Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36634
Title: | การเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฎิกิริยาอะลูมินาในกระบวนการคลอสและการฟื้นฟูตัวเร่งปฎิกิริยา |
Other Titles: | Deactivation of Al2O3 catalyst in claus process and catalyst regeneration |
Authors: | ธงชัย อยู่คำจันทร์ |
Advisors: | จูงใจ ปั้นประณต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | joongjai.p@eng.chula.ac.th |
Subjects: | ตัวเร่งปฏิกิริยา Catalysts |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาคุณลักษณะของตัวเร่งปฎิกิริยาอะลูมินาในกระบวนการคลอส ก่อนและหลังการใช้งานและฟื้นฟูเพื่อหาสาเหตุการเสื่อมสภาพของตัวเร่งปฎิกิริยาโดยตัวเร่งปฎิกิริยาผ่านการใช้งานที่อุณหภูมิ 250 และ 350 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2.5-3.5 ปีและทำการฟื้นฟูตัวเร่งปฎิกิริยาที่ภายใต้สภาวะการฟื้นฟูที่แตกต่างกันแต่ล่ะตัวเร่งปฎิกิริยา เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆได้แก่เครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซน (XRF) เครื่องวัดพื้นที่ผิว (BET) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและเอ็กซเรย์สเปกโตรสโกปีแบบกระจายพลังงาน (SEM-EDX) เครื่องกระเจิงรังสีเอ็กซ์ (XRD) และ เครื่องมือวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุ (CHN/O analyzer) พบว่าตัวเร่งปฎิกิริยาอะลูมินาเสื่อมสภาพเนื่องจากการอุดตันของซัลเฟอร์ในรูพรุนและการเกิดสารประกอบซัลเฟตส่งผลให้ตัวเร่งปฏิกิริยามีพื้นที่ผิวและปริมาตรรูพรุนลดลง อุณหภูมิในการฟื้นฟูสภาพมีผลต่อการกำจัดซัลเฟอร์อย่างมาก อย่างไรก็ตามการใช้อุณหภูมิสูงกว่า 500 องศาเซลเซียสทำให้อะลูมินาเกิดการเปลี่ยนโครงสร้างจากแกมมาอะลูมินาเป็นเซตาอะลูมินาทำให้พื้นที่ผิวลดลงมากขึ้น และการใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 200 องศาเซลเซียสไม่สามารถกำจัดสารประกอบซัลเฟตได้หมด สำหรับการฟื้นฟูตัวเร่งปฎิกิริยาด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้น 0.5 โมลาลิตี้และ 1.0 โมเลลิตี้พบว่าสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถกำจัดกำมะถันออกจากตัวเร่งปฎิกิริยาได้ สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ไม่ได้บ่งบอกถึงการกำจัดกำมะถันออกจากตัวเร่งปฎิกิริยาได้อย่างมีนัยยะสำคัญ |
Other Abstract: | In this study, fresh and spent-regenerated Claus catalysts, treated under different operating and regeneration condition, were investigated in order to determine the causes of deactivation. The catalysts have been used under operating temperature 250 and 350oC for 2.5-3.5 years and regenerated under three different conditions. Based on the results from X-ray fluorescence (XRF), BET analysis, scanning electron microscopy and energy dispersive X-ray spectroscopy (SEM-EDX), X-ray diffraction (XRD), and CHN/O analyzer, the catalysts were mainly deactivated by sulfur condensation inside the alumina pores and formation of sulfate compounds, resulting in a decrease in catalyst surface area and pore volume. Regenerating temperature strongly affected the sulfur removal. However, regenerating temperature higher than 500oC resulted in phase transformation of gamma alumina to theta alumina, and further reduction of the surface area. On the other hand, regenerating temperature below 200oC was not enough to remove the sulfate compounds on the catalyst surface. For leaching spent-regenerated alumina by NaOH and H2O2 (0.5 Morality, 1.0 Morality). As revealed by leaching these solvent, sulfur component can be removed by NaOH but H2O2 not significant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36634 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1539 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1539 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thongchai_yu.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.