Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35693
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ
dc.contributor.authorจอย ทองกล่อมสี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2013-08-26T08:35:01Z
dc.date.available2013-08-26T08:35:01Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35693
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทาง ลักษณะ ขอบข่าย และพัฒนา ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล ดำเนินการวิจัย 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี สัมภาษณ์ และจัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อกำหนดกรอบแนวทาง ลักษณะ และขอบข่าย ระยะที่ 2 พัฒนาตัวบ่งชี้ ด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ สถาบันอุดมศึกษา 23 แห่ง คณาจารย์ และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา 322 คน ใช้แบบวิเคราะห์เอกสารเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพแบบอุปนัย และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ชุมชน, พันธกิจ, สังคม และธรรมาภิบาล ลักษณะและขอบข่ายตัวบ่งชี้ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ Input – Process – Output, วัตถุประสงค์การก่อตั้งสถาบัน, พันธกิจ และความต้องการของสังคม ตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 63 ตัวบ่งชี้ เรียงลำดับค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1)การดูแลแก้ปัญหาชุมชนและสังคม 6 ตัวบ่งชี้ 2) การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม 7 ตัวบ่งชี้ 3) การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม 6 ตัวบ่งชี้ 4) การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาสังคม 9 ตัวบ่งชี้ 5)การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 13 ตัวบ่งชี้ 6)การบริหารแบบมีส่วนร่วม 10 ตัวบ่งชี้ และ 7)จริยธรรมทางวิชาการ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ โดยสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำตัวบ่งชี้ ที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ให้หมาะสมกับอัตลักษณ์ของแต่ละสถาบัน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษา พัฒนาร่างยุทธศาสตร์การดำเนินการบนพื้นฐาน 7 องค์ประกอบ 63 ตัวบ่งชี้ กำหนดค่าน้ำหนักตามความเหมาะสม ตรวจติดตามภายใน และจัดทำรายงานการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบัน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to examine methods, characteristics, scope and development of university social responsibility indicators based on the principles of good governance. The research was conducted in two phases. Phase 1 is the studying of concepts, theories, interviews and small group meetings to determine the methods, characteristics and scope. Phase 2 is the development of indicators by using descriptive statistical data analysis. The samples are 23 of universities; 322 of academic and general staff of universities. The documents were analyzed using qualitative data analysis in an inductive approach and using software for exploratory factor analysis. The results show that: The method of university social responsibility based on the principles of good governance consists of 4 aspects which are community, mission, social and good governance. Characteristics and scope of indicators composes of 4 aspects which are Input-Process-Output, the purpose of institution establishment, mission and social needs. The university social responsibility indicators consist of 7 factors 63 indicators sorted from most to least weight as follows: 1) resolve community and social concerns 6 indicators 2) research for community and social development 7 indicators 3) innovation usage for community and social development 6 indicators 4) environmental management for social development 9 indicators 5) the promotion of art and culture 13 indicators 6) participative administration 10 indicators and 7) educational morality 12 indicators. The university can apply the developed indicators for policy and practice planning that is suitable to the identity of each institute by establishing the committee of the university social responsibility; developing a strategy based on 7 factors 63 indicators; determining the weight as appropriate; internal auditing; and reporting the performance of the university social responsibility for the sustainable development.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.4-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษาen_US
dc.subjectธรรมรัฐen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectSocial responsibility of businessen_US
dc.subjectUniversities and collegesen_US
dc.subjectGood governanceen_US
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาลen_US
dc.title.alternativeDevelopment of university social responsibility indicators based on the principles of good governanceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPansak.P@chula.ac.th
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.4-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
joy_th.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.