Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36207
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิชชุตา วุธาทิตย์ | - |
dc.contributor.author | นริศรา ศรีสุพล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | อุดรธานี | - |
dc.coverage.spatial | อำเภอไชยวาน (อุดรธานี) | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-16T07:04:47Z | - |
dc.date.available | 2013-10-16T07:04:47Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36207 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติ องค์ประกอบและวิเคราะห์การแสดงหนังบักตื้อ คณะปะโมทัยรุ่งอีสาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ การบันทึการแสดง และทดลองปฏิบัติเชิดตัวหนังด้วยตนเอง การวิจัยพบว่า หนังบักตื้อคณะปะโมทัยรุ่งอีสาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยนายคำตา อินทะสีดา ปัจจุบันมีบุคลากรนคณะจำนวน 18 คน ซึ่งมีนาจำตา อินทะสีดา เป็นหัวหน้าคณะ ส่วนตัวหนังที่ใช้แสดงมีทั้งหมด 57 ตัว โดยแบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ ตัวหนังฝ่ายเทวดา ตัวหนังฝ่ายตัวพระ ตัวหนังฝ่ายตัวยักษ์ ตัวหนังฝ่ายตัวนาง ตัวหนังฝ่ายตัวลิง ตัวหนังฝ่ายตัวประกอบชาย ตัวหนังฝ่ายตัวประกอบหญิง ตัวหนังประกอบประเภทสัตว์ และตัวหนังฉากประกอบการแสดง ตัวหนังมีสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ลักษณะเฉพาะหนังบักตื้อคณะปะโมทัยรุ่งอีสาน คือ มีการฟ้อนถวายครูของผู้แสดง การใช้ภาษาของตัวหนังที่เป็นกษัตริย์ใช้ภาษากลางแต่ออกสำเนียงอีสาน และการใช้ทำนองเพลงส่วนมากใช้ทำนองลายลำเต้ย การแสดงหนังบักตื้อการแสดงหนังบักตื้อมีความสำคัญต่อบริบททางสังคม กล่าวคือ การแสดงหนังที่มีส่วนช่วยสืบสานในเรื่องวรรณกรรม ประเพณีประจำท้องถิ่น การรับวัฒนธรรมระหว่างภาค ซึ่งการแสดงหนังบักตื้อต้องใช้วรรณกรรมในการแสดง เมื่อแสดงจึงถือได้ว่าได้สืบสานวรรณกรรมไปด้วยและการแสดงหนังบักตื้อส่วนมากแสดงในงานประเพณีประจำท้องถิ่นจึงเป็นโอกาสที่ได้สืบสานประเพณีและที่สำคัญอีกประการ คือ ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งเป็นหลายฝ่าย ขาดความสามัคคีในหมู่ประชาชน การแสดงหนังบักตื้อเป็นการแสดงสะท้อนสภาพสังคมให้เห็นว่าในสมัยก่อนประชาชนในแต่ละภาคมีความสามัคคีจนยอมรับวัฒนธรรมด้านการแสดงได้ ดังที่ปรากฎของการแสดงหนังบักตื้อที่ได้รับมาจากการแสดงหนังตะลุงของภาคใต้ และการแสดงหนังบักตื้อของภาคอีสาน นอกจากผู้ชมจะได้รับความสนุกสนานแล้วยังได้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่การแสดงสอดแทรกให้ผู้ชมได้ชมอีกด้วย เช่น ได้ความรู้ด้านคำกลอน ด้านจริยธรรม คุณธรรมสภาพสังคมในปัจจุบันอีกด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to study history, components and analysis of Nang Bak Tau performance of Pamothairung Isan Group, in Chaiwan district Udon Thani. The research was conducted by collecting data from academic papers, interviewing, observing, recording the live show and experiencing by self- playing. The finding showed that the performance Nang Bak Tau of Pamothai Isan Group from Chaiwan district, Udon Thani was founded in B.E. 2544 by Mr. Kamta Inthasida, head of the group. In the present, there are 18 members in the group. Totally, shadow puppets used to play are 57 pieces. In all, they are divided into 9 character types, such as goddesses, main actors, main actresses, giants, monkeys, associate actors, associate actresses, associate animals, and background equipments. The height of a piece of shadow puppet is 50- 100 centimeters, Specific characters of Pamothai Rung Isan group s Nang Bak Tau are as follows; dancing for teachers by performers, using central Thai language in Isan dialectal accent for the shadow plays who roles as a king. The shadow puppets acting as comedians and associate characters use Isan dialectal accent in narrating. Mostly, the play s song is a kind of narrating songs. The performance of Nak Bak Tau is important in social contexts. That is this performance play an important role in presving novels and local areas and receiving inter regional cultures. The Nak Bak Tau performance needs to use novels so, that is the way to preserve cultures at the same time. Mostly, the performance is held in local festivals or ceremonies which help to last long traditional festivals and cultures.Moreover. in the present time,That peple are divided into many groups that lack of harmonization in gathering. Nak Bak Tau performance reflects social conditions in the past time that people in every region live with gathering eacefully. Until, the performance is acceptable,As in the Nak Bak Tau performance influenced by Shadow Play (talung) in the South and Nang Bak Tau in Isan, audiences have a lot of fun and other knowledge expressed and intervened in the play such as knowledge in wording, morality, ethic and social conditions in the present time. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1064 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อุดรธานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี | en_US |
dc.subject | การรำ -- ไทย -- อุดรธานี | en_US |
dc.subject | การรำ -- ไทย -- อำเภอไชยวาน (อุดรธานี) | en_US |
dc.subject | หนังบักตื้อ | en_US |
dc.subject | คณะปะโมทัยรุ่งอีสาน | en_US |
dc.subject | Udon Thani -- Manners and customs | en_US |
dc.subject | Dance -- Thailand -- Udon Thani | en_US |
dc.subject | Dance -- Thailand -- Chaiwan District (Udon Thani) | en_US |
dc.subject | Nang Bak Tau | en_US |
dc.subject | Pamotai Rung Isan group | en_US |
dc.title | การแสดงหนังบักตื้อคณะปะโมทัยรุ่งอีสาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี | en_US |
dc.title.alternative | Performance of Nang Bak Tau of Pamotai Rung Isan group, Chaiwan district, Udon Thani | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1064 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narisara_se.pdf | 18.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.