 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_ch6.pdf18.99 MBAdobe PDFView/Open
Anong_an_back.pdf48.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.