Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35970
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorธนะชัย ถาวรวัฒน์สกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-09-25T09:25:00Z-
dc.date.available2013-09-25T09:25:00Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35970-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของสารเคลือบกระจกกันความร้อนกับกระจกหลายชนิดและเปรียบเทียบสารเคลือบกระจกกันความร้อนกับฟิล์มติดกระจกกันความร้อน โดยศึกษาประสิทธิภาพของสารเคลือบกระจกกันความร้อนกับอาคารเดิมที่เปิดใช้งานแล้ว ที่ใช้กระจกในกรุงเทพมหานคร และอยู่ในกรอบของอาคารที่ใช้เครื่องปรับอากาศ โดยดูตัวแปรค่าสัมประสิทธ์การถ่ายเทความร้อน (U - Value) และค่าสัมประสิทธิ์การบังเงาของกระจก (Shading coefficient - SC) โดยการศึกษาวิจัยและจำลองผล กระจกทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ กระจกใส 3 มม. กระจกเขียว 6 มม. กระจกสะท้อนความร้อน 6 มม. กระจกอินซูเลทใส 6/12/6 และกระจกอินซูเลท Low-E 6/12/6 โดยจะทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระจก 3 กรณี ได้แก่ กระจกต้นแบบที่ไม่ได้เคลือบสาร กระจกติดแผ่นฟิล์ม และกระจกทาสารเคลือบกันความร้อน สรุปจำนวนของกระจกที่ใช้ในการทดลองมีทั้งหมด 15 แผ่น และอาคารอ้างอิง (Reference building) ได้แก่ บ้านพักอาศัย และอาคารสำนักงาน ที่มีพื้นที่หน้าต่างต่อพื้นที่ผนังอาคาร (Window to wall ratio – WWR) 4 รูปแบบ และการวางผังอาคารอีก 4 รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยส่วนแรก ทำการวัดและบันทึกค่าอุณหภูมิจากกล่องทดลอง เพื่อนำมาคำนวณในสมการคณิตศาสตร์ ให้ได้ค่าคุณสมบัติของกระจกที่มีการปรับปรุง ได้แก่ ค่าการถ่ายเทความร้อน (U - value) และสัมประสิทธิ์การบังแดด (SC) หลังจากนั้นแทนค่าตัวแปรดังกล่าว ในขั้นตอนวิจัยส่วนที่สอง ซึ่งจำลองการใช้งานกับอาคารอ้างอิง โดยผลที่ได้จากการจำลองอาคารนำมาเปรียบเทียบการใช้พลังงานในแต่ละกรณี เพื่อสร้างแนวทางการปรับปรุงอาคารให้สามารถ ลดการใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสมต่อการใช้พลังงานรวมภายในอาคาร โดยมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้วยการประเมินเชิงเศรษฐศาสตร์ ผลการจำลองอาคารบ้านพักอาศัย วิเคราะห์เชิงเทคนิคสรุปได้ว่า สารเคลือบกระจกกันความร้อนมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการใช้พลังงานรวมภายในอาคารได้ เมื่อมีการปรับปรุงด้วยการทาสารเคลือบกระจกกันความร้อน กับกระจกทุกประเภท แต่เมื่อวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ สรุปได้ว่า สารเคลือบกระจกกันความร้อนไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการปรับปรุงบ้านพักอาศํยสองชั้นกับกระจกทุกประเภท เนื่องจากไม่มีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ ในกรณีของอาคารสำนักงาน วิเคราะห์เชิงเทคนิคสรุปได้ว่า สารเคลือบกระจกกันความร้อนมีประสิทธิภาพในการช่วยลดการใช้พลังงานรวมภายในอาคารได้ เมื่อมีการปรับปรุงอาคารด้วยการทางสารเคลือบกระจกกันความร้อนกับกระจกทุกประเภทและอาคารทุกรูปแบบ แต่เมื่อวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์สรุปได้ว่า สารเคลือบกระจกกันความร้อนเหมาะสมกับอาคารสำนักงานที่มี WWR80% วางผังอาคารเอียง 45° และ 135° และเป็นอาคารที่ใช้กระจกอินซูเลท และกระจกอินซูเลท Low-Een_US
dc.description.abstractalternativeThis research studies the energy performance of thermal barrier coating on glass with various kinds of glass and compares with film coating on glass by studying the performance of thermal barrier coating on glass in pre-existing, glass-walled, air-conditioned buildings in Bangkok (the reference buildings). There were 2 variables - heat transfer coefficient (U-value) and shading coefficient (SC). The 5 types of glass used in the study and simulation were 3mm clear glass, 6mm green glass, 6mm heat reflective glass, 6mm/12mm/6mm insulated clear glass, 6mm/12mm/6mm insulated Low-E glass ; the 3 glass coating compared were glass without coating, glass with film and glass with barrier coatings. The amount of glass used in the experiments was 15 sheets. The reference buildings were residential and office buildings. The office buildings varied with 4 formats of window to wall ratio (WWR) and 4 layouts of the buildings. The first part of the research process was to measure and record the temperature of the experiment test box in order to calculate mathematical equations to get the optimal U-value and SC value to improve the glass quality. These results were then used in the second part and applied to the reference buildings. A feasibility study using economic analysis was also carried out in order to provide guidelines for reducing energy consumption in buildings. In the two-storey house simulation results, the technical analysis concluded that thermal barrier coating on glass is efficient for reduceing the electricity end use in buildings when the houses were rebuilt with the thermal barrier coating on glass with all types. However the economic analysis concluded that thermal barrier coating on glass isn’t suitable for two-storey houses with every kind of glass because it is not always cost-effective. In the case of office buildings, the technical analysis concluded that thermal barrier coating on glass is efficient for reduceing the total energy consumption in buildings when the building was renovated with the thermal barrier coating on glass with all types of glass and building formats. But the economic analysis concluded that thermal barrier coating on glass is suitable for office buildings with a WWR80% tilted 45° and 135° and using insulated clear glass and insulated Low-E glass.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1489-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการควบคุมอุณหภูมิen_US
dc.subjectเคลือบกันความร้อนen_US
dc.subjectอาคาร -- การอนุรักษ์พลังงานen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงานen_US
dc.subjectTemperature controlen_US
dc.subjectThermal barrier coatingsen_US
dc.subjectBuildings -- Energy conservationen_US
dc.subjectArchitecture and energy conservationen_US
dc.titleประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของสารเคลือบกระจกกันความร้อนของอาคารในเขตสภาพอากาศแบบร้อนชื้นen_US
dc.title.alternativeEnergy performance of thermal barrier coating on glass of building in hot-humid climatesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAtch.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1489-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanachai_th.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.