Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35280
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณศิลป์ พีรพันธุ์
dc.contributor.advisorชัยศักดิ์ สุวรรณศิริกุล
dc.contributor.authorเมษยา ชนะวรรณ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-14T12:02:23Z
dc.date.available2013-08-14T12:02:23Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745831654
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35280
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบถึงรูปแบบการเดินทาง สภาพปัญหา และความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเสนอแนวทางจัดการขนส่งทางรถไฟเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และเสนอแนวทางในการประสานการขนส่งทางรถไฟกับการขนส่งในรูปแบบอื่น ผลการวิจัยพบว่าผู้โดยสารรถไฟส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเดินทางจากบ้านไปทำงานและจากที่ทำงานเพื่อกลับบ้าน รองลงมาได้แก่นักเรียน นักศึกษาที่เดินทางจากบ้านไปโรงเรียนหรือสถานศึกษา และจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อกลับบ้าน สถานีที่ผู้โดยสารขึ้นลงมากได้แก่ สถานีที่อยู่ในบริเวณที่พักอาศัย หรือใกล้สถานที่ราชการและสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งผู้โดยสารรถไฟออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ไม่ต้องใช้พาหนะอื่นร่วมกับรถไฟ และกลุ่มที่ต้องใช้พาหนะอื่นร่วมกับรถไฟ โดยพาหนะอื่นที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่ใช้คือรถประจำทาง ผู้โดยสารที่เดินทางมายังสถานีรถไฟ หรือลงจากรถไฟจะอยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตรเป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนที่เดินทางอยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตรถึง 10 กิโลเมตร ส่วนผู้โดยสารที่เดินทางในรัศมีเกินกว่านี้มีจำนวนน้อย สถานีหลักที่ผู้โดยสารใช้บริการมาก โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วนจะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สายเหนือจะอยู่ในช่วงสถานีหัวลำโพงถึงสถานีดอนเมือง สายตะวันออกอยู่ในช่วงสถานีหัวลำโพงถึงสถานีหัวหมาก และสายใต้จากสถานีธนบุรีถึงสถานีศาลาธรรมสพน์ ถึงแม้ว่าการขนส่งทางรถไฟจะมีประชาชนให้บริการเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่การให้บริการของรถไฟยังคงมีข้อจำกัดอยู่ในด้านการให้บริการ และในด้านความจุของทางที่ไม่สามารถขยายต่อไปได้ อีกทั้งผลกระทบของจุดตัดระหว่างรถไฟกับถนน แต่รถไฟก็ยังเป็นการขนส่งมวลชนประเภทหนึ่งที่มีข้อได้เปรียบหลายประการในการนำมาขนส่งผู้โดยสาร จึงควรมีการส่งเสริมการใช้รถไฟในการเดินทางระหว่างบริเวณที่พักอาศัย สถานที่ราชการ และสถาบันการศึกษาที่อยู่ในแนวเส้นทางการให้บริการของรถไฟชานเมือง และวางแนวทางในการจัดการระบบขนส่งทางรถไฟให้ประสานกับการขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ตลอดจนขยายการให้การบริการในเขตเมืองให้เพียงพอกับความต้องการ เพื่อให้การขนส่งทางรถไฟมีบทบาทที่สำคัญต่อการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่องต่อไป
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are : to identify the trip patterns, problems and needs of train commuters in Bangkok and related areas, to recommend management strategies for train transportation to fulfill commuters’ needs, and to recommend integration strategies for the train and other modes of transportation. It is found that the majority of commuters are government and state enterprise officials who travel from home to work place and from work place back home, following by students who travel from home to school and from school back home. Crowded stations are located in residential areas and near govern offices or educational institutes. The passengers can be devided into 2 groups : those who travel only train and those who use other modes of transportation in accordance with train. Most passengers live or work within 1 kilometer from the station. Some of the live or work within 1-10 kilometers from the station. Only few passengers live or work farther than 10 kilometers from the station. Major stations, especially the one people use most in rush hours are within Bangkok : between Hua Lamphong and Don Muang for the northern line, between Hua Lamphong and Hua Mark for the eastern line, and between Thon Buri and Sala Thamasop for the southern line. Although train transportation is quite popular among a number of people, it service and capacity are still limited. Problems also exist at the areas where railways and roads cut across each other. However, the train is still a mode of mass transportation that has several advantages for transporting people. It is recommend that the use of train be promoted for the transportation between residential areas, government offices and educational institutes where the service is available. Integration between train and other modes of public transportation should be undertaken. The service in urban areas should also be expanded to fulfill public needs to increase the role of train transportation in Bangkok and related areas.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเดินทาง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectผู้โดยสารรถไฟ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการขนส่ง -- แง่สิ่งแวดล้อม
dc.subjectรถไฟชานเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.titleการศึกษารูปแบบการเดินทางประจำวันของผู้โดยสารรถไฟ ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่องen_US
dc.title.alternativeA study of trip patterns of train commuters in Bangkok and related areasen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maysaya_ch_front.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch1.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch2.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch3.pdf11.62 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch4.pdf20.32 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch5.pdf10.39 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch6.pdf13.84 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_ch7.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Maysaya_ch_back.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.