Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์-
dc.contributor.authorสมชาย สัมฤทธิ์ทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-10-17T07:38:22Z-
dc.date.available2013-10-17T07:38:22Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36252-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractเงินอุดหนุนเป็นรายได้หลักที่สำคัญของรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศไทยแต่สภาพการใช้เงินอุดหนุนยังขาดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรระหว่างรัฐบาลต่างระดับ เนื่องจากมีเงินอุดหนุนอยู่มากประเภทและมีหลักเกณฑ์การจัดสรรที่สลับซับซ้อน วงเงินที่จัดสรรยังไม่สอดคล้องกับความต้องการทรัพยากร ที่แท้จริงของท้องถิ่น ดังนั้น การปรับปรุงระบบเงินอุดหนุนให้เป็นระบบที่ง่ายขึ้นและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการใช้ทรัพยากรของรัฐบาลท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งที่สมควรแก่การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การคลังท้องถิ่นในประเทศไทย จากทฤษฎีเงินอุดหนุนได้ให้ข้อเสนอแนะว่า เงินอุดหนุนทั่วไปสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการกระจายความเสมอภาคทางการคลังระหว่างท้องถิ่น เงินอุดหนุนสมทบสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการชักจูงให้ท้องถิ่นเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าสาธารณะที่จำเป็น หรือรักษาระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาผลล้นออกของการผลิตสินค้าสาธารณะและเพื่อให้รัฐบาลกลางเข้าไปมีบทบาทในระดับท้องถิ่น เราสามารถใช้ทฤษฎีดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการประเมินระบบเงินอุดหนุนของไทย และเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบเงินอุดหนุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ระบบเงินอุดหนุนของไทยยังไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เสนอไว้ในทฤษฎี การปรับปรุงระบบเงินอุดหนุนจะกระทำในองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ วัตถุประสงค์ สิทธิ์ของท้องถิ่น หลักเกณฑ์การจัดสรรและวงเงินอุดหนุนภายใต้ระบบใหม่จะมีเงินอุดหนุนอยู่เพียง 3 ประเภท คือ เงินอุดหนุนทั่วไปเงินอุดหนุนสมทบและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ รัฐบาลท้องถิ่นทุกระดับและทุก ๆ แห่งจะมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนทั้ง 3 ประเภทโดยเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ท้องถิ่นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป จะต้องมีฐานะทางการคลังต่ำกว่ารัฐบาลกลาง วงเงินจะผันแปรทางตรงกับจำนวนประชากร ฐานะทางการคลังและระดับความพยายามทางการคลังของท้องถิ่น เงินอุดหนุนทั่วไประบบใหม่จะใช้เพื่อการบริหารงานทั่วไป ส่วนเงินอุดหนุนทั่วไประบบเดิมที่ให้แก่งานบริหารการศึกษาจะถูกนำไปรวมไว้ในเงินอุดหนุนสมทบ ซึ่งท้องถิ่นจะมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนสมทบตลอดไป โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีฐานะทางการคลังต่ำกว่ารัฐบาลกลาง เงินอุดหนุนสมทบแบบเปิดจะใช้เป็นรายจ่ายประจำสำหรับรับรักษาระดับคุณภาพของการศึกษาภาคบังคับ การสาธารณสุขและสาธารณูปการ และทางหลวงท้องถิ่น ส่วนเงินอุดหนุนสมทบแบบบิดจะใช้เป็นรายจ่ายลงทุนสำหรับชักจูงให้ท้องถิ่นผลิตสินค้าสาธารณะทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้นวงเงินอุดหนุนแบบเปิดจะจัดสรรให้ทั้งหมดคิดเป็น 50% ของเงินอุดหนุนทั่วไป ในจำนวนนี้จะแบ่งให้แก่การศึกษาภาคบังคับ 40% การสาธารณสุขและสาธารณูปการ 40% และทางหลวงท้องถิ่น 20% สำหรับวงเงินอุดหนุนแบบปิดจะกำหนดเป็นอัตราสมทบเป็นขั้น ๆ ผกผันกับฐานะทางการคลังของท้องถิ่น ส่วนเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจะใช้เป็นรายจ่ายลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อช่วยเหลือท้องถิ่นที่ประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติหลักเกณฑ์การจัดสรรจะไม่พิจารณาถึงฐานะทางการคลังหรือระดับความพยายามทางการคลังของท้องถิ่น วงเงินที่จัดสรรจะคิดจากต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยของโครงการโดยใช้ราคามาตรฐานของกรมบัญชีกลางเป็นราคากลาง ๆ ที่ใช้ได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้เงินอุดหนุนเฉพาะกิจปกติและกรณีพิเศษซึ่งใช้กันอยู่ในระบบเดิมจะถูกยกเลิกไปบางส่วน และบางส่วนได้เปลี่ยนรูปแบบการจัดสรรไปเป็นเงินอุดหนุนสมทบ-
dc.description.abstractalternativeGrant is a principal source of local government revenue in Thailand. Grant is inefficiently used for directing resource aliocation in the context of the over all public sector. There are many types of grant and criteria for allocation are too complicable and fragmented. In addition, the amount of grant is not consistent with real resource need; thus, the grant system in Thailand should be reformed to improve local public finance. In theory, block grant is utilized to achieve fiscal equalization, matching grant to encourage provision of certain public goods both in terms of quantity and quality, specific grant to solve problem of spillovers effect from public goods and to influence local policy. We can make use of the theory to assess the grant system in Thailand, and to offer suggestions for its improvement. This study finds that the grant system in Thailand is not utilized to achieve the objectives stated in the theory. Grant should be made on the bases of the following 4 dimensions : objectives, local rights, allocative criteria and amount of grant. Under the new system, there will be only 3 kinds of grant: block grant, matching grant and specific grant. All local governments are entitled to receive all three kinds of grants equally. To have right to receive block grant, local government should have an economic status which is less than central government. The amount of grant will very according to the population size, local revenue and local fiscal effort. The new block grant will be used for general administration. Subsidy for educational administration will be included in the matching grant which local government can receive regardless of economic status. The opened-matching grant will be used as current expenditure for preserving the quality of primary education, public health & health facilities and local highway; whereas the closed-matching grant will be used as capital expenditure inducing increase in production of 3 stated public goods. The amount of opened-matching grant is about 50% of block grant; 40% of this amount will be divided for primary education, 40% for public health a health facilities, and 2% for local highway. For the closed-matching grant, matching rates will vary inversely according to local economic status. Finally, the specific grant will be used for capital expenditure in infrastructure and for local damage from natural danger. The distribution criteria will not included the economic status and the local fiscal effort. The amount of grant will be computed from the average cost of project; using the standard price computed by The Comptroller-General’s Department. Moreover, under this new grant system, the regular and special specific grants will be abolished, but some of the will be transformed into matching grant.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเงินอุดหนุนen_US
dc.subjectการจัดสรรทรัพยากรen_US
dc.subjectการคลังท้องถิ่น -- ไทยen_US
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- ไทยen_US
dc.titleการใช้เงินอุดหนุนเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการใช้ทรัพยากร ของรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeUsing grant mechanism to direct resources by local gevernments in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Su.pdf16.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.