Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35370
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพร ภู่ประเสริฐ-
dc.contributor.advisorวิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี-
dc.contributor.authorวนิดา ห่อคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-08-16T02:59:54Z-
dc.date.available2013-08-16T02:59:54Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35370-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractศึกษาการกำจัดไนเทรตในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยกระบวนการดีไนทริฟิเคชัน โดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางที่ผลิตจากเศษยางรถยนต์ใช้แล้วเป็นวัสดุตัวกลาง โดยแปรค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตในน้ำเสียเข้าระบบแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 2:1 5:1 10:1และ 15:1 ในถังปฏิกรณ์ 4 ถัง ด้วยการควบคุมความเข้มข้นไนเทรตและระยะเวลากักน้ำคงที่เท่ากับ 100 มก./ล. และ 8 ชม. ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพการกำจัดไนเทรตเฉลี่ย 95% 96% 96% และ 96% ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ย 78% 78% 73% และ 75% ตามลำดับ โดยอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรต 2:1 เป็นค่าอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการกำจัดไนเทรตด้วยระบบฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลาง เนื่องจากใช้สารอินทรีย์ในปริมาณต่ำสุด แต่กำจัดไนเทรตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าใกล้เคียงกับอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตอื่นๆ ส่วนการศึกษาความหลากหลายของประชากรจุลินทรีย์ด้วยเทคนิค PCR-DGGE พบว่าระบบมีจุลินทรีย์กลุ่มดีไนทริฟายเออร์ ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ที่พบว่าความหลากหลายของจุลินทรีย์ในระบบจะเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรต และทุกการแปรค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อไนเทรตจุลินทรีย์กลุ่มดีไนทริฟายเออร์ สามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี จึงเป็นการยืนยันว่าเม็ดยางที่ผลิตจากเศษยางรถยนต์ที่ใช้แล้วสามารถใช้เป็นวัสดุตัวกลาง ในถังปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดเพื่อกำจัดไนเทรตและสารอินทรีย์ได้เป็นอย่างดีen_US
dc.description.abstractalternativeTo investigate the nitrate removal by denitrification process in fluidized bed reactors using rubber granule as a media. Four COD : NO₃⁻ ratio as 2:1 5:1 10:1 and 15:1 were varied in 4 reactors. The concentration of nitrate as 100 mg/l and hydraulic retention time of 8 hr. was controlled throughout the experiment. The result revealed that the nitrate removal efficiency was obtained about 95 96 96 and 96 %, respectively while the COD removal efficiency was achieved as 78 78 73 and 75 %, respectively. In this system, the COD:NO₃⁻ ratio as 2:1 was chosen for nitrate removal since it uses the lowest amount of organic substance. Whereas the nitrate removal efficiency was nearly the same as other COD:NO₃⁻ ratios. The microbial community analysis by PCR-DGGE technique and results from Scanning Electron Microscope (SEM) were clearly revealed that denitrifier were the major population in all fluidized bed reactors performed. Moreover, the variety species of denitrifier were increased when COD:NO₃⁻ ratio are increased. From this research, the results clearly indicated that the rubber granule, the media derived from waste-tires, can use as a media in fluidized bed reactor very well.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.580-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจนen_US
dc.subjectดีไนตริฟิเคชันen_US
dc.subjectเครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์en_US
dc.subjectรถยนต์ -- ยางen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Nitrogen removalen_US
dc.subjectDenitrificationen_US
dc.subjectFluidized reactorsen_US
dc.subjectAutomobiles -- Tiresen_US
dc.titleการกำจัดไนเทรตด้วยกระบวนการดีไนทริฟิเคชันในถังปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดที่ใช้เม็ดยางเป็นวัสดุตัวกลางen_US
dc.title.alternativeNitrate removal by denitrification process in fluidized bed reactor using rubber granule as a mediaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaiyaporn.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorWiboonluk.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.580-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wanida_ho.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.