Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36112
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติวรรณ อมาตยกุล-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorโยธิน มานะบุญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-11T03:30:16Z-
dc.date.available2013-10-11T03:30:16Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36112-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. วิเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการในบริบทไทย 2. พัฒนารูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ 3. นำเสนอยุทธศาสตร์การส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ งานวิจัยนี้เป็นการทำในวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยกรณีศึกษา 3 บริษัท โดยใช้เกณฑ์การเลือกจากผลการคัดเลือกผู้ประกอบการที่ที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ได้รับการยอมรับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในกำกับของกระทรวงวัฒนธรรม กรมโรงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิจัยใช้วิธีเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยได้สังเคราะห์รูปแบบและยุทธศาสตร์การส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ และได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้ประกอบการจากพหุกรณีศึกษา เป็นรูปแบบที่ มีลักษณะความเป็นระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำ สาระสำคัญได้แก่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความอยู่รอดขององค์กร คำสอนทางพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรม ความเชื่อ ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาองค์กรจากรัฐบาล หนี้สินจำนวนมหาศาล รูปแบบการบริหารอันเป็นลักษณะเฉพาะ อิทธิพลจากผู้ที่เคารพและศรัทธา ภูมิหลังความทุกข์ยากของชีวิต ประสบการณ์ชีวิต คำสอนตามปรัชญาจีน อุดมการณ์ทางสังคมและการเมือง และประสบการณ์การศึกษาในต่างประเทศ กระบวนการ สาระสำคัญได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน การพัฒนาความรู้ของพนักงาน และการแก้ไขปัญหาสังคม และผลลัพธ์ สาระสำคัญได้แก่ พฤติกรรมการมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม พนักงานเป็นคนดี ผลผลิตที่ดี ความสามารถในการปลดหนี้ สังคมที่ดี 2. รูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้ประกอบการจากการสังเคราะห์ ประกอบด้วย ปัจจัยนำ สาระสำคัญได้แก่ หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา อิทธิพลจากผู้ที่เคารพและศรัทธา ความเชื่อ และ ความอยู่รอดขององค์กร กระบวนการ สาระสำคัญได้แก่ การศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน และผลลัพธ์ สาระสำคัญได้แก่ พฤติกรรมซึ่งแสดงออกถึงความมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ผลผลิตที่ดี พนักงานเป็นคนดี และสังคมที่ดี 3. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้ประกอบการประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ สำหรับภาคส่วนต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ดำเนินการ เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ : มุ่งสร้างผู้ประกอบการที่มีความใฝ่เรียนรู้และมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม เป้าประสงค์ (Goal) : พัฒนาผู้ประกอบการให้ประกอบธุรกิจด้วยพฤติกรรมการมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งสังคมใกล้และสังคมไกล ประเด็นยุทธศาสตร์ : (1) พัฒนาผู้ประกอบการให้มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม และ (2)พัฒนาผู้ประกอบการมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคม กลยุทธ์ : ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาผู้ประกอบการให้มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม (1) พัฒนาผู้ประกอบการให้มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม (2) พัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ในเรื่องจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม (3) พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการทำหน้าที่ช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ทั้งด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาผู้ประกอบการให้มีส่วนร่วมและมีความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคม (1) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเรื่องจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร (2) พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนานวัตกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน (3) พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to : 1) analyze the social responsibility consciousness enhancement model for entrepreneurs in the Thai context. 2) develop the social responsibility consciousness enhancement model for entrepreneurs. 3) propose the social responsibility consciousness enhancement for entrepreneurs’ strategies. This research was done in a qualitative research methodology, it consists of 3 case-studies of companies using the selection criteria of the Moral center (Public Organization) research using a qualitative multiple case-study, study documents, In-depth interviews, and group discussions. In this regard, the researcher also employed synthesis of model and strategies to enhance entrepreneurs’ social responsibility consciousness for entrepreneurs, and the method has been reviewed by relevant experts. There are three major research findings. Firstly, a model to enhance social responsibility consciousness for entrepreneurs in the Thai context, which consists of: (1) inputs in enhancing social responsibility consciousness including: the change of attitude, the survival of the organization, the principles of Buddhist teachings and Dharma practice, the faith, the development assistance from the government, the massive amounts of debt, the unique management model, the influenced by the respect and trust, the misery of life background, the teaching of Chinese philosophy, the social and political ideology and the experience of studying abroad. (2) The process in enhancing social responsibility consciousness which consists of : the employees’ quality of life improvement, the knowledge development for workers and the social development. The significant result was the sense of social responsibility behavior, the good yields, the good workers, the debt restitution and the good society. Secondly, a model to enhance social responsibility consciousness for entrepreneurs from the synthesis, while including the input material with the identity of the components : A, the principles of Buddhist teachings. B, the influenced by the respect and trust. C, the faith. And D, the survival of the organization. The process consists of : A, to study the principles of Buddhist teachings and Dharma practice. B, the employees’ quality of life improvement. These elements are significant for the result of social responsibility : A, the sense of social responsibility behavior. B, the good yields. C, the good workers. D, the good society. Thirdly, the social responsibility consciousness enhancement for entrepreneurs’ strategies : the vision is to be creating entrepreneurs, who are eager to be to learn and have strong senses of social responsibility. The goals include : development of entrepreneurs by behavior with strong senses of social responsibility, both near and distant societies. Strategy issues include : (1) Develop entrepreneurs with strong senses of social responsibility.. (2) Development the entrepreneurs with the ability to innovate social responsibility innovation and the social responsibility network. Strategies, strategies under the strategic issues 1 : (1) Develop entrepreneurs with strong senses of social responsibility. (2) Develop entrepreneurs to be eager to learn, in the senses of social responsibility. (3) Develop the ability of entrepreneurs to be able to help and serve society, both social responsibility and quality of life. And strategies under the strategic issues 2 : (1) Promote the adoption of a strong sense of social responsibility as part of corporate culture. (2) Develop an understanding of innovation, social responsibility, with the participation of stakeholders in all sectors. (3) Develop an understanding of the development of networks and social responsibility.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectจรรยาบรรณทางธุรกิจ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectSocial responsibility of business -- Study and teachingen_US
dc.subjectBusiness ethics -- Study and teachingen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้ประกอบการ : การศึกษาแบบพหุกรณีen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a social responsibility consciousness enhancement model for entrepreneurs : multicase studiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKiatiwan.A@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTaweewat.p@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yothin_ma.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.