Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36638
Title: การวิเคราะห์ระดับโมเลกุลและโครงสร้างอติจุลภาคของชุมชนราที่เกี่ยวข้องกับปลวกที่สร้างสวนรา
Other Titles: Molecular and ultrastructural analysis of fungal communities associated with fungus garden growing termites
Authors: ญาติมา โพธิวัฒน์
Advisors: ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
ศุภวิน วัชรมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sprakits@chula.ac.th
Supawin.W@Chula.ac.th
Subjects: ปลวก
เชื้อรา
Termites
Fungi
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปลวกที่จัดอยู่ในวงศ์ Termitidae วงศ์ย่อย Macrotermitinae อาศัยอยู่โดยมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (mutualism) กับรา Termitomyces ที่สร้างเห็ดโคน ปลวกจะสร้างสวนรา (fungus garden) ที่ประกอบด้วยเส้นใยของรา งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาชุมชนราใน สวนรา ลำไส้ปลวก ดินรังปลวก และดินที่ระยะห่างจากจอมปลวก 10 เมตร โดยวิธี Denaturing Gradient Gel Electrophoresis (DGGE) และสำรวจชุมชนราในสวนราโดยวิธี Dilution plating method พร้อมทั้งตรวจสอบโครงสร้างสวนราและลำไส้ปลวกระดับอติ-จุลภาคภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope; SEM) โดยเก็บตัวอย่างจากจังหวัดนครปฐม และราชบุรี ซึ่งเป็นปลวกสกุล Macrotermes sp.1 ผลการสำรวจประชากรราในสวนราโดยวิธี DGGE นอกจากพบรา Termitomyces แล้วยังพบรา 3 ชนิดในตัวอย่างจังหวัดนครปฐม น่าจะเป็นรา Tylophilus leucomycelinus, Glomus intraradices และ Scutellospora pellucida รา 5 ชนิดในตัวอย่างจังหวัดราชบุรี น่าจะเป็นรา Agaricaceae sp., Tylopilus leucomycelinus, Scutellospora pellucida, uncultured ectomycorrhiza (Basidiomycota) และ uncultured soil fungus clone 317_0222 ผล DGGE ยังแสดงถึงการพบดีเอ็นเอของเห็ดโคนในลำไส้ปลวกจากตัวอย่างทั้งสอง และเป็นที่น่าสังเกตว่ามีการพบรา Tylophilus leucomycelinus ซึ่งจัดเป็น Basidiomycetes และ Scutellospora pellucida ซึ่งจัดเป็น Arbuscular mycorrhizal fungi ในชุมชนราของตัวอย่างทั้งสองพื้นที่ ผลการสำรวจประชากรราในสวนราโดยวิธี Dilution plating method พบรา Penicillium sp. ในตัวอย่างนครปฐม และพบรา Aspergillus sp. ในตัวอย่างราชบุรีเป็นราส่วนใหญ่ ภาพถ่ายสวนราด้วยกล้อง SEM ไม่พบโครงสร้างของราชนิดอื่นในสวนรา จากการตรวจสอบด้วยวิธี DGGE และ Dilution plating method พบราหลายชนิด แสดงว่าปลวกมีวิธีการยับยั้งการงอกของ spore ราชนิดอื่น ซึ่งวิธีการยับยั้งมิให้ราแปลกปลอมมาเจริญได้นั้นอาจมาจากการกำจัดด้วยการกัดถอนเส้นใยแปลกปลอมออกโดยปลวก หรือสารหลั่งในน้ำลายและมูลของปลวกที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ภาพถ่าย SEM ภายในลำไส้ปลวกพบก้อนกลมจำนวนมากซึ่งมีโครงสร้างและขนาดคล้าย primordia ที่อยู่บนสวนรา จากผล DGGE ซึ่งมีการพบดีเอ็นเอของเห็ดโคนในลำไส้ปลวกและผลภาพถ่าย SEM ซึ่งพบก้อนกลมลักษณะคล้าย primordia ภายในลำไส้ปลวก จึงเป็นการสนับสนุนว่าปลวกกิน primordia.
Other Abstract: Fungus-growing termites are obligate symbionts with basidiomyceteous fungi in the genus Termitomyces. They cultivate Termitomyces mycelia on substrates known as fungus garden. The relationship between them remains to be studied. This work was done in order to determine fungal communities in the fungus gardens, termite guts, mound soil and soil is about 10 metres from the mound by using the Denaturing Gradient Gel Electrophoresis (DGGE) method. Culturable fungal communities of fungus gardens were done by using Dilution plating method. Fungus gardens and termite guts morphology were observed by using Scanning Electron Microscope (SEM). Fungus gardens were collected by digging out from underground soil in Nakornpathom and Ratchaburi Province. Termites were later identified as Macrotermes sp.1. Molecular result showed that fungus gardens were dominated by Termitomyces associated with some other fungi. These fungi closely matched Tylophilus leucomycelinus, Glomus intraradices and Scutellospora pellucida in Nakorn- Pathom specimens. There were some fungi closely matched Agaricaceae sp. ecv3807, Tylopilus leucomycelinus voucher 18463, Scutellospora pellucida, uncultured ectomycorrhiza belonging to Basidiomycota group and uncultured soil fungus clone 317_0222 from Ratchaburi specimens. In addition, DGGE result showed Termitomyces band in fungus gardens which was also found from termite guts and there are the finding of the same dominant fungi in both area such as Tylophilus leucomycelinus and Scutellospora pellucida. Fungal communities analysis of both fungus gardens by using Dilution plating method found which dominated by Penicillium sp. in Nakornpathom specimens whereas Aspergillus sp. were dominated in Ratchaburi specimens. Scanning electron micrograph of primordia-like structures in termite guts. This evidence indicated that termite consumed primordia as food source with the molecular data supporting by Termitomyces presented in termite guts.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36638
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1540
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1540
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yatima_po.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.