Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34635
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประหยัด หงษ์ทองคำ
dc.contributor.authorอัคนีวุธ ศรีสวัสดิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-11T13:03:13Z
dc.date.available2013-08-11T13:03:13Z
dc.date.issued2535
dc.identifier.isbn9745822957
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34635
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่เป็นปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล โดยศึกษาเชิงเปรียบเทียบถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลที่ประธานกรรมการมาจากการเลือกตั้งและประธานกรรมการสุขาภิบาลที่มาจากการแต่งตั้ง อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามจากกลุ่มตัวย่างทั้ง 2 กลุ่ม ร้อยละ 91.27 ผลการวิจัยพบว่ามูลเหตุที่ประชาชนไม่ได้เข้ามีส่วนร่วมในการปกครองนั้น เนื่องมาจากความไม่รู้ไม่เข้าใจ และความไม่สนใจต่อกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเป็นประการสำคัญส่วนเรื่องรูปแบบนั้นมิใช่สาเหตุสำคัญแต่ประการใด การศึกษานี้สรุปได้ว่า 1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองการปกครองอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเฉพาะสิทธิหน้าที่การเป็นประชาชนในเขตสุขาภิบาลซึ่งทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันค่าไควแควร์เกินจากระดับ .05 2. ประชาชนให้ความสำคัญในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล เหตุผลที่ไปเลือกตั้งเพราะถือว่าเป็นหน้าที่และเห็นคุณค่าของการเลือกตั้ง โดยความเห็นของประชากรทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างของค่าไคสแควร์มีนัยสำคัญที่ .05 3. การบริหารงานสุขาภิบาลให้ไปสู่ความสำเร็จสมควรมีการพัฒนาทั้งรูปแบบและองค์กรให้เหมาะสม ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย โดยพบว่าทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันมีนัยสำคัญที่ .00 4. ความร่วมมือของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่มาจากการเลือกตั้งและกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่งนั้นประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าความร่วมมืออยู่ในระดับต่ำ ทำให้งานสุขาภิบาลขาดประสิทธิภาพ ปัญหาที่ต้องแก้ไขอยู่ที่การพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางด้านการเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนก่อน และหามาตรการทำให้ประชาชนสนใจ เลื่อมใส ศรัทธา ในกิจการสุขาภิบาลแล้วจึงพิจารณาแก้ไขรูปแบบให้สอดคล้องหรือเหมาะสมกับความต้องการของประชาชน
dc.description.abstractalternativeThis research focuses on the study of major factors which pose problems in people’s political participation in the administration of sanitary districts. A comparative study of people’s political participation is made on the models of elected sanitary committee chairmen and the appointed ones. The questionnaire response rate from both sample groups is 91.27%. The study has found that the lack of political participation in this kind of administration stemmed from ignorance, poor understanding and lack of interest by the people as the main contributing factors, while the from of administration has nothing to do the lack of political participation. It may be concluded that (1) people have low understanding and knowledge about politics and administration, especially in the exercise of their import rights in the administration of sanitary districts. The difference in Chi-square values derived from both sample groups is not over 0.05 (2) People give higher priority of exerxising their of voting in the election of members of parliament than in the election of the sanitary district councilors, as they are conscious of their important duty of voting in parliamentary election. The difference in opinion of both sample groups expressed a significant Chi-square value of about 0.05 (3) Most people agree that the success of the sanitation area administration depends on the proper development of from an organization. The Chi-square value derived from both groups are significantly different at 0.00 (4) Most people, agree that low cooperation either to appointed or elected sanitary district councilors obstructed against efficient sanitary district work. To overcome this problems, the people should be imparted with the knowledge of democracy and measures have to be found to draw their attention to the sanitary district activities and keep hope in them. Them it may be adjusted and modified into appropriate from to better serve the needs of the people.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองท้องถิ่นสุขาภิบาลen_US
dc.title.alternativePoliticipation in the Sanitary Districtsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akaneevut_si_front.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_ch1.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_ch2.pdf18.98 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_ch3.pdf13.85 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_ch4.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_ch5.pdf16.49 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_ch6.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open
Akaneevut_si_back.pdf18.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.