Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34833
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีระ จิรโสภณ
dc.contributor.authorพิมพ์พร ยิ่งยง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-13T12:19:38Z
dc.date.available2013-08-13T12:19:38Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.isbn9746357956
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34833
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณ ความถี่ ลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเพศและความรุนแรงของข่าวและภาพในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ข่าวสดในฐานะที่เป็นหนังสือพิมพ์แนวประชานิยมกับหนังสือพิมพ์มติชนในฐานที่เป็นหนังสือพิมพ์แนวคุณภาพ (2) ศึกษาเปรียบเทียบสำนวนภาษาที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเพศและความรุนแรงของหนังสือพิมพ์ข่าวสดกับมติชนและ (3) ศึกษานโยบายและแนวทางในการพิจารณาข่าวที่เกี่ยวกับเพศและความรุนแรงของหนังสือพิมพ์ข่าวสดกับมติชน ผลการวิจัยพบว่า ข่าวสดนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเพศมากกว่ามติชน ทั้งนี้ข่าวสดมีการเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับเพศเฉลี่ยเดือนละ 3 ชิ้น และเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศเป็นส่วนใหญ่ เช่น พฤติกรรมการข่มขืนทั่วๆ ไป ส่วนมติชนเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1 ชิ้นและนำเสนอข่าวเพศเกี่ยวกับพฤติกรรมการข่มขืนเด็กมากที่สุด สำหรับผลการวิจัยเกี่ยวกับเนื้อหาความรุนแรงนั้นพบว่า ข่าวสดได้นำเสนอเนื้อหาความรุนแรงมากกว่ามติชนเช่นเดียวกันกับเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ ทั้งนี้ข่าวสดนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรุนแรงเฉลี่ยประมาณเดือนละ 14 ชิ้น ส่วนมติชนนั้นมีการนำเสนอเฉลี่ยประมาณเดือนละ 6 ชิ้น และทั้งข่าวสดกับมติชนนั้นนำเสนอเนื้อหาความรุนแรงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทำร้ายร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยใช้อาวุธหรืออุปกรณ์ต่างๆ ประกอบมากที่สุด ส่วนการใช้ภาษาในข่าวเกี่ยวกับเพศและความรุนแรงนั้นพบว่า หนังสือพิมพ์ข่าวสดมีการใช้ภาษาที่หวือหวาและเร้าอารมณ์มากกว่ามติชน จากการสัมภาษณ์บรรณาธิการข่าวและหัวหน้าข่าวพบว่า หนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับมีกระบวนการคัดเลือกและนำเสนอข่าวที่คล้ายคลึงกันคือ จะให้ความสำคัญกับข่าวที่มีผลกระทบต่อคนในสังคม นอกจากนี้ยังคำนึงถึงนโยบายด้านศีลธรรมจรรยา เช่น การระบุรายละเอียดของผู้ตกเป็นข่าวไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เป็นต้น ส่วนนโยบายด้านกฎหมายนั้นจะคำนึงในเรื่องหมิ่นประมาทและการละเมิดโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเป็นสำคัญ
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study are as follows : (1) To compare the number of sex and violence news and photo on the front page of Kaosod, a popular newspaper, and Mathichon, a quality newspaper; (2) To compare the language used by Kaosod and Mathichon in reporting sex and violence news; and (3) To study the policy that Kaosod and Mathichon used in selecting and editing news about sex and violence. The study found that Kaosod gives greater coverage to sex on its front page than Mathichon, with a monthly average of 3 items compared to an average of one in Mathichon. Moreover, Kaosod focuses on sexual deviance such as rapes, while Mathichon places great emphasis on children sexual abuse. On violence, the study found that Kaosod also features more news on violence than Mathichon, with a monthly average of 14 items compared of 6 items in Mathichon, most of which are about beating-up using weapons or other implements. As for the language used in reporting sex and violence news, it was found that Kaosod trends to sensationalize the news reports to a greater extent than Mathichon. The interviews with the respective editor-in-chief and the news editor of Kaosod and Mathichon yielded the findings that both newspapers use similar criteria in selecting and editing news. Namely, they give first priority to news that has a great impact on society. In editing the news reports, they are concerned about disclosing the victims details i.e. names, address, etc. in accordance with moral standards. Legally, they try to avoid libel and invasion of other people’s privacy.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleข่าวและภาพเกี่ยวกับเพศและความรุนแรงในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวัน : วิเคราะห์เปรียบเทียบข่าวสดกับมติชนen_US
dc.title.alternativeA comparative analysis of news and photo coverage on sex and violence in front-page of Kaosod and Mathichonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการหนังสือพิมพ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimporn_yi_front.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open
Pimporn_yi_ch1.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Pimporn_yi_ch2.pdf19.95 MBAdobe PDFView/Open
Pimporn_yi_ch3.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open
Pimporn_yi_ch4.pdf42.05 MBAdobe PDFView/Open
Pimporn_yi_ch5.pdf18.58 MBAdobe PDFView/Open
Pimporn_yi_back.pdf8.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.