Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36039
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ อนันตชาติ-
dc.contributor.authorพิมพ์พิไล ไทพิทักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-09T02:35:02Z-
dc.date.available2013-10-09T02:35:02Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36039-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ 2×2×2 แฟคทอเรียล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลขององค์ประกอบต่างๆ ของบริบทรายการโทรทัศน์ต่อประสิทธิผลของโฆษณา ซึ่งประกอบด้วย (1) ความสอดคล้องระหว่างบริบทของรายการกับโฆษณาทางโทรทัศน์ (2) ระดับความเกี่ยวพันที่ผู้ชมมีต่อรายการ และ (3) อารมณ์ความรู้สึกที่สะท้อนออกมาจากรายการและโฆษณา โดยเก็บข้อมูลกับผู้เข้าร่วมการวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษา จำนวน 240 คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ผลที่ได้พบว่า สำหรับผลกระทบหลักนั้นมีเพียงองค์ประกอบทางด้านระดับความเกี่ยวพันที่แตกต่างกันเท่านั้น ที่ส่งผลต่อการระลึกและการจดจำตราสินค้าที่อยู่ในโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ในส่วนของผลกระทบร่วม เมื่อความสอดคล้องระหว่างบริบทของรายการกับโฆษณาทางโทรทัศน์ รวมเข้ากับระดับความเกี่ยวพันที่ผู้ชมมีต่อรายการแล้ว ทั้ง 2 ปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิผลของโฆษณาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หากแต่เมื่อความสอดคล้องระหว่างบริบทของรายการกับโฆษณาทางโทรทัศน์ รวมเข้ากับอารมณ์ความรู้สึกที่สะท้อนออกมาจากรายการและโฆษณาแล้ว ผลกลับพบว่า ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการระลึกประเภทสินค้าและตราสินค้าในโฆษณา และการจดจำตราสินค้าในโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งเมื่อระดับความเกี่ยวพันที่ผู้ชมมีต่อรายการรวมเข้ากับอารมณ์ความรู้สึกที่สะท้อนออกมาจากรายการและโฆษณา ผลพบว่า ทั้ง 2 ปัจจัยส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าในโฆษณา ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าและความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสำหรับผลกระทบร่วมของทั้ง 3 ปัจจัยนั้น พบว่า ได้ส่งผลกระทบร่วมกันต่อทัศนคติที่มีต่อชิ้นงานโฆษณา ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine the main and interaction effects of the elements of television program context on advertising effectiveness by using the 2×2×2 factorial experimental research design. The elements of television program context were: (1) degree of congruency between program context and advertising, (2) degree of program involvement, and (3) emotion. The study was conducted with 240 undergraduate students during February 2008. The finding showed that program involvement was the only factor mainly effecting on brand recall and recognition. For interaction effects, there was no interaction effect between degree of congruency and program involvement. Meanwhile, interaction effects between degree of congruency and emotion were found on product category recall, brand recall and recognition. Furthermore, the results indicated that degree of program involvement and emotion jointly had an effect on brand recognition, attitude towards the brand, and purchase intention. Finally, there were interaction effects among the three factors on attitude towards the advertisement, attitude towards the brand, and purchase intention.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.407-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโฆษณา -- รายการโทรทัศน์en_US
dc.subjectโฆษณาทางโทรทัศน์en_US
dc.subjectรายการโทรทัศน์en_US
dc.subjectAdvertising -- Television programsen_US
dc.subjectTelevision advertisingen_US
dc.subjectTelevision programsen_US
dc.titleผลของบริบทรายการโทรทัศน์ต่อประสิทธิผลของโฆษณาen_US
dc.title.alternativeEffects of television program contexts on advertising effectivenessen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการโฆษณาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSaravudh.A@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.407-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pimpilai_th.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.