Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37383
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.authorจันทร์จุรี ลีทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialนนทบุรี-
dc.date.accessioned2013-12-09T02:12:25Z-
dc.date.available2013-12-09T02:12:25Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37383-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractในปัจจุบัน ปี 2555 ประชากรผู้พิการและมีอัตราจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีจำนวนผู้พิการทั้งสิ้น 1, 268,496 คน คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.97 ของประชากรทั้งประเทศ จากในปี 2552 มีประชากรผู้พิการทั้งสิ้น 864,437 คน คิดเป็นร้อยละของประชากรทั้งประเทศ 1.29 ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.68 และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญกับความอยู่รอดของมนุษย์ คนพิการซึ่งมีลักษณะการใช้งานของพื้นที่ที่พิเศษกว่าคนปกติ การปรับปรุงบ้านเพื่อให้คนพิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างย่อมเป็นสิ่งที่ดีสร้างความภาคภูมิใจและเป็นการลดภาระของผู้ดูแล การศึกษาในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างของคนพิการทั้ง 6 ด้าน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาการใช้สอยพื้นที่ภายในและบริเวณรอบๆที่อยู่อาศัยของคนพิการในแต่ละประเภทความพิการ กิจวัตรประจำวันของคนพิการที่มีความเกี่ยวข้องในด้านการใช้พื้นที่ และติดตามผลการปรับปรุงบ้านคนพิการที่ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยหลังภาวะประสบภัยน้ำท่วมในปี 2554 เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อคนพิการด้านนั้นๆ จากการศึกษาด้านการใช้พื้นที่และกิจวัตรประจำวันของคนพิการพบว่า การแบ่งความพิการออกเป็น 6 ด้าน ความพิการด้านการเคลื่อนไหวและความพิการด้านการมองเห็นจะมีลักษณะความต้องการด้านการใช้พื้นที่ที่คล้ายกัน คือ การลดพื้นที่ต่างระดับ จุดที่ต่างกันคือคนพิการด้านการเคลื่อนไหวต้องการพื้นที่กว้างรถเข็นสามารถเข้าถึงพื้นที่แต่ละจุดได้สะดวก ส่วนคนพิการด้านการมองเห็นต้องการพื้นที่แคบ ให้ความรู้สึกปลอดภัย เดินทางไปยังจุดต่างๆได้รวดเร็วไม่มีสิ่งกีดขวาง ส่วนคนพิการด้านการสื่อสารจะค่อนข้างไม่มีปัญหาต่อการใช้พื้นที่ทั้งภายในและบริเวณรอบที่อยู่อาศัย สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ ยกเว้นคนพิการที่ซ้ำซ้อนและมีปัญหาด้านการสื่อสารร่วมอยู่ด้วย และคนพิการ3 ด้านที่เหลือคือ ด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และด้านจิตใจ จะมีปัญหาทางด้านการไม่เข้าใจในการใช้พื้นที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อาศัยผู้ดูแล ไม่เข้าสังคม เก็บตัวภายในบ้าน อยู่ในโลกส่วนตัว และบริบทของพื้นที่ภายนอกมีความสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัย เช่น ลักษณะที่อยู่อาศัยที่ติดถนน ติด แม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และจากการติดตามผลการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการเป็นไปในลักษณะการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ได้คำนึงถึงประเภทความพิการ การร่วมมือของท้องถิ่นมีความสำคัญที่ทำให้การปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อคนพิการมีประสิทธิภาพมาก เช่นเรื่องค่าแรง หรือวัสดุที่นำมาใช้ เนื่องจากอยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าแรงและวัสดุค่อนข้างสูง ทำให้ปริมาณงานที่ได้ลดลงเมื่อเทียบกับในต่างจังหวัดที่มีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกันในงบประมาณที่เท่ากัน ข้อเสนอแนะแนวในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและพัฒนาต้นแบบที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพความพิการ การปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับความพิการด้านการเคลื่อนไหวและด้านการมองเห็นจะเป็นเรื่องของการปรับพื้นที่หลีกเลี่ยงเรื่องพื้นที่ต่างระดับ ขนาดพื้นที่ที่รถเข็นสามารถเข้าถึงได้สะดวกในทุกๆจุด เช่นห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว มีการติดตั้งราวจับนอกจากจะใช้พยุงตัวแล้วยังช่วยในการนำทางของคนพิการด้านการมองเห็น คนพิการด้านการสื่อสาร ค่อนข้างไม่มีปัญหาในด้านการใช้สอยพื้นที่ข้อเสนอแนะเป็นเรื่องของการเปิดพื้นที่ มีช่องเปิดมองเห็นวิวภายนอก มองเห็นกิจกรรมของคนผ่านไปผ่านมาเนื่องจากคนพิการด้านนี้จะใช้สายตาในการสัมผัส รับรู้เรื่องราวต่างๆ ส่วนคนพิการทางด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และด้านจิตใจ ข้อเสนอแนะจะเป็นเรื่องของการจัดสภาพบรรยากาศกระตุ้นความจำและกระตุ้นการเรียนรู้ ใกล้ชิดธรรมชาติ มีพื้นที่สร้างกิจกรรมที่อยู่ภายในบริเวณที่อยู่อาศัย จัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับคนพิการen_US
