Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34629
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขุมพันุธุ์ บริพัตร
dc.contributor.authorอ้อยทิพย์ วิสิทธวงค์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-11T12:20:53Z
dc.date.available2013-08-11T12:20:53Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745670553
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34629
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractความสำคัญของท้องทะเลในฐานะเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งประเภทอาหารและแร่ธาตุนานาชนิด เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ เกิดความสนใจในการกำหนดเขตแดนทางทะเลให้มีความชัดเจนและแน่นอนมากขึ้นเป็นลำดับ ดังที่เห็นได้จากวิวัฒนาการทางด้านกฎหมายทะเลที่มุ่งหวังจะให้เป็นแนวทางในการจัดระเบียบของการใช้ทะเลของโลก แต่เมื่อทุกประเทศต่างยอมรับถึงการมีผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลด้วยความปรารถนาที่จะครอบครองทะเลไว้ให้มากที่สุด จึงมัก่อให้เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลที่ทำให้กฎหมายทะเลไม่สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างครบถ้วนแท้จริง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับมาเลเซียในเชิงการเมือง เพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมสำคัญและเข้ามามีผลกระทบต่อการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์ตามข้อมูลที่รวบรวมจากเอกสาร หนังสือ ตลอดจนสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีปัจจัยสภาพแวดล้อมประการหนึ่งที่เป็นสาเหตุเบื้องต้นของความขัดแย้งเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับมาเลเซีย คือ สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศทั้งสองในลักษณะที่มีชายฝั่งทะเลประชัดติดกันในน่านน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นอาณาบริเวณของแหล่งสะสมทรัพยากรทางทะเลแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้ไทยกับมาเลเซียมีผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลจากสิ่งที่อยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันการมีความสัมพันธ์อันดีในระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย ซึ่งรวมถึงการเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน และสถานการณ์ทางการเมืองของภูมิภาคในส่วนที่เกี่ยวกับสถานการณ์ในอินโดจีน (ค.ศ. 1970-1979) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นภัยคุกคามร่วมกันของไทยกับมาเลเซีย ก็เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เข้ามาควบคุมความขัดแย้งนั้น และทำให้ปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับมาเลเซียปรากฏออกมาในลักษณะของการแปรเปลี่ยนสิ่งที่เป็นความขัดแย้งให้กลับกลายเป็นความร่วมมือเพื่อการแก้ไขปัญหาได้ด้วยการเจรจาทำความตกลงกันโดยสนติเสมอมา จนกระทั่งการพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเสร็จสิ้นลงไปด้วยการรอมชอมผ่อนปรนกันได้ในที่สุด
dc.description.abstractalternativeThe sea has become a very important supplier of resources, both food and mineral, and consequently countries around the world have increasingly paid attention to it and attempted to ensure that their maritime boundaries be clearly and comprehensively delimited and demarcated, as reflected in the evolution of the law of the sea, which is seen as a means of laying down order in the use of the sea. But as more countries begin to recognize and maximize their national maritime interests, conflicts inevitably arise over the question of delimitation and demarcation, which render ineffective the law of the sea as a mechanism of solving maritime problems. This thesis aims to study the maritime boundary problem between Thailand and Malaysia, which arose in the context of the aforementioned trends in “ocean politics”, by systematically identifying and analyzing the linkages between important environmental factors and the maritime boundary problem between the two neighbours. On the strength of evidence gathered from documents, agreements and various secondary sources, it is found that one set of environmental factors, namely geographical proximity and overlapping resource bases, was the cause of the conflict of interests between Thailand and Malaysia, but at the same time other environmental factors, namely good bilateral relations (including their memberships of the Association of Southeast Asian Nations or ASEAN) and the common threats arising from changes in Indochina between 1970 and 1979, made it possible for the two neighbours to control their conflict and to cooperate in the peaceful resolution of that conflict through negotiation and compromise.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับมาเลเซีย (คศ. 1970-1979) : วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐen_US
dc.title.alternativeThai-Malaysian maritime boundary issues (1970-1979) : an analysis of mipact of environmental factors on inter-state relationsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineความสัมพันธ์ระหว่างประเทศen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aoytip_wi_front.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Aoytip_wi_ch1.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open
Aoytip_wi_ch2.pdf10.21 MBAdobe PDFView/Open
Aoytip_wi_ch3.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open
Aoytip_wi_ch4.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Aoytip_wi_back.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.