Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36402
Title: | ผลของการเรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บโดยใช้กรณีตัวอย่างด้วยการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแข่งขัน ระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Other Titles: | Effects of web-based cooperative learning with case study by using student teams achievement division and team game tournament upon problem-solving ability and learning achievement in social studies, religion and culture subject group of ninth grade students |
Authors: | พิจิตรา ธรรมสถิตย์ |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Onjaree.N@Chula.ac.th |
Subjects: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำงานกลุ่มในการศึกษา การเรียนการสอนผ่านเว็บ Academic achievement Group work in education Web-based instruction |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บโดยใช้กรณีตัวอย่างด้วยการแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ จำนวน 72 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มละ 36 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บแบบแบ่งกลุ่ม สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กรณีตัวอย่าง กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม โดยใช้กรณีตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เว็บการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ทางการ เรียนโดยใช้กรณีตัวอย่าง และเว็บการเรียนแบบร่วมมือแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมโดยใช้กรณีตัวอย่าง แบบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บต่างกันโดยใช้กรณีตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกันเมื่อเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บต่างกัน โดยใช้กรณีตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทาง สถิติ .05 3.ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนแบบร่วมมือผ่านเว็บโดยใช้กรณีตัวอย่างกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 |
Other Abstract: | To study the effect of web-based cooperative learning with case study using student teams achievement division (STAD) and team game tournament (TGT) upon problem-solving ability and learning achievement in social studies, religion, and culture subject group of ninth grade students. The samples were assigned into two experimental groups with 36 students in each group. The first group studied a cooperative learning on web using student teams achievement division method with case study and the second group studied a cooperative learning on web using team game tournament method with case study. The research instruments were a web - based instruction using cooperative learning with student teams achievement division method, a web - based instruction of team game tournament method, an achievement test, and a problem solving ability test. The data were analyzed using arithmetic mean, standard deviation and Two–Way Analysis of Variance. The research results were as follows: 1. The students studied a web - based instruction with different cooperative learning approach with case study had no statistically significant difference at .05 level of learning achievement and problem solving abilities. 2. The students with different achievement levels studied a cooperative learning approach with case study had statistically significant difference at .05 level of learning achievement and problem solving abilities. 3. The students with different achievement levels studied a web - based instruction with different cooperative learning approaches with case study had no statistically significant different at .05 level of learning achievement and problem solving abilities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36402 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.699 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.699 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pichitra_th.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.