Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34612
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชาญ อาภาสัตย์ | |
dc.contributor.advisor | พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป | |
dc.contributor.author | อลงกลด แทนออมทอง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-08-11T03:29:12Z | |
dc.date.available | 2013-08-11T03:29:12Z | |
dc.date.issued | 2535 | |
dc.identifier.isbn | 9745818208 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34612 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษาประสิทธิภาพการล้างเก็บตัวอ่อนจากกระบือตัวให้ โดยการกระตุ้นการตกไข่ด้วย pregnant mare serum gonadotrophin (PMSG) สำหรับการทดลองที่ 1, PMSG ร่วมกับ human chorionic gonadotrophin (HCG) สำหรับการทดลองที่ 2 และ PMSG ร่วมกับ anti pregnant mare serum gonadotrophin (Anti-PMSG) สำหรับการทดลองที่ 3 ใช้แม่กระบือที่ผ่านการให้ลูกมาแล้ว อายุ 5-9 ปี จำนวน 22 ตัว และพ่อกระบือที่ได้ทำการเบี่ยงเบนลึงค์ อายุ 7 ปี จำนวน 1 ตัว เพื่อใช้ในการตรวจสอบการเป็นสัดในกลุ่มตัวให้ ในกลุ่มตัวให้มีการกระตุ้นการตกไข่เพิ่มมากขึ้นโดยใช้ PMSG 2000 ถึง 3000 IU ต่อต่อ อีก 48 ชั่วโมงต่อมาทำการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วย prostaglandin F₂ alpha (PGF ₂ alpha) 2 cc. ภายใน 1-3 วัน ต่อมาตัวให้จะแสดงอาการเป็นสัด เริ่มผสมเทียมครั้งแรกหลัง standing heat 12 ชั่วโมง ผสม 3-4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 12 ชั่วโมง ในการผสมเทียมครั้งแรกแม่กระบือตัวให้จะถูกฉีด HCG 2500 IU ต่อตัว สำหรับการทดลองที่ 2 และ Anti-PMSG 5 มิลลิลิตร สำหรับการทดลองที่ 3 เพื่อช่วยให้มีการตกไข่ดีขึ้น 6.0-6.5 วันต่อมาหลังจาก standing heat ทำการล้างเก็บตัวอ่อน กระบือตัวให้ทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งกระตุ้นการตกไข่ด้วย PMSG, PMSG ร่วมกับ HCG และ PMSG ร่วมกับ Anti-PMSG ได้จำนวนตัวอ่อนทั้งหมด 4, 1 และ 0 ตัว เฉลี่ย 0.5 ± 1.07ม 0.12 ± 0.35 และ 0 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตัวอ่อนที่ล้างเก็บได้ 12.5, 4.76 และ 0% ตามลำดับ ระยะการเจริญของตัวอ่อนที่ล้างเก็บได้จากตัวให้ทั้ง 3 กลุ่ม อยู่ในระยะตรงตามอายุโดยอยู่ในระยะ compact morula 1 ตัว และ early blastocyst 4 ตัว ที่อายุ 6.0-6.5 วันหลังจาก standing heat ตัวอ่อนที่ล้างเก็บได้จากกระบือตัวให้ทั้ง 3 กลุ่ม จากการกระตุ้นการตกไข่ด้วย PMSG, PMSG ร่วมกับ HCG และ PMSG ร่วมกับ Anti-PMSG ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ (เกรด B) เท่ากับ 75, 100 และ 0% ตามลำดับ ตัวอ่อนที่มีคุณภาพพอใช้ได้ (เกรด C) เท่ากับ 25, 0 และ 0% ตามลำดับ | |
dc.description.abstractalternative | The efficiency of the embryo recovery by non-surgical method in swamp buffalo was studied. Three experiments were preformed, the recovery of embryo from the donor was carried out by superovulation with pregnant mare serum gonadotrophin (PMSG), PMSG and human chorionic gonadotrophin (HCG), and with PMSG and anti pregnant mare serum gonadotrophin (Anti-PMSG) for the first, second and third experiments respectively. Deviated penis bull was used for estrus detection of 22 donor cows aged 5-9 years old. Each buffalo was subjected to superovulation by using PMSG, 2000-3000 IU and PGF₂ alpha 15 mg. 48 hours later. Artificial insemination was done 12 hours after the standing heat, another 2 AI was carried out every 12 hours. For the first AI, animal will be given HCG 2500 IU (the second experiment) and Anti-PMSG 5 mg. (the third experiment). Embryo collection was performed on day 6.0-6.5 after standing heat. Three groups of the donor using PMSG, PMSG and HCG, and with PMSG and Anti-PMSG were able to obtain 4, 1 and 0 embryo, average 0.5 ± 1.07, 0.12 ±0.35 and 0 or 12.5%, 4.76% and 0% respectively. The period of the embryo development form three group of donor are l embryo in the compact morula and 4 embryos in the early blastocyst, 6.0-6.5 days after the standing heat. The embryo from the three experiments, using PMSG, PMSG and HCG and with PMSG and Anti-PMSG are in the good quality (grade B) ; 75%, 100% and 0% and in the fair quality (grade C) ; 25%, 0% and 0% respectively. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การเก็บตัวอ่อนโดยวิธีนิรศัลยกรรมในกระบือปลัก (Bubalus bubalis Linn.) | en_US |
dc.title.alternative | Non-Surgical embryo recovery in swamp buffalo (Bubalus bubalis Linn.) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พฤกษศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Alongkoad_ta_front.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_ch1.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_ch2.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_ch3.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_ch4.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_ch5.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_ch6.pdf | 460.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Alongkoad_ta_back.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.