Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34987
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประภาวดี สืบสนธิ์
dc.contributor.authorพิมพา อินแบน
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-14T04:20:33Z
dc.date.available2013-08-14T04:20:33Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745643858
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34987
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของนักศึกษาในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ และศึกษาถึงสาเหตุของความล้มเหลว ตลอดจนการจัดและการดำเนินงานบริการหนังสือของหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดสมมุติฐานไว้ดังนี้ คือ 1. ความสำเร็จและความล้มเหลวในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ เป็นผลกันเกิดจากการจัดและการดำเนินงานบริการหนังสือของห้องสมุด 2. ผู้ใช้สามารถค้นพบหนังสือที่ต้องการ ถ้ารู้วิธีใช้ห้องสมุด 3. ความสำเร็จและความล้มเหลวในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ มีสาเหตุจากตัวผู้ใช้ (ได้แก่ การรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และการใช้เครื่องมือช่วยค้น) ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สอบถามนักศึกษาที่เข้ามาค้นหาหนังสือที่ต้องการในห้องอ่านหนังสือภาษาไทย และห้องอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ในระยะที่มีการใช้สูงสุด คือในเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม ของภาคต้นปีการศึกษา 2526 โดยสุ่มเวลาส่งแบบสอบถามในช่วงเช้าและช่วงบ่าย ช่วงละ 1 ชั่วโมง ในเวลาราชการของวันที่เปิดให้บริการปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 398 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 4 และปีที่ 3 ตามลำดับ และเป็นนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ร้อยละ 66.6) มากกว่าสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ใช้ทุกชั้นปีส่วนใหญ่มีความต้องการใช้หนังสือระหว่าง 1-3 เล่ม โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องการใช้หนังสือภาษาไทยมากกว่าหนังสือภาษาอังกฤษ ผู้ใช้ร้อยละ 90.2 ประสบความสำเร็จในการค้นพบหนังสือที่ต้องการ ซึ่งเป็นเพียงอัตราความสำเร็จรวมที่พิจารณาจากจำนวนผู้ใช้เท่านั้น ส่วนการวิเคราะห์อัตราความสำเร็จของผู้ใช้โดยการหาค่าร้อยละระหว่างจำนวนหนังสือที่ต้องการค้นหาต่อจำนวนหนังสือที่สามารถค้นพบ (1108 เล่ม/792 เล่ม) ปรากฏว่าอัตราความสำเร็จรวม คือร้อยละ 71.5 ซึ่งเป็นอัตราที่แสดงให้เห็นความสำเร็จของการค้นพบหนังสือโดยประมาณ ไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงอัตราความสำเร็จของผู้ใช้แต่ละคน ดังนั้นจากการคำนวณอัตราความสำเร็จของผู้ใช้แต่ละคนแล้วนำมาคำนวณหาอัตราความสำเร็จเฉลี่ยของผู้ใช้ทั้งหมด ปรากฏว่าเป็น ร้อยละ 72.7 ซึ่งสูงกว่าอัตราความสำเร็จรวม (ร้อยละ 71.5) เพียงเล็กน้อย แต่ลดลงจากอัตราผู้ใช้ที่ประสบความสำเร็จในการค้นพบหนังสือที่ต้องการ (ร้อยละ 90.2) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบบางคนอาจพบหนังสือที่ต้องการค้นทุกรายการ ในขณะที่ผู้ตอบบางคนอาจพบหนังสือที่ต้องการค้นเพียงบางรายการเท่านั้น โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และปีที่ 4 สามารถค้นพบหนังสือที่ต้องการได้ในอัตราร้อยละ 78.1 และ 74.3 ในขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 3 ค้นพบหนังสือที่ต้องการได้ในอัตราร้อยละ 67.8 และ 66.7 ตามลำดับ สำหรับสภาพที่ผู้ใช้ค้นพบหนังสือนั้น ร้อยละ 40.7 ของหนังสือที่พบจัดเรียงอยู่บนชั้นอย่างถูกต้อง แสดงว่าผู้ใช้พบหนังสือในที่ที่หนังสือนั้นควรอยู่น้อยกว่าครึ่ง รองลงมาพบว่าเรียงอยู่บนชั้นแต่ผิดที่ วางอยู่บนโต๊ะ บนรถเข็น อยู่ที่หนังสือสำรอง อยู่ในบริเวณถ่ายเอกสาร ส่วนวัตถุประสงค์ในการใช้หนังสือที่ค้นพบนั้น ส่วนใหญ่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ต้องการใช้ประกอบการเรียนมากที่สุด ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต้องการใช้หนังสือเพื่อทำรายงาน และค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน สำหรับความต้องการใช้หนังสือที่ค้นพบนั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่ทุกชั้นปี ต้องการยืมไปใช้นอกห้องสมุด สาเหตุของความล้มเหลวในการค้นหาหนังสือที่ต้องการของผู้ใช้ จำนวน 316 เล่ม นั้น ปรากฏว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการปฏิบัติงานของห้องสมุดมากกว่าเกิดจากตัวผู้ใช้ (ร้อยละ 65.0/35.0) สาเหตุสำคัญอันเกิดจากการปฏิบัติงานของห้องสมุดได้แก่หนังสือถูกยืมออกไปใช้นอกห้องสมุด (ร้อยละ 19.0) รองลงมาคือไม่มีหนังสือในห้องสมุด วางเรียงบนชั้นผิดที่ หนังสือหาย หนังสือวางอยู่บนโต๊ะ วางอยู่บนรถเข็น และอยู่ที่แผนกซ่อม ส่วนสาเหตุที่เกิดจากตัวผู้ใช้นั้น สาเหตุสำคัญได้แก่ผู้ใช้จดบรรณานุกรมผิดพลาดและไม่สมบูรณ์ (ร้อยละ 26.0) รองลงมาคือผู้ใช้จดเลขเรียกหนังสือผิดและไม่สมบูรณ์ ผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้น ในขณะที่อุปสรรคที่สอบถามจากผู้ใช้นั้น ส่วนใหญ่เนื่องจากหนังสือบนชั้นจัดเรียงแน่นเกินไป และป้ายบอกหมวดหมู่หนังสือบนชั้นไม่ตรงกับตัวเล่ม ในการแก้ปัญหาเมื่อค้นไม่พบหนังสือที่ต้องการ คือ ผู้ใช้นิยมค้นหาหนังสือเล่มอื่นที่สามารถใช้แทนเล่มที่ต้องการได้ แต่ปรากฏว่าสามารถหาหนังสืออื่นแทนได้ต่ำกว่าครึ่ง วิธีการที่ผู้ใช้นิยมใช้มากที่สุดคือ ค้นหาหนังสือที่ต้องการโดยใช้บัตรรายการ ส่วนใหญ่จากบัตรชื่อเรื่อง สำหรับสาเหตุที่ผู้ใช้ไม่นิยมใช้บัตรรายการนั้นเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีใช้บัตรรายการ ซึ่งได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด (ร้อยละ 72.3) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เป็นกลุ่มที่มีอัตราความสำเร็จต่ำกว่าร้อยละ 50 การรู้วิธีใช้บัตรรายการและวิธีค้นหาหนังสือที่ต้องการของผู้ใช้นั้น สามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้ตามแหล่งของการเรียนรู้ได้ 3 กลุ่ม คือ ผู้ใช้กลุ่มที่ 1 เรียนรู้วิธีใช้บัตรรายการและวิธีค้นหาหนังสือที่ต้องการจากการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด กลุ่มที่ 2 เรียนรู้โดยอ่านจากคู่มือการใช้ห้องสมุด และได้รับคำแนะนำจากบรรณารักษ์ กลุ่มที่ 3 เรียนรู้โดยการถามจากเพื่อน เดินดูตามชั้น ตามโต๊ะภายในห้องสมุด ปรากฏว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ คือกลุ่มที่ 1 รองลงมาเป็นผู้ใช้กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 2 ตามลำดับ โดยผู้ใช้กลุ่มที่ 1 นั้นประสบความสำเร็จในการค้นพบหนังสือที่ต้องการในอัตราสูงที่สุด เมื่อผู้ใช้ประสบปัญหาในการใช้ห้องสมุด ผู้ใช้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.6) ไม่ต้องการขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ นอกจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งส่วนใหญ่ขอความช่วยเหลือและพอใจในผลของความช่วยเหลือที่ได้รับจากบรรณารักษ์ในบริการด้านต่างๆ ยกเว้นเฉพาะเรื่องการให้บรรณารักษ์ช่วยหาหนังสือบนชั้น ซึ่งประสบความสำเร็จเพียงร้อยละ 30.6 เท่านั้น สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ เป็นเพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่รู้วิธีใช้ห้องสมุดดีอยู่แล้ว รองลงมาเห็นว่าบรรณารักษ์มีงานยุ่งไม่อยากรบกวน ส่วนระเบียบการยืมของห้องสมุดนั้น ส่วนใหญ่เป็นที่พอใจของนักศึกษาทุกชั้นปี ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางให้ผู้บริหารห้องสมุดวางนโยบายแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ทั้งในด้านการจัดหาทรัพยากร การจัดหาครุภัณฑ์ เช่น ชั้นหนังสือ รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติงานให้บริการหนังสือ เช่นบริการให้ยืม การจัดเตรียมชั้นให้พร้อมในการให้บริการ โดยเฉพาะในด้านความถูกต้องของการจัดเรียงหนังสือบนชั้น สำหรับผู้ใช้นั้นควรมีการสอนวิชาวิธีการศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด เป็นวิชาบังคับพื้นฐาน ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของการศึกษาในปีต่อๆ ไป
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to investigate students’ success and failure in locating the desired books, the causes of such failure, as well as the library book service organized by the Central Library, Khon Kaen University. The set-up hypothesis in this study are as follows : 1. The success and failure in locating the desired books depend on the library operations 2. The users can find their desired books if they knew about the process of using library 3. The success and failure in locating the desired books depend on the users themselves (such as : rightly know how to use the library and the searching tools) The study was undertaken by distributing the questionnaires to the students who were looking for the books in both Thai and English reading rooms during the peak use-period in July and August of the first semester of the 1983 academic year. The data gathering procedure through the questionnaires was usually carried out at the time random of an hour in the morning and in the afternoon period during the official working days. The total amount of the completed questionnaires which are further used for the analysis is from 398 undergraduate students. The summarized findings are as follows : Most of the users, in other words, the respondents, are the first, the fourth, the second, and the third year students respectively. Most of them (66.6 percent) are studying in Science and Technology rather than being in the Humanities and Social Sciences areas. The number of books, of which all of them needed, range mostly from 1-3. Most of the first year students prefer to use Thai rather than English books. Of the total users, 90.2 percent are succeeded in locating the books they want. This rate of success is regarded from the total number of users. When the number of books wanted and the number of books located (1108 books/ 792 books) are taken into account, the success rate is low down to 71.5 percent. When the success rate is calculated per a user, the average success rate is 72.7 percent which is not much higher than the previous one. The average success rate of the books available and the average success rate of a user are obviously much lower than the success rate of the total users. This might be due to the fact that some users may be able to locate every book they need, while the others may partially be able to locate only some desired books. The success rate of the second and the fourth year students in locating books are 78.1 percent and 74.3 percent respectively, while the success rate of the first and the third year students are lower, of which only 67.8 percent and 66.7 percent are apparent