Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36467
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จันทร์เพ็ญ เชื่อพานิช | |
dc.contributor.advisor | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิยม | |
dc.contributor.author | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-10-30T03:30:50Z | |
dc.date.available | 2013-10-30T03:30:50Z | |
dc.date.issued | 2530 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36467 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีสอน คุณภาพของกลวิธีสอน เวลาที่ใช้ในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เมื่อใช้นักเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ พบว่า กลวิธีสอนโดยเฉลี่ย คุณภาพของกลวิธีสอนโดยเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการเรียนโดยเฉลี่ย และความคงที่ของเวลาที่ใช้ในการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.2292 .2228 .5008 และ -.2428 ตามลำดับ เวลาที่ใช้ในการเรียนโดยเฉลี่ย และคุณภาพของกลวิธีสอนโดยเฉลี่ยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านวิชาการได้ร้อยละ 30.27 เมื่อใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ พบว่า กลวิธีสอนโดยเฉลี่ย คุณภาพของกลวิธีสอนโดยเฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.5438 และ .5252 ตามลำดับ กลวิธีสอนโดยเฉลี่ยสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านวิชาการได้ร้อยละ 29.56 ไม่มีตัวแปรใดๆ ที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งที่ใช้นักเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์หรือใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ นอกจากนี้พบว่าครูวิทยาศาสตร์ใช้กลวิธีสอนแบบทางตรง คุณภาพของกลวิธีสอนค่อนข้างดี นักเรียนใช้เวลาในการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 82.98 ต่อคาบ นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านวิชาการ 23.75 จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คะแนนเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 116.70 จากคะแนนเต็ม 155 คะแนน อย่างไรก็ตามการใช้กลวิธีสอน คุณภาพของกลวิธีสอน และการใช้เวลาในการเรียนของนักเรียนไม่คงที่ | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to investigate the relationships between teaching strategies, quality of teaching strategies, time-on-task and science learning achievement of lower secondary: school students in Bangkok Metropolis. The findings were concluded as follows: When using students as a unit of analysis, it was found that the relationships between the average score of the teaching strategies, the quality of teaching strategies, the time-on-task, and the consistency of time –on-task and the academic science learning achievement were statistically significant. Their correlation coefficient were -.2292, .2228, .5008 and -.2428 respectively. The average score of the time-on-task and the quality of teaching strategies could explain 30.27 percent of the variance in the academic science learning achievement. When using classrooms as a unit of analysis, it was found that the relationships between the average score of the teaching strategies, and the quality of teaching strategies and the academic science learning achievement were statistically significant. Their correlation coefficient were -.5438 and .5252 respectively. The average score of the teaching strategies could explain 29.56 percent of the variance in the academic science learning achievement. None of the variables was significantly correlated with scientific attitude either using students or classrooms as a unit of analysis. In addition, it was found that the science teachers tended to use direct teaching strategy. Their quality of teaching strategy was quite satisfactory. The students’ time-on-task was 82.98 percent by average per period. Students’ academic science learning achievement was 23.75 from 50 scores, and their scientific attitude was 116.70 from 155 scores. However, the teaching strategies, the quality of teaching strategies and the students’ time-on-task were found inconsistency in the instruction. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสอน | en_US |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | เวลา | en_US |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีสอน คุณภาพของกลวิธีสอน เวลาที่ใช้ในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | The relationships between teaching strategies, quality of teaching strategies, time-on-task and science learning achievement of lower secondary school students in Bangkok Metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimpan_Da.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.