Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34825
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธำรง เปรมปรีด์-
dc.contributor.authorอดิศักดิ์ สุริยวนากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-13T11:32:07Z-
dc.date.available2013-08-13T11:32:07Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745621099-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34825-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en_US
dc.description.abstractนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท สระบุรี-ลพบุรี ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 ซึ่งนับได้ว่าเป็นนิคมสร้างตนเองแห่งแรก และได้รับความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย ทำให้ฐานะของสมาชิกนิคมฯ มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็มีบางท้องที่ที่มีรายได้เฉลี่ยค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะปลูกขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและขาดปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ น้ำ ดังนั้นกรมประชาสงเคราะห์ได้ร่วมมือกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาหาแนวทางแก้ไข หลังจากการศึกษาได้เสนอให้มีการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นมาใช้ในเขตหมู่บ้านตัวอย่างหินซ้อน ซึ่งคาดว่ามีความเป็นไปได้ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นมาโดยทางท่อทั้งสูบขึ้นมาโดยตรง และสูบขึ้นมาใช้ร่วมกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเพื่อลดการขาดน้ำในฤดูแล้ง โดยแนวของท่อส่งน้ำพยายามวางให้มีผลกระทบต่อปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินน้อยที่สุด ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดแนวทางเผื่อเลือกไว้ 4 แนวทางดังนี้คือ แนวทางเผื่อเลือกที่ 1 เป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีความจุประมาณ 188,680 ลบ. เมตร แล้วมีเครื่องสูบน้ำอีกชุดสูบจ่ายไปยังพื้นที่เพาะปลูก แนวทางเผื่อเลือกที่ 2 เป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นมาใช้โดยตรง แนวทางเผื่อเลือกที่ 3 เป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นมาใช้ร่วมกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีความจุประมาณ 188,680 ลบ.เมตร เมื่อปริมาณน้ำที่สูบขึ้นมาเหลือเกินความต้องการก็จะปล่อยลงอ่างเก็บน้ำ แนวทางเผื่อเลือกที่ 4 เป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักขึ้นมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีความจุประมาณ 73,900 ลบ.เมตร จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าแนวทางเผื่อเลือกที่ 1 มีความเป็นไปได้มากกว่าแนวทางเผื่อเลือกอื่นๆ คือ มีค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุน เท่ากับ 1.33 ซึ่งอัตราส่วนสูงกว่า 1 ไม่มากนัก แต่หากมีการจัดแบ่งแปลงที่ดินให้เหมาะสมกับระบบชลประทาน และรวมเอาเนื้อที่ข้างเคียงตามแนวของท่อเข้ารวมด้วยจะมีความเป็นไปได้สูงกว่าการศึกษาครั้งนี้มาก ดังนั้นหากมีการศึกษาต่อจากการศึกษาครั้งนี้ควรมีการปรับปรุงแนวของท่อส่งน้ำ และแผนการปลูกพืชให้เหมาะสมขึ้นมากกว่าการศึกษาครั้งนี้-
dc.description.abstractalternativeThe first Land Settlement in Thailand started in 1940 is the Phraputthabat Saraburi-Lopburi Land Settlement. Cooperations had been received from many Departments. Though the average income of the settlers can be said to be in the middle level, however in some area that the average income is still in the low level. This is due to the fact that the growing of crops mainly depends on the climate condition and water supply, the important production factor. To solve this problem the Public Welfare Department and the Faculty of Engineering Chulalongkorn University made a study on the potential alternatives for development. The study had recommended that pumping water from Pasak river for irrigation in Hin Son Demonstration village will be with high possibility. In this study four pumping development scheme, each consisting of a pipe line network and a small reservoir are investigated as following. Alternative No 1 is by pumping water from Pasak river to a small reservoir which has a capacity of about 188,680 m³. Secondary pump set are provided for pumping water to the irrigated area. Alternative No 2 is by pumping water from Pasak river for direct use. Alternative No 3 is by pumping water from Pasak river to be used directly but with small reservoir having a capacity of 188,680 m³ provided. When the amount of pumped water is available than the required amount, the excess water can be stored in the reservoir. Alternative No 4 is by pumping water from Pask river to a smaller reservoir with a capacity of 73,900 m³. From this study, it is found that alternative 1 is the best having a benefit-cost ratio of about 1.33 which is slightly greater than unity. If the land is suitably subdivided for an irrigation-system to include the area along both sides of the pipe line, higher benefit-cost ratio will be possible. Further study upon the improvement of the proposed pipe network system and proper crop pattern are recommended.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาแหล่งน้ำ-
dc.subjectชลประทาน-
dc.subjectนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาทสระบุรี-ลพบุรี-
dc.subjectแม่น้ำป่าสัก-
dc.titleการศึกษาความเป็นไปได้ของการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสัก เพื่อใช้ในการชลประทานที่หมู่บ้านตัวอย่างหินซ้อน จังหวัดสระบุรีen_US
dc.title.alternativeFeasibility study of water pumping from Pasak River for irrigation in Hin son Demonstration Village at Saraburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adisak_su_front.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch1.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch2.pdf11.77 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch3.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch4.pdf8.89 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch5.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch6.pdf10.73 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_ch7.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_su_back.pdf41.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.