Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35754
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยพงษ์ สุเมตติกุล | - |
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.author | ศรินทร์รัศม์ เสริฐปัญญา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-08-30T04:23:18Z | - |
dc.date.available | 2013-08-30T04:23:18Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35754 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคของการบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ของการบริหาร ฯ และเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารฯ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากลจำนวน ๒๔๘ โรงเรียนทั่วประเทศและผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำ จำนวน 5 แห่ง และผู้บริหารสมาคมจดทะเบียนไทย 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดทำกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis และการวิเคราะห์เนื้อหามีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1. ศึกษาสภาพและปัญหา ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรค ของการบริหารสถานศึกษา ฯ 2.วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารสถานศึกษาฯ 3. ร่างกลยุทธ์การบริหาร ฯ 4.ประเมินตรวจสอบ(ร่าง)กลยุทธ์ ฯ โดยการร่วมสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group) และ 5.ปรับปรุงและนำเสนอกลยุทธ์การบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาฯ ตามแนวคิดบรรษัทบริบาล ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวมสภาพของกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล CSR อยู่ในระดับน้อยมาก ปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ 1. ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ และผู้บริหารสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2. เพื่อสร้างชื่อเสียง สร้างภาพลักษณ์ 3. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 4. เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ 5. การหวังผลรางวัลด้านบรรษัทบริบาล ปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ 1. ผู้บริหารองค์กรธุรกิจและผู้บริหารสถานศึกษา ไม่มีวิสัยทัศน์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2.ขาดการประสานงานต่อเนื่อง 3. การวางนโยบายของสถานศึกษายังไม่ชัดเจน กลยุทธ์ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 13 กลยุทธ์รอง และ 95 วิธีการดำเนินงาน ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1.องค์ธุรกิจร่วมบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศ กลยุทธ์รอง คือ 1.องค์กรธุรกิจร่วมประเมินคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาแบบบูรณาการ 2.องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่มีเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศ 3.องค์กรธุรกิจร่วมระดมทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์หลักที่ 2 องค์กรธุรกิจร่วมสร้างเครือข่ายการบริหารงบประมาณเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา กลยุทธ์รอง คือ 1.องค์กรธุรกิจร่วมวางแผนระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2.องค์กรธุรกิจร่วมระดมทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน 3.องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาฐานข้อมูลและการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์หลักที่ 3.องค์กรธุรกิจร่วมบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตรและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล กลยุทธ์รอง คือ 1.องค์กรธุรกิจร่วมจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรของสถานศึกษาให้เป็นมาตรฐานสากล 2.องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาให้เป็นมาตรฐานสากล 3.องค์กรธุรกิจสร้างเครือข่ายการศึกษากับองค์กรอื่นๆ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการศึกษาให้เป็นมาตรฐานสากล 4.องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาโครงการรองรับการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่มาตรฐานสากล และกลยุทธ์หลักที่ 4 คือ องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์รอง คือ 1.องค์กรธุรกิจร่วมบริหารงบประมาณการพัฒนาครูมืออาชีพ 2.องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาโครงการครูมืออาชีพ และ 3.องค์กรธุรกิจร่วมส่งเสริมขวัญและกำลังใจการพัฒนาครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were as the following; to study the conditions and problems of the involvement of business organizations in basic education institution management based on Corporate Social Responsibility concept includingto study the supporting and impeding factors of the involvement of business organizations in basic education institution management and to study the Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats also to study the development of strategiesto enhance the involvement of business organizations in basic education institution management. Data collection methods were the questionnaires, the interview forms and the survey forms. The representative samples are 248 World Class Standards Lab School administrators across Thailand country,5 leading business organization administrators and 1 Thai Listed Companies Association administrator.Data was analyzed by descriptive statistics includes Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Thereafter SWOT analysis for strategies made draft strategies to enhance the involvement of business organizations in basic education institution management and including content analysis. The research procedure contained 5 phases: 1. To study conditions and problems, the supporting and impeding factors of business organizations involvement in basic education institution management 2. To study the Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats of business involvement to basic education institution management based on Corporate Social Responsibility concept 3.Preparing drafted strategies to enhance the involvement of business 4. Assessmentthe drafted strategies by the focus group discussion 5.Improving and presenting the strategies to enhance the involvement of business organizations in basic education institution management based on corporate social responsibility concept. By this research result, it was found out that, considering the general conditions were at the rate of very little. The general problems were at the rate of the least. The factors promoting include 1.Visions of the business organization administrators and Lab School to World Class Standard administrators were transformational leadership. 2. Promoting the name and brand image 3.The publicrelations of business organizations 4.Law and rules of the business organizations 5.The demand of getting CSR awards. The factors impeding include 1.Visions of the business organization administrators and Lab School to World Class Standards administrators weren’t transformational Leadership.2.The coordination between schools and business organizations didn’t have coordinators continually 3.The planning of school policy based on CSR was not clear. There were 4 major strategies, 13 minor strategies and 95 operating processes that were major strategies 1.Business involvement to academic administration toward excellence by 3 minor strategies 1.Business involvement to integrate school curriculum quality evaluation 2.Business involvement to school curriculum development toward excellence 3.Business involvement to mobilization resources for teaching and learning in line with the philosophy of sufficiency economy. Major strategy 2.Business involvement to creating budgeting management networking for increasing the educational opportunitiesby 3 minor strategies that were 1.Business involvement to mobilizing resources plan for educational quality development 2.Business involvements to mobilize students funding 3.Business involvements to database system and budgeting management effective. Major strategy 3. Business involvement to extra-curricular activities management and development of learning resources toward international standardsby 4 minor strategies that were 1.Businessinvolvement to extra-curricular activities toward international standards. 2.Business involvement to develop learning resources toward international standards, 3.Business involvement to creation networking with other organizations to develop education system toward international standards4.Business involvement to develop the support project management education towardinternational standardsand major strategy 4.Business involvement to continuous teachers professional development by 4 minor strategies that were 1.Business involvement to budgeting management for continuous teachers professional development 2.Business involvement to continuous teachers professional development project and 3.Businessinvolvement to promote the morale of professional teachers development. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.612 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงเรียน -- การบริหาร | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรมกับการศึกษา | en_US |
dc.subject | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ | en_US |
dc.subject | โครงการพัฒนาโรงเรียน | en_US |
dc.subject | School management and organization | en_US |
dc.subject | Business and education | en_US |
dc.subject | Social responsibility of business | en_US |
dc.subject | School improvement programs | en_US |
dc.title | การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล | en_US |
dc.title.alternative | Development of school management strategies to enhance the involvement of business organizations in basic education institution management based on Corporate Social Responsibility concept | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | pruet.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.612 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sarinrat_se.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.