Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3743
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา สุดบรรทัด-
dc.contributor.authorพัชราวลัย แสนยานุสิน, 2516--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-07-20T08:47:19Z-
dc.date.available2007-07-20T08:47:19Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743465057-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3743-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเปรียบเทียบทิศทางของเนื้อหาและภาพลักษณ์ของประเทศไทยในนิตยสารข่าวต่างประเทศระหว่างช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจและช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงศึกษาลักษณะการนำเสนอเนื้อหา การใช้แหล่งข่าวตลอดจนแนวทางในการเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยที่ปรากฏในนิตยสารเอเชียวีคและฟาร์อิสเทิร์นอีคอนอมิครีวิวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2538 ถึงเดือนมิถุนายน 2542 และสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากนิตยสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า 1. เนื้อหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ได้รับการนำเสนอมากที่สุดในช่วง 4 ปีที่ทำการวิจัย และเนื้อหาส่วนใหญ่ปรากฏในรูปข่าวและบทความมากที่สุดทั้งในแง่ความถี่และปริมาณเนื้อที่ 2. แหล่งข่าวประเภทนักวิเคราะห์ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญได้รับการอ้างอิงมากที่สุดในการเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยโดยพบร้อยละ 28 รองลงมาได้แก่แหล่งข่าวประเภทนักธุรกิจ นักการธนาคารและสถาบันการเงินซึ่งพบร้อยละ 22.2และแหล่งข่าวจากรัฐบาลและนักการเมืองในคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 10.2 3. ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจเนื้อหาโดยรวมเป็นไปในทิศทางลบมากที่สุดโดยเฉพาะเนื้อหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และปัญหาทางสังคม เนื้อหาที่เป็นกลางมากที่สุดได้แก่เนื้อหาด้านกิจกรรมทางทหาร การท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ ขณะที่เนื้อหาด้านสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเนื้อหาประเภทเดียวที่มีทิศทางเป็นบวกมากที่สุด สำหรับในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเนื้อหาโดยรวมมีทิศทางเป็นกลางมากที่สุดเนื่องจากเนื้อหาด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนมาเป็นกลางในช่วงดังกล่าว ส่วนเนื้อหานอกจากที่กล่าวมายังคงมีทิศทางเดิม 4. ผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่และช่างภาพเคยอาศัยหรือกำลังอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 6 ปี จึงมีความเข้าใจประเทศไทยค่อนข้างมาก และส่วนใหญ่เน้นการเสนอความจริงอย่างเป็นกลางและถูกถ้วนen
dc.description.abstractalternativeThe main objectives of the research were to study the image of Thailand portrayed by two international newsmagazines-Asiaweek and the Far Eastern Economic Review-and to compare the direction of the stories appearing before the economic crisis with those written while the crisis was in progress. The study focused on the way the stories were presented, the selection of news sources, and the guidelines used by the two magazines' correspondents in covering stories about Thailand. Content analysis was used on the stories covered from July 1995 to June 1999, and five correspondents, including one photographer, were interviewed. The results revealed the following: 1. Stories on the economy, politics and social problems received the highest coverage, and the most popular way these stories were presented, in terms of both frequency and column inches, was in the form of news and articles. 2. Most of the people quoted in the stories were analysts, academics and experts, followed by businessmen, bankers, and financialexecutives, with government sources and cabinet members coming third. The ratio was 28, 22.2, and 10.2 percent respectively. 3. Most of the articles on Thailand appearing before the economic crisis were negative in tone, especilly those on the economy, politics, international affairs and social problems, while coverage of military affairs, tourism and culture and other topics was generally neutral direction. The only stories that presented Thailand in a positive light were those covering the royal family. During the economic crisis, however, the tone of the stories on the economy, politics, and international affairs became neutral, and articles on social problems retained their negative flavor. 4. Most of the correspondents and the photographer had lived in Thailand for longer than 6 years, so they were assumed to have a good understanding of Thailand. Most of them stated that objectivity and accuracy were the two main factors determining the standpoint of their articlesen
dc.format.extent7275124 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.325-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเอเชียวีคen
dc.subjectฟาร์อิสเทิร์นอีคอนอมิครีวิวen
dc.titleประเทศไทยในมุมมองของเอเซียวีคและฟาร์อิสเทิร์นอีคอนอมิครีวิวในช่วงก่อนและระหว่างวิกฤตทางเศรษฐกิจ (2538-2542)en
dc.title.alternativeThailand from the perspectives of Asiaweek and Far Eastern Economic Review before and during economic crisis(1995-1999)en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSukanya.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.325-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharawalai.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.