Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37173
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา-
dc.contributor.authorวไลกรณ์ แก้วคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-07T10:05:37Z-
dc.date.available2013-12-07T10:05:37Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37173-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความเชื่ออำนาจในตน การรับรู้ความสามารถของตน และการเห็นคุณค่าในตนเองของครู (2) เปรียบเทียบระดับดังกล่าว ระหว่างกลุ่มครูที่อยู่ในช่วงของวิชาชีพแตกต่างกัน และ (3) ศึกษาสภาพของครูในแต่ละช่วงของวิชาชีพ วิธิวิจัย ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มด้วยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 474 คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว จากนั้นใช้พหุกรณีศึกษา ศึกษาครู 6 คน เก็บข้อมูลโดยการ สังเกต สัมภาษณ์ และวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1.ครูมีระดับความเชื่ออำนาจในตน การรับรู้ความสามารถของตน และการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง 2.ครูที่อยู่ในช่วงของวิชาชีพครูที่ต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในระดับความเชื่ออำนาจในตน การรับรู้ความสามารถของตน และการเห็นคุณค่าในตนเอง 3.ลักษณะของครูที่อยู่ในแต่ละช่วงของวงจรวิชาชีพครูในแต่ละช่วงมีดังนี้ (1) ครูที่อยู่ในช่วงแรกเข้า ต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ในการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาที่เผชิญคือการจัดการชั้นเรียน การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานและวัฒนธรรมขององค์กร การสนับสนุนส่งเสริมที่เหมาะสมคือการให้คำปรึกษา แนะนำ และเปิดโอกาสให้ครูใหม่ได้เรียนรู้จากครูเก่าที่มีประสบการณ์ รับการฝึกอบรม รวมทั้งการจัดครูพี่เลี้ยงคอยให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด (2) ครูที่อยู่ในช่วงสร้างสมรรถภาพ ต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นที่ยอมรับ มีความรู้สึกว่าการทำงานในวิชาชีพครูมีความท้าทาย และตนสามารถทำงานนี้ได้ การส่งเสริมและสนับสนุนที่เหมาะสมคือการเปิดโอกาสให้ครูได้แสดงศักยภาพในการพัฒนาในงานที่ครูสนใจ ควรให้กำลังใจหรือมีผลตอบกลับเพื่อการพัฒนา (3) ครูที่อยู่ในช่วงกระตือรือร้นและก้าวหน้า ต้องการพัฒนาตนเองให้ไปสู่จุดสูงสุดของวิชาชีพ มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาวิชาชีพของตน มีความพึงพอใจมากในความเป็นครู และปวารณาตนเองเพื่อการสอน ควรส่งเสริมด้วยการผลักดันให้เป็นต้นแบบ และผู้นำครูคนอื่นๆให้ไปสู่การพัฒนา ควรสนับสนุนเรื่องเวลาให้มีความยืดหยุ่น เพื่อการเผยแพร่ความรู้ (4) ครูที่อยู่ในช่วงคับข้องใจในวิชาชีพ มีความสับสน เครียด ไม่มีความสุข และอยากออกจากวิชาชีพครู ควรให้ความช่วยเหลือครูในช่วงนี้อย่างเร่งด่วนด้วยการให้คำแนะนำ เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และจัดสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง (5) ครูที่อยู่ในช่วงภาวะคงที่ในวิชาชีพ ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง มักจะทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ควรส่งเสริมให้ครูมีบทบาทในกิจกรรมใหม่ๆ เห็นความสำคัญของตนเองในร่วมการพัฒนาโรงเรียน (6) ครูที่อยู่ในช่วงขาลงในวิชาชีพ เตรียมตัวที่จะออกจากวิชาชีพครู ให้ความสำคัญกับผลงานของตนเองที่ผ่านมา ควรเปิดโอกาสให้ถ่ายทอดแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จของตนเองแก่เพื่อนครู เพื่อสืบสานการพัฒนาวิชาชีพครูสานต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ กับเพื่อนครูen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to analyze levels of Locus of Control, Self-Efficacy and Self-Esteem 2) to compare the difference of the levels among teachers in different stages of Teachers’ Career Cycle and 3) to study teachers in each stage. The mixed method approach was employed. Starting with a survey of 474 teachers under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok. A questionnaire, descriptive statistics and one-way analysis of variance were used as the instrument and analysis. Then, the multi-case study of 6 teachers were done with observation, in-depth interviewing and documentary analysis techniques. Research results: 1. Teachers’ levels of Locus of Control, Self-Esteem and Self-Efficacy were moderate. 2. There were no statistical significant difference at the .05 level on teachers’ level of Locus of Control, Self-Esteem, and Self-Efficacy among teachers in different stages. 3. Teachers at each stage were as follow. (1) Teachers in the induction stage are those were adapting themselves to the new environment. Classroom management and adjusting oneself into new culture and colleague were their problem. Appropriate supports were providing a mentor to share experience, guidance and training program. (2) Teachers in the competency building stage were developing themselves to be accepted. Appropriate supports were to promote courage and challenge to work on their field if interest. (3) Teachers in the enthusiastic and growing stage were trying to further developing themselves to the top of career path. They had high level of experience and expertise. They were proud of their occupation and dedicated in teaching. Appropriate supports were to encourage their role model leading sharing knowledge and experience and provided flexible time of working. (4) Teachers in the career frustration stage were frustrated, unhappy and want to quit the career. Appropriate supports were provided opportunities to share opinions and promote encouraging environment. (5) Teachers in the career stability stage lack enthusiasm and interest in developing. They work on their minimum assignment. Appropriate supports were give opportunities to participate in new activities and support them to be aware of their importance in school. (6) Teachers in the career wind-down stage were prepared to leave the career. Appropriate supports were acknowledging their works and support them to pass on their successful experiences and skills to succeeding teachers for professional development.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.797-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครูen_US
dc.subjectแนวคิดอำนาจควบคุมตนen_US
dc.subjectความสามารถในตนเองen_US
dc.subjectความนับถือตนเองen_US
dc.subjectวิจัยแบบผสมผสานen_US
dc.subjectTeachersen_US
dc.subjectLocus of controlen_US
dc.subjectSelf-efficacyen_US
dc.subjectSelf-esteemen_US
dc.subjectMixed methods researchen_US
dc.titleการวิเคราะห์ความเชื่ออำนาจในตน การรับรู้ความสามารถของตน และการเห็นคุณค่าในตนเองของครูตามโมเดลวงจรวิชาชีพครู : การวิจัยผสานวิธีen_US
dc.title.alternativeAn analysis of internal locus of control, self-esteem and self-efficacy based on teachers’ career cycle model : mixed method researchen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripaarn.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.797-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
walaikorn_ka.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.