Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35866
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัญชนา พานิชอัตรา | - |
dc.contributor.advisor | ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์ | - |
dc.contributor.author | กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-09-10T02:55:02Z | - |
dc.date.available | 2013-09-10T02:55:02Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35866 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของเนื้อเยื่อในของสุนัขต่อการตัดเนื้อเยื่อในบางส่วนแล้วปิดทับด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพกับโปรรูทเอ็มทีเอ โดยทำการตัดเนื้อเยื่อในบางส่วนในฟันกรามน้อยของสุนัข 4 ตัว จำนวน 35 ซี่ และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 ปิดด้วยโปรรูทเอ็มทีเอที่ผสมกับน้ำกลั่น (จำนวน 10 ซี่) กลุ่ม 2 ปิดด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่มีบิสมัตออกไซด์ ผสมกับแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 และเมททิลเซลลูโลสความเข้มข้นร้อยละ 1 (จำนวน 20 ซี่) รองพื้นด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ และบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิต โดยทั้งสองกลุ่มจะทดลองที่ 7 และ 70 วัน กลุ่ม 3 เป็นกลุ่มควบคุมบวก เนื้อเยื่อในที่ตัดถูกเปิดไว้เป็นเวลา 7 วัน (จำนวน 5 ซี่) ทำการถอนฟันภายใต้การดมยาสลบ แล้วนำฟันที่ได้ไปผ่านกระบวนการตรวจลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา เพื่อประเมินการอักเสบและการสร้างเนื้อเยื่อแข็งของเนื้อเยื่อใน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบครัสคัล-วอลลิส และไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้านการตอบสนองต่อการอักเสบและการหายระหว่างโปรรูทเอ็มทีเอและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ทั้งในระยะเวลา 7 วัน และ 70 วัน โดยกลุ่มทดลองทั้งสองไม่พบการอักเสบของเนื้อเยื่อใน นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างเนื้อเยื่อแข็งที่ต่อเนื่อง ด้วยลักษณะรูปร่างและความหนาที่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสอง อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกับกลุ่มควบคุมบวก ซึ่งพบการอักเสบในระดับปานกลางถึงรุนแรง จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ของประเทศไทยที่มีบิสมัตออกไซด์ผสมกับแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสเมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในสามารถคงความมีชีวิตของเนื้อเยื่อในได้ โดยปราศจากการอักเสบ ส่งเสริมให้เกิดการหายและกระบวนการซ่อมแซม นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อแข็งที่มีลักษณะไม่แตกต่างจากโปรรูทเอ็มทีเอ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to compare dog's pulp response to partial pulpotomy sealed with Improved white Portland cements and ProRoot MTA®. Partial pulpotomy was done in four dogs thirty-five premolars teeth and divided into three groups. Group 1 was capped with ProRoot ®MTA mixed with sterile water (n=10) Group 2 was capped with Portland cement with bismuth oxide mixed with 5% calcium chloride and 1% methyl cellulose (n=20). After pulp capping, teeth were based with glass ionomer cement and restored with resin composite. Both groups were done in seven and seventy days. Group 3 was positive control group, pulp exposure was open for seven days (n=5). Teeth were extracted under anesthesia and processed for histopathologic examination to evaluate inflammation and hard tissue formation of the pulp. Results were analyzed by Kruskal-wallis and Chi-square at 0.05 level of confidence. There is no statistically different between ProRoot ®MTA and Portland cement to pulp inflammation and healing in seven and seventy days. No inflammation was observed in both experimental groups. In addition, completed hard tissue formation were detected. The hard tissue morphology and thickness were also not different between both groups. However, significant difference was found between the experimental groups and positive control group which showed moderate to severe inflammations. From results of this study can concluded that Thai Portland cement with bismuth oxide mixed with calcium chloride and methyl cellulose, when used as pulp capping material, could retain pulp vitality without inflammation and also promote pulp healing and repaired process. Furthermore, it could induce hard tissue formation similar to ProRoot ®MTA. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1440 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ -- การใช้รักษา | en_US |
dc.subject | เนื้อเยื่อฟันอักเสบ -- การรักษา | en_US |
dc.subject | เนื้อเยื่อฟัน -- โรค | en_US |
dc.subject | Portland cement -- Therapeutic use | en_US |
dc.subject | Pulpitis -- Treatment | en_US |
dc.subject | Dental pulp -- Diseases | en_US |
dc.title | การตอบสนองของเนื้อเยื่อในของสุนัขเมื่อปิดทับด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ปรับปรุงคุณภาพแล้วเปรียบเทียบกับโปรรูทเอ็มทีเอ | en_US |
dc.title.alternative | Response of dog’s pulp tissue to improved white portland cements compared with Proroot® MTA | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาเอ็นโดดอนต์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | panchana@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1440 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kunlanun_du.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.