Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36265
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์-
dc.contributor.authorวีรภัทรา ประภาพักตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-18T06:49:37Z-
dc.date.available2013-10-18T06:49:37Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36265-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความยืดหยุ่น การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญปัญหา และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 140 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรมประสาทโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันประสาทวิทยา และโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความยืดหยุ่น แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการเผชิญปัญหา และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-12 version 2) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบหาค่าความเที่ยง โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .88, .75 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายในระดับต่ำ ( = 43.37, SD = 9.93) แต่มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง ( = 53.18 , SD = 8.72) 2. ความยืดหยุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .279 และ .297 ตามลำดับ 3. การสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 4. การเผชิญปัญหาด้านการเผชิญหน้ากับปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 (r = .197 และ r = .286 ตามลำดับ) ด้านการจัดการอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (r = -.260 และ -.451 ตามลำดับ) ด้านการเผชิญปัญหาแบบเบี่ยงเบนความรู้สึกไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.210)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationships between resilience, social support, coping and quality of life of older persons with stroke. Simple random of 140 older persons with stroke were selected from patients who receiving treatment at neurological medicine clinic, out-patient department of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Prasat Neurological Institute and Police General Hospital. The instruments were demographic questionnaire, Resilience Scale, Social Support Questionnaire, Jalowiec Coping Scale and Quality of Life Scale (SF-12 version 2). Validity of all instruments were approved by 5 experts. Cronbach’s alpha coefficients of reliability were .84, .85, .75 and .87 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation. The results were as follows: 1.Quality of life in physical component of older persons with stroke was low ( = 43.37, SD = 9.93) while quality of life in mental component of older persons with stroke was moderate ( = 53.18, SD = 8.72). 2.Resilience was significantly positive correlated with both of quality of life in physical and mental components in older persons with stroke (r = .279, r = .297, p < .01). 3.Social support was not correlated with both of quality of life in physical and mental components in older persons with stroke. 4.Confrontive coping was significantly positive correlated with both of quality of life in physical and mental components in older persons with stroke (r = .197, r = .286). Emotive coping was significantly negative correlated with both of quality of life in physical and mental components in older persons with stroke (r = -.260, r = -.451, p < .01).Palliative coping was not correlated with quality of life in physical component but significantly positive correlated with quality of life in mental component in older persons with stroke (r = .210, p < .05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.744-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรคen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectความดันเลือดสูงในผู้สูงอายุen_US
dc.subjectCerebrovascular diseaseen_US
dc.subjectQuality of lifeen_US
dc.subjectOlder peopleen_US
dc.subjectHypertension in old ageen_US
dc.titleความยืดหยุ่น การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญปัญหา และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeResilience, social support, coping and quality of life of older persons with strokeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTassana.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.744-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
werapattra_pr.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.