respectively. Tracing the environment when the books are found by the users, 40.7 percent of the books available are located in their proper place. This shows that less than half of the books found are in their right place. Other places when the books are found are on the shelves but misplaced, on reserved, on the table and in the duplicate servicing areas. As for the purposes of the book-use, most of the first, the second, and the third year students attempt to find the books primarily for the supplement of their learning activity. Meanwhile, the fourth year students have the purposes of doing the report or project. For the books found, most of the users intend to borrow them for the external use. The main cause of book unavailability, or 65 percent, is due from the library operation, while 35 percent is caused by the users themselves. The most predominant reason for the book unavailability is that 19 percent of them are on circulation. Next, the books are not owned by the library, are misshelved, on the tables, or in other words, not ready for use on the shelves, on book trucks, or at the binding section. The causes of failure raised by the users are due to their incorrect or having incomplete bibliography (26 percent). Next are the wrong or incomplete call number and lack of their understanding of the book arrangement on the shelves. However, the users tend to think that their failure is caused by books are too packed on the shelves and the call number signs on the shelf are of difference from the books on that shelf. In solving the problems when the desired books are not available, the users prefer to find the substitute. Unfortunately, less than half of the desired books can be substituted. Generally, the users locate their books by using the card catalogs, of which the title card is preferable. The reason why some users especially most of the first year students, do not prefer to use the card catalog is of the shortage of know-how. Therefore, that is the reason why the first year student’s success rate in locating books is lower than 50 percent. The users who know how to use the card catalog and how to locate the books can be put into three catagories. The first one are those who have taken the course in using the library. The second one are the ones who read from the library handbooks and inquire information from the libraries. The last one are those who get information from their friends and walk around to look for the books they want on the shelves or on the tables. Most of the users are found falling in the first catagory, respectively followed by the third and the second ones. Taking each group characteristics into consideration, it is found that the success rate of finding the books wanted of the first group appear to be higher than the rest. When the users encounter the problems in finding books and using the library, 72.6 percent of them do not prefer to ask for help from the librarians, except the first year students, whom are satisfied with most of the assistance, besides that of locating books on the shelf, of which only 30.6 percent are successful. The users unlikely ask for assistance from the librarians. The most important reason is expressed that they already know how to use the library. Secondly, they feel unhappy to disturb the busy-looked librarians. The circulation rules are found satistied by most of the users. The findings from this study can serve as the guidelines for the library administrators in planning the library service policy, as well as improving the library practice in order that the library operation can be effectively performed to meet the users’ need, in terms of book acquisition, book development, library facilities and equipment provision, along with book service operation, for examples: circulation service proper and accurate shelf arrangement. For the library users, the fundamental course in Library and Information Searching Method should be offered for their own benefit in doing the search for report or project in their further studies.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleความสำเร็จและความล้มเหลวในการค้นหาหนังสือ ของนักศึกษาในหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่นen_US
dc.title.alternativeStudents' success and failure in locating books in the Central Library, Khon Kaen Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpa_in_front.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open
Pimpa_in_ch1.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Pimpa_in_ch2.pdf20.07 MBAdobe PDFView/Open
Pimpa_in_ch3.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open
Pimpa_in_ch4.pdf25.12 MBAdobe PDFView/Open
Pimpa_in_ch5.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open
Pimpa_in_back.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.