Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร-
dc.contributor.authorศันสนีย์ ชูโชติถาวร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.coverage.spatialคลองบางลำพู-
dc.date.accessioned2013-09-13T09:28:24Z-
dc.date.available2013-09-13T09:28:24Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35909-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractคลองบางลำพูเป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ซึ่งมีความสำคัญในฐานะคลองสายประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยถูกขุดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร จากเดิมที่คลองบางลำพูเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยริมคลองและเป็นทางสัญจรหลักของชาวรัตนโกสินทร์มาตั้งแต่ครั้งสถาปนากรุงฯ ในเวลาต่อมาการสัญจรหลักได้เปลี่ยนจากการสัญจรทางน้ำไปเป็นการสัญจรทางบก ทำให้เครือข่ายการสัญจรทางน้ำเดิมลดลงเพราะถูกถมไปทำถนน อีกทั้งคลองที่ยังคงอยู่ถึงปัจจุบันก็ไม่ได้ถูกใช้งานเช่นเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อพัฒนาการพื้นที่ริมน้ำคลองบางลำพูในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่ริมน้ำคลองบางลำพูมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ แต่ลักษณะพื้นที่ริมน้ำสาธารณะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกลับไม่สามารถชี้ชัดได้ว่ามีการวางแผนเพื่อการพัฒนาความเป็นพื้นที่ริมน้ำสาธารณะอเนกประสงค์ในรูปแบบที่สัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนกับลำคลองดังที่เห็นได้ในกรณีประเทศที่พัฒนาแล้ว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของพื้นที่ริมน้ำบริเวณคลองบางลำพูตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการจำแนกรูปแบบความสัมพันธ์ของพัฒนาการพื้นที่ริมน้ำกับองประกอบเมืองต่างๆ ได้แก่ การสัญจรทางบก การสัญจรทางน้ำ และที่ดิน โดยใช้การอ้างอิงลักษณะพื้นที่ในอดีตจากแผนที่เก่าและรูปถ่ายเก่าเพื่อสร้างแผนที่การสัญจรและรูปตัดของพื้นที่ริมน้ำบริเวณคลองบางลำพูในอดีตและใช้ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทางกายภาพและแผนที่เพื่อสร้างแผนที่การสัญจรและรูปตัดของพื้นที่ริมน้ำในปัจจุบัน จากนั้นทำการวิเคราะห์เพื่อจำแนกรูปแบบพื้นที่ริมน้ำออกเป็นรูปแบบต่างๆ โดยการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ และรูปแบบที่ได้ไปหาปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงระหว่างพื้นที่ริมน้ำในอดีตและพื้นที่ริมน้ำในปัจจุบัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของสัณฐานพื้นที่ริมน้ำบริเวณคลองบางลำพู จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ริมน้ำในอดีตมีทั้งหมด 8 รูปแบบ และพื้นที่ริมน้ำในปัจจุบันมีทั้งหมด 10 รูปแบบ โดยพื้นที่ริมน้ำในอดีตมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสู่พื้นที่ริมน้ำในปัจจุบัน 25 รูปแบบ และสามารถแบ่งช่วงเวลาพัฒนาการของพื้นที่ริมน้ำได้เป็น 4 ช่วง กล่าวคือช่วงที่ 1 ช่วงเวลาตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงช่วงก่อนจะมีการก่อสร้างตลิ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ช่วงที่ 2 ช่วงเวลาที่กรุงเทพฯเริ่มพัฒนาความเป็นมืองทำให้มีการสร้างตลิ่งเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะและการพาณิชย์มากขึ้น ช่วงที่ 3 ช่วงที่กรุงเทพฯมีลักษณะใกล้เคียงกับปัจจุบัน พื้นที่ตลิ่งริมน้ำถูกก่อสร้างให้คงทนถาวรโดยผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ เและช่วงที่ 4 เป็นช่วงหลังจากมีการสร้างตลิ่งริมน้ำถาวรที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันโดยราชการ ทั้งนี้กล่าวได้ว่า พื้นที่ริมน้ำที่เกิดขึ้นในปัจุบัน เป็นไปเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีพัฒนาการด้วยการวางแผนเพื่อใช้งานในลักษณะพื้นที่ริมน้ำสาธารณะอเนกประสงค์en_US
dc.description.abstractalternativeKlong Bang Lamphu (Bang Lamphu canal) is a part of Klong Rop Krung (the canal which runs through the central district of Bangkok), which was an important historic canal in the Rattanakosin era). Klong Bang Lamphu was dug during the establishment of Bangkok as the capital city. It was listed as a heritage site by the Fine Arts Department. Klong Bang Lamphu was a part of the Thai life along the river and an important transport route since Bangkok was established. After that, the main transport route changed from the river to the land. Therefore, the river networks were cut off and the land was filled in. At present, people do not travel through the canal anymore, which influenced the evolution of Klong Bang Lamphu. The public area around Klong Bang Lamphu has been exploited in many ways. However, unlike in some developed countries, the city planners lacked the ability to coordinate the public development of the land with the preservation of the canals. The thesis studied the evolution of the public area around Klong Bang Lamphu, past and present. It investigated the relationships between the evolution of the public area, land transport routes, river transport routes, and city planning. The researcher studied the use of land from old maps and photos to draw a route map and a cross sectional map of Klong Bang Lamphu in the past. Also, the researcher drew a route map and a cross sectional map of Klong Bang Lamphu at present. Then, the use of land around Klong Bang Lamphu was divided into several categories and each was given a symbol to mark on the map. The researcher found several factors which helped to determine the course of the evolution of the Klong Bang Lamphu area. The usage of the land around Klong Bang Lamphu in the past can be classified into eight types. However, at present, there are ten types of land use and there have been twenty-five transformations. The transformation can be divided into four periods. The first period was between the establishment of Rattanakosin Kingdom and the building of the river banks. The second period was from the forming of Bangkok to the rise of the use of river banks for public and economic development. The third period was during the early modern period of Bangkok when the river banks were reconstructed by the locals. The fourth period lasted during the building of the identical permanent river banks by the government. In sum, the area around Klong Bang Lamphu at present is used as public utility and has not been developed to be multi-purpose.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1488-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคลองบางลำพูen_US
dc.subjectชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectKlong Bang Lamphuen_US
dc.subjectWaterfronts -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectCity planning -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.titleการศึกษาสัณฐานกระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ริมน้ำ คลองบางลำพูen_US
dc.title.alternativeA morphological study of transformation process in the waterfront space along Klong Bang Lamphuen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorterdsak@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1488-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sansanee_ch.pdf13.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.