Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34753
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชติกา ภาษีผล-
dc.contributor.authorสุวิมล เสวกสุริยวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-08-13T06:38:59Z-
dc.date.available2013-08-13T06:38:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34753-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ และ (3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้งนี้ทั้งหมด 75 เล่ม เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยทั้ง 75 เล่มส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยระดับมหาบัณฑิต ส่วนมากเป็นงานวิจัยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืองานวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือการสร้างแบบสอบวินิจฉัย และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ระดับชั้นที่มีการสร้างแบบสอบวินิจฉัยมากที่สุด คือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื้อหาที่มีการสร้างแบบสอบวินิจฉัยมากที่สุดคือ เรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 2. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีเพียงบางประเด็นซึ่งมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับแบบสอบวินิจฉัยทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมีสัดส่วนเหมาะสม การกำหนดคะแนนจุดตัด การอภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ส่วนประเด็นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับแบบสอบมีความทันสมัย มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำผลการเปรียบเทียบคะแนนผลประเมินงานวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครกับ มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดพบว่า คะแนนประเมินคุณภาพโดยรวมใกล้เคียงกัน ส่วนช่วงปีที่ทำการวิจัยพบว่า ช่วงปี พ.ศ. 2530 -2536 ช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2529 ปี พ.ศ. 2537 – 2543 และช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2551 มีคะแนนประเมินคุณภาพโดยรวมใกล้เคียงกัน 3. ผลการสังเคราะห์ความรู้ พบว่าขั้นตอนการสร้างแบบสอบวินิจฉัยมีขั้นตอนดังนี้ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง 2.ศึกษาทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัย 3. วิเคราะห์เนื้อหาและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4.สร้างแบบสอบเพื่อสำรวจ 5. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ 6. ทดสอบเพื่อสำรวจจุดบกพร่องและรวบรวมคำตอบ 7. สร้างแบบสอบวินิจฉัย 8. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรง 9. ทดลองใช้แบบสอบ 10. วิเคราะห์ คัดเลือกและปรับปรุงข้อสอบ 11. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบและวิเคราะห์จุดบกพร่อง 12. จัดทำคู่มือการใช้แบบสอบวินิจฉัยและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม 4. ผลการสังเคราะห์เรื่องจุดบกพร่องที่พบจากงานวิจัยพบว่า นักเรียนมีจุดบกพร่องทั้ง 4 ช่วงชั้น โดยมีจุดบกพร่องดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 เรื่อง การบวก ลบ จำนวนซึ่งมีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 การบวก ลบ คูณ และหาร จำนวนนับ โจทย์ปัญหา และเศษส่วน ช่วงชั้นที่ 2 เรื่อง เศษส่วน โจทย์ปัญหา ทศนิยม บทประยุกต์ ทศนิยม สมการและการแก้สมการ และจำนวนนับ ช่วงชั้นที่ 3 เรื่อง สมการ ทศนิยม อัตราส่วนร้อยละ รูปเลขาคณิต 2 มิติ 3 มิติ จำนวนและการดำเนินการ สมบัติจำนวนนับ จำนวนเต็ม อัตราส่วน ร้อยละ สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ตัวประกอบพหุนาม เลขยกกำลัง โพลิโนเมียล อัตราส่วนตรีโกณมิติ ช่วงชั้นที่ 4 เรื่อง ฟังก์ชัน ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ภาคตัดกรวย จำนวนและการดำเนินการ สมการและอสมการ เอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม และอนุพันธ์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) analyzed features research that study about the construction of mathematics diagnostic tests 2) evaluated the quality of research about the construction of mathematics diagnostic tests and 3) synthesis of the knowledge from research about the construction of mathematics diagnostic tests. The 75 researches were led to the synthesis; all of these were published in 1980 – 2008. The research tools were research record feature and evaluation of research quality; analyzed by using descriptive statistics by using computer program SPSS for Windows The results of the research synthesis were as follows: 1. The 75 researches, mainly graduate researches and most of the researches in the Northeast its objective were the construction of diagnostic tests and inspection tools. Most of the diagnostic tests were in grade 9, contents within diagnostic tests mostly in linear equations and inequalities of one variable. 2. Evaluations of research quality showed that most of all were very good, there were some issues which quality were good e.g. documents and researches related to diagnostic tests in both Thai and foreign language were accounted properly, the cutting score, discussion of research results suggestion on the implementation of research results to used and recommendations for future research next time. Documents and researches related to test are up to date; quality remained relatively low. Comparison the scores of evaluating research between universities located in Bangkok with universities located in different provinces found that overall have similarly quality scores. By the way for the periods of research found that in the period of 1987 – 1993, 1980 – 1986, 1994 – 2000 and 2001 – 2008, overall had similarly quality scores. 3. Synthesis of knowledge found that the processes of constructing a diagnostic test were 1) the purpose of construction 2) studied theory and documents related to a diagnostic test 3) analyzed the content and purpose of the course 4) constructed a test to explore 5) expert review 6) tested to investigate the bug and collect the answers 7) constructed a diagnostic test 8) expert review validity 9) test the test 10) analyzed, selected and improved the test 11) analyzed quality of test and analyzed defects 12) prepared the manual of diagnostic tests and publish that. 4. The results on the synthesis of defects that found from the research found that students had defects all the fourth Keystage. Keystage one was plus, minus which the results and number standing on the top line are less than 100; plus, minus, multiply and divide counting number, problem and fraction. Keystage two was fraction, problem, and decimal, applied of decimal, equations and solving equations and counting number. Keystage three was equation, decimal, percent ratio, 2-D and 3-D geometry, number and operations, counting number properties, integer, ratio, percent, linear equations and inequalities of one variable, factor polynomials, logarithm, polynomials, trigonometric ratios Keystage four was function ,trigonometric functions, conic section, number and operations, equations and in equalities, exponentials and logarithm and derivatives.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1030-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแบบทดสอบวินิจฉัยen_US
dc.subjectวิจัยen_US
dc.subjectDiagnostic testen_US
dc.subjectResearchen_US
dc.titleการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์en_US
dc.title.alternativeA synthesis of research on the construction of mathematics diagnostic testsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1030-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwimon_sa.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.