Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37410
Title: การกำจัดแบคทีเรียในอากาศด้วยแผ่นฟอกอากาศโฟโตคะตะไลติก
Other Titles: Removal of airborne bacteria using photocatalytic air purifier sheet
Authors: พรรณิกา วนะรมย์
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wongpun.L@chula.ac.th
Wiboonluk.P@Chula.ac.th
Subjects: คุณภาพอากาศภายในอาคาร
มลพิษทางอากาศ
การเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง
Indoor air quality
Air -- Pollution
Photocatalysis
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟอกอากาศโฟโตคะตะไลติกในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียในอากาศ โดยทดลองในห้องทดลองจำลองขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร (1,000 ลิตร) ในสภาวะที่ควบคุมอุณหภูมิคงที่ 25 ± 2 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 60 ± 5 ด้วยเชื้อแบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ คือ Bacillus subtilis และ Staphylococcus epidermidis ในการทดลองใช้แผ่นฟอกอากาศโฟโตคะตะไลติกขนาด 0.23 ตารางเมตร ช่วงเวลาทำปฏิกิริยา 120 นาที และใช้แหล่งกำเนิดแสง 2 ประเภทที่มีความเข้มแสงแตกต่างกัน ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ความเข้มแสง 1.0 3.0 และ 3.7 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร และหลอดแบล็คไลท์ความเข้มแสง 70 220 และ 270 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ผลการทดลองพบว่า แหล่งกำเนิดแสงหลอดแบล็คไลท์ความเข้มแสง 270 ไมโครวัตต์สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียทั้ง Bacillus subtilis และ Staphylococcus epidermidis ในอากาศได้ดีที่สุด และมีค่าคงที่อัตราการกำจัดสูงสุดเช่นกัน โดยประสิทธิภาพในการกำจัดเท่ากับร้อยละ 45.93 และ 81.92 ตามลำดับ และค่าคงที่อัตราการกำจัดเท่ากับ 0.0053 นาที⁻¹ และ 0.0258 นาที⁻¹ ตามลำดับ โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียทั้งสอง ในแต่ละความเข้มแสงยูวีของแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองชนิด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p=0.000) และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผ่นฟอกอากาศโฟโตคะตะไลติก ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด พบว่าสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis ได้ดีกว่าเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p=0.000-0.004)
Other Abstract: To study the efficiency of photocatalytic air purifier sheet to remove bacteria in the indoor air. The experiment used 1 m³ chamber (1,000 Liter), temperature was controlled at 25 ± 2°C and relative humidity was at 60 ± 5%. The experiment employed two strains of bacterial, which were Bacillus subtilis and Staphylococcus epidermidis. The area of air purifier sheet was 0.23 m². The reaction time was 120 minutes. The experiment used UV light from two light sources, which were Fluorescent lamp at intensity of 1.0, 3.0, and 3.7 µW/cm² and Blacklight lamp at intensity of 70, 220, and 270 µW/cm². The results showed that Blacklight lamp at 270 µW/cm² of UV intensity had the best removal of both bacteria as well as the maximum removal rate constant. The removal efficiency for Bacillus subtilis and Staphylococcus epidermidis was 45.93 and 81.92%, respectively, while the removal rate constant was 0.0053 min⁻¹ and 0.0258 min⁻¹, respectively. The statistical analysis of removal efficiency of different UV light intensity from two light sources showed significant difference at 95% confidence limit (p=0.000). The removal efficiency of Staphylococcus epidermidis was higher than Bacillus subtilis having significant difference at 95% confidence limit (p=0.000-0.004).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37410
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1093
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1093
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punnika_wa.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.