Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36747
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ | - |
dc.contributor.advisor | วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | ฐปณี รัตนถาวร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-11-28T08:27:35Z | - |
dc.date.available | 2013-11-28T08:27:35Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36747 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาในครั้งนี้ต้องการค้นหา เงื่อนไขการดำรงอยู่เชิงพื้นที่ของชุมชนในเมืองประวัติศาสตร์ บริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีโบราณสถานครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จึงต้องแทรกตัวอยู่ในพื้นที่ว่างระหว่างโบราณสถานเหล่านี้ กลายเป็นชุมชนที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถขยายตัวได้อย่างอิสระ โครงข่ายการสัญจรและพื้นที่ว่างภายในชุมชนกับระบบของเมืองได้ถูกขัดขวาง ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างทั่วถึงเป็นระบบ จึงไม่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชุมชนขึ้นบนโครงข่าย และกระจายตัวอย่างสอดคล้องกับศักยภาพการเข้าถึงของพื้นที่บริเวณนั้นได้อย่างครบถ้วน ส่งผลให้ชุมชนเหล่านี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ภายในพื้นที่ของชุมชนเอง ต้องปรับตัวด้วยการพึ่งพาข้ามชุมชน หรือมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ โดยมีกระบวนการศึกษาและการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย อยู่ภายใต้แนวคิดทฤษฎีหลักด้านสัณฐานวิทยาเมืองได้แก่ ทฤษฎีการสัญจรอิสระ (Hillier et al., 1993) ทฤษฎีเศรษฐสัญจร (Hillier, 1996) ทฤษฎีสัณฐานศูนย์กลาง (Hillier, 2000) ร่วมกับแนวคิดทฤษฎีด้านเศรษฐสังคม ได้แก่ แนวคิดตรรกะทางสังคมเชิงพื้นที่ (Hillier and Hanson, 1984) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างข้อมูลเชิงสัณฐานพื้นที่และเชิงสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเหล่านี้ได้รวมกันเป็นกลุ่มชุมชนใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ชุมชนที่รวมกลุ่มเพื่อพึ่งพากัน แล้วมีองค์ประกอบครบถ้วนสามารถดำรงอยู่ได้ภายในกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชุมชนย่านตลาดหัวรอ ซึ่งเกิดจากเงื่อนไขหลักเชิงพื้นที่ (spatial condition) และกลุ่มชุมชนย่านตลาดเจ้าพรหม เกิดจากเงื่อนไขหลักเชิงเศรษฐสังคม (socio-economic condition) 2) ชุมชนที่รวมกลุ่มเพื่อพึ่งพากัน แล้วมีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนต้องพึ่งพาชุมชนอื่นในบางโอกาส ได้แก่ กลุ่มชุมชนย่านประตูชัย เกิดจากเงื่อนไขเชิงพื้นที่ร่วมกับเงื่อนไขเชิงเศรษฐสังคม (spatial and socio-economic condition) 3) ชุมชนที่รวมกลุ่มเพื่อพึ่งพากันแล้วมีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนต้องพึ่งพาชุมชนอื่นทั้งในระยะใกล้และไกลเสมอ ได้แก่ กลุ่มชุมชนย่านโรงงานสุรา เกิดจากเงื่อนไขเชิงเศรษฐสังคม (socio-economic condition) สนับสนุน จากเงื่อนไขการดำรงอยู่เชิงพื้นที่ของชุมชนทั้ง 3 รูปแบบ ได้ข้อสรุปที่เป็นนัยเชิงทฤษฎี ว่า กลุ่มชุมชนย่านตลาดหัวรอ มีเงื่อนไขหลักเชิงพื้นที่ทำให้สามารถดำรงอยู่ได้ สอดคล้องกับทฤษฎีกระบวนการเกิดสัณฐานศูนย์กลาง (spatial centrality as a process) (Hillier, 2000) ส่วนกลุ่มชุมชนย่านตลาดเจ้าพรหม สามารถดำรงอยู่ได้ โดยเกิดจากเงื่อนไขหลักเชิงเศรษฐสังคมของ “ตัวดึงดูด” (attractors) จึงอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับกรณีกลุ่มชุมชนย่านประตูชัย และกลุ่มชุมชนย่านโรงงานสุรา ซึ่งต้องพึ่งพาชุมชนอื่น ส่วนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่การสร้าง การรักษา และการฟื้นฟูโครงข่ายการสัญจรและพื้นที่ว่างให้ผสานพื้นที่โบราณสถานเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ชุมชน อย่างเหมาะสมในแบบเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เพื่อให้โครงข่ายการสัญจรในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เมือง ได้เชื่อมต่อกันอย่างทั่วถึงเป็นระบบ เอื้อให้ผู้คนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก เกิดความหนาแน่นของการสัญจรและเกิดกิจกรรมที่หลากหลายแตกต่างกัน ตามศักยภาพการเข้าถึงของพื้นที่ ทั้งกิจกรรมที่ต้องการความสงบ เช่น การพักอาศัย และกิจกรรมที่ต้องการความคึกคัก พลุกพล่านของผู้คน เช่น การค้าขาย รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ กระจายตัวอยู่ทั่วไปในระดับปกติ เกิดเป็นองค์ประกอบที่ครบถ้วนทำให้ชุมชนต่างๆ ในบริเวณเมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสามารถดำรงอยู่ได้ภายในกลุ่มชุมชน | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study investigates for the spatial conditions of existence communities in Ayutthaya historic town. Most areas surrounded by ancient remains and its cause community’s settlement between these ancients’ remains so that the communities cannot freely expand, inner transportation and open space network was obstructed and disconnect in system. Moreover, these problems do not attract activities on network which is community’s element and distribute consistent with access potential of historic town. As a result, these communities cannot exist within the community itself, they must adapt by relying on cross community or associated with each other to be able to existence. The processes of studying and conceptual framework are under the main theories in Urban Morphology such as Natural Movement (Hillier et al., 1993), Movement Economy Process (Hillier et al., 1996), Spatial Centrality as a process (Hillier, 2000) and also concepts of socio-economic characteristic such as Social Logics of Space (Hillier and Hanson, 1984). The methodology is using collection and analysis data in both qualitative and quantitative by integrating between spatial and socio-economic factors. Result found that these communities were combined into 3 community groups such as 1) community group that rely on each other with complete element to be able to existence such as Huaro market community group, consist of spatial condition, and Chaophrom market community group, consist of socio-economic condition. 2) community group that rely on each other with incomplete element and must rely on cross community in some occasion such as Pratoochai community group, consist of spatial and socio-economic condition. 3) community group that rely on each other with incomplete element and must always rely on near and far distance such as Ronggnansura community group, consist of socio-economic condition. The conclusion in theoretical that Huaro market community group has spatial condition to exist which accordingly to spatial centrality as a process (Hillier, 2000). Chaophrom market community group can existence with socio-economic of “attractors” which unsustainable existence. As same as Pratoochai community group and Ronggnansura community group must rely on other communities. For suggestion policy, the important factors are to create, preserve and re-integrate transportation and open space network to merge ancient remains areas to be a part of community areas with suitability in terms of group’s characteristic and to connect transportation network within communities and town areas to encourage passenger to pass comfortably. This process will increase movement density and variety of activities according to accessibility potential and also calm activities such as residential or lively activities such as commercial to be a live center. Including the other activities that general distribution, become complete element that make these communities to be able to survive by itself. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1047 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ชุมชน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา | en_US |
dc.subject | Communities -- Thailand -- Phranakhon Si Ayutthaya | en_US |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.title | เงื่อนไขเชิงพื้นที่เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนบริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา | en_US |
dc.title.alternative | Spatial conditions for existence of communities in and arround Ayutthaya Heritage Island | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาคและเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Khaisri.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Wannasilpa.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1047 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tapanee_ra.pdf | 28.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.