dc.description.abstractalternativeThe number of persons in Thailand with disabilities is on the increase. In B.E. 2555, there were a total of 1,268,496 disabled persons accounting for about 1.97% of the country's population. This was a 0.68% increase from 864,437 in B.E. 2552, and the number is likely to increase further in the future. Housing and environment are important issues for everyone, and they are even more critical for people with disabilities as they often require additional space to move around. Home improvements allow people with disabilities to take care of themselves, which are a source of pride for them and reduces administrative burdens. In this study, we examined samples with six types of disabilities, with the aim to study the problem of space in and around the homes for those with each type of disability. The flooding in 2554, which presented particular problems for the disabled, led to suggestions to improve disabled housing. The study involved determining people’s daily routines. Of the six areas of disability, disabilities of movement and disabilities of vision are similar in that they involve the amount of living space. People with disabilities that require use of a wheelchair need more room to move around to access different areas. Those with visual disabilities prefer unobstructed, narrower spaces that allow them to reach various points quickly. Disabilities involving communication were not related to use of space, either inside or around residential areas. Mental disabilities such as learning and psychological problems are not directly relevant in terms of space usage other than in the context of the priority areas that affect safety, for example houses near roads or rivers, which could act as barriers in everyday life. Following up on improvements made to housing for people with disabilities after the flood, it was determined that type of disability was not taken into account. The cooperation of the local community is important when making such improvements in order to keep labor and materials costs low. This was not the case in Nonthaburi which is adjacent to Bangkok and has relatively high labor and materials costs. This paper offers guidance for improving existing housing and for creating a prototype of housing suitable for the disabled. For those with limited mobility and visibility, areas with steps should be avoided. Sufficient space should be provided to make bathrooms, bedrooms and kitchens wheelchair accessible. Hand rails should also be installed for people to be able to support themselves and help with navigation for the visually handicapped. Space is not a problem for those with communication disabilities however they should be given an open view of the outside to see the people easily. The learning impaired and those with mental disabilities should have surroundings that stimulate and motivate learning such as being close to nature. Space should be provided both within and outside the housing to provide an environment that is friendly to people with all types of disabilities.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1075-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคนพิการ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- นนทบุรีen_US
dc.subjectคนพิการ -- เคหะ -- ไทย -- นนทบุรีen_US
dc.subjectPeople with disabilities -- Dwellings -- Thailand -- Nonthaburien_US
dc.subjectPeople with disabilities -- Housing -- Thailand -- Nonthaburien_US
dc.titleแนวทางการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยและพัฒนาต้นแบบที่อยู่อาศัยเพื่อคนพิการ จังหวัดนนทบุรีen_US
dc.title.alternativeThe improvement and prototype of housing for disasbilities of Nonthaburi provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTrirat.j@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1075-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
janjuree_le.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.