Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36245
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรีพร ธนศิลป์ | - |
dc.contributor.author | ขวัญจิรา ถนอมจิตต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-10-17T03:24:45Z | - |
dc.date.available | 2013-10-17T03:24:45Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36245 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายระหว่างชนิดของเซลล์มะเร็งปอด ความปวด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด กลุ่มตัวอย่างที่เป็นมะเร็งปอด จำนวน193 คนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า แบบประเมินความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .89, .92, .71, .83, .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด อยู่ในระดับสูง ( [Mean]=73.01, SD =15.44) 2.ชนิดของเซลล์มะเร็งปอด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนโดยรวม ความต้องการการดูแลสนับสนุนด้านร่างกาย ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านจิตใจ และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความปวดและความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านระบบการดูแลและข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านการดูแลและช่วยเหลือมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ภาวะซึมเศร้า อาการหายใจลำบาก ความเหนื่อยล้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งปอดได้ร้อยละ 43 (R2 = .43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to examine the relationships and predictors between type of lung cancer, pain, fatigue, dyspnea, anxiety, depression, supportive care needs and quality of life of lung cancer patients. Participants included 193 lung cancer patients from three hospitals in Bangkok . Data were collected by using seven instruments: Demographic data form, EORTC QLQ C-30 Questionnaire, Brief Pain Inventory, Fatigue Appraisal, Cancer Dypsnea Scale, Hospital Axiety and Depression Scale and The Supportive Care Needs Survey -Short Form 34. All instruments were tested for content validity and reliability. Cronbach’s alpha coefficients for the scales were .89, .92, .71, .83, .94 and .92, respectively. Data were analyzed using mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, Eta Correlation Coefficient and Stepwise multiple regressions. The research results were as follows: 1. Quality of Life of lung cancer patients was at the High level ( [Mean]=73.01, SD =15.44) 2. Type of lung cancer, fatigue, dyspnea, anxiety, depression and supportive care needs, supportive care needs of physical and daily living needs, supportive care needs of psychologic needs and supportive care needs of sexuality needs were significantly related to quality of life of lung cancer but pain, supportive care needs of health system and information needs and supportive care needs of patients care and support needs were not significantly related to quality of life of lung cancer patients. 3.The depression (ß=-.52), dyspnea (ß=-.28), fatigue(ß=-.30), and supportive care needs (ß=-.14)(P<.05) were the significant predictors and together accounting for 43 percent of the variance to quality of life of lung cancer patients(R2 = .43; p<.05). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.730 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | en_US |
dc.subject | มะเร็ง | en_US |
dc.subject | ปอด -- มะเร็ง | en_US |
dc.subject | Lungs -- Cancer | en_US |
dc.subject | Quality of life | en_US |
dc.subject | Cancer | en_US |
dc.title | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด | en_US |
dc.title.alternative | Selected factors related to quality of life of patients with lung cancer | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sureeporn.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.730 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kwanjira_ta.